เกียรติ สิทธีอมร

เกียรติ สิทธีอมร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย

เกียรติ สิทธีอมร
ประธานผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
ศาสนาคริสต์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2548–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจริญญา สิทธีอมร

ประวัติ

เกิดวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2502[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านการต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ และ ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านการบริหาร จาก Harvard Business School ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

ประวัติการทำงาน

  • ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
  • ประธานคณะกรรมการบริหาร หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  • กรรมการรองเลขาธิการหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  • กรรมการบริหารหอการค้านานาชาติ โดยได้รับการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกกว่า 140 ประเทศ
  • ผู้แทนประเทศไทยในกลุ่มวิสัยทัศน์ เอเชียตะวันออก, กรรมการแข่งขันทางการค้า
  • กรรมการ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ประวัติทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562[2])
  • ประธานผู้แทนการค้าไทย (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี)
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย)
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ รัฐสภา
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ วุฒิสภา
  • รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า(บีทีเอส)
  • ประธานคณะอนุกรรมการฯ ด้านคณะกรรมาธิการการเมืองและเศรษฐกิจ ในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 40


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายเกียรติได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 9 [3]

รัฐบาลเงา

หลังเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศจัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายเกียรติ สิทธีอมร ได้รับเลือกจาก ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา[4]

ผู้แทนการค้าไทย

ภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งผู้แทนการค้าไทยขึ้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นายเกียรติ สิทธีอมร จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนการค้าไทย ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย