ประวัติรุ่นของแอนดรอยด์

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ประวัติรุ่นของแอนดรอยด์ เริ่มตั้งแต่การเผยแพร่รุ่นทดลองในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และได้มีการเปิดตัวแอนดรอยด์ 1.0 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ภายใต้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกูเกิล และ โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการอัปเดต ของระบบปฏิบัติการในช่วงแรก

การใช้แอนดรอยด์ของแต่ละรุ่นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 แอนดรอยด์ 4.1 และ 4.2 และ 4.3 เจลลีบีน เป็นรุ่นที่นิยมใช้พฤศจิกายนสุด 52% ทั่วโลก

นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 รุ่นของแอนดรอยด์พัฒนาภายใต้โคดเนม (ชื่อเฉพาะในการพัฒนา) และเผยแพร่โดยเรียงตามตัวอักษร : คัพเค้ก (1.5), โดนัท (1.6), เอแคลร์ (2.0–2.1), โฟรโย (2.2–2.2.3), จิงเจอร์เบรด (2.3–2.3.7), ฮันนีโคมป์ (3.0–3.2.6), ไอศกรีมแซนด์วิช (4.0–4.0.4), เจลลีบีน (4.1–4.3) และคิทแคท (4.4) ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 กูเกิลได้ยืนยันว่ามีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้รับการเปิดใช้งาน 1 พันล้านเครื่องทั่วโลก[1] รุ่นล่าสุดที่ได้รับการอัปเดตคือ 4.3 เจลลีบีน ซึ่งได้ปล่อยการอัปเดตในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผ่านระบบโอเวอร์ดิแอร์ (OTA) [2][3]

ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 กูเกิลก็ได้ยืนยันรุ่นต่อจากเจลลีบีน โดยจะมีชื่อว่าแอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท แต่ยังไม่ประกาศวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ[4][5]

รุ่นก่อนเผยแพร่ (พ.ศ. 2550–2551)

แอนดรอยด์ แอลฟา

มีรุ่นอย่างน้อย 2 รุ่น ที่ได้รับการทดสอบโดยกูเกิล และ โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ก่อนที่จะมีการเปิดตัวของแอนดรอยด์ เบตา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีการตั้งชื่อชั่วคราว โดยเลือกหุ่นยนต์มาตั้งชื่อ ได้แก่ "แอสโตรบอย", "เบนเดอร์" และ "อาร์ทูดีทู"[6][7] ส่วนสัญลักษณ์ของระบบ ออกแบบโดยแดน มอร์ริลล์ ในบางส่วน ซึ่งสัญลักษณ์หุ่นยนต์สีเขียวตัวล่าสุด ออกแบบโดยอีรินา บล็อก[8] ไรอัน กิบสัน ผู้จัดการของโครงการ ได้เสนอแนวคิดว่าจะเริ่มใช้ชื่อตั้งแต่แอนดรอยด์ รุ่น 1.5

แอนดรอยด์ เบตา

แอนดรอยด์ เบตา เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[9][10] ส่วนชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development kit) หรือ SDK เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[11] โดยวันที่ 5 พฤศจิกายน ถูกเรียกว่า วันเกิดของแอนดรอยด์[12] รุ่นของเบตาได้รับการเผยแพร่ดังต่อไปนี้ :

  • 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 : m3-rc22a[13]
  • 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 : m3-rc37a[14]
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 : m5-rc14[15]
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 : m5-rc15[16]
  • 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 : 0.9[17]
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2551 : 1.0-r1[18]

รุ่นตามลำดับเอพีไอ

ตารางด้านล่างนี้เป็นการแบ่งรุ่นของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามลำดับเอพีไอ

แอนดรอยด์ 4.3 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 18)
กูเกิลได้ทำการเปิดตัวแอนดรอยด์ 4.3 เจลลีบีน อย่างเป็นทางการ ภายใต้สโลแกน "เจลลีบีนที่หวานกว่า" (An even sweeter Jelly Bean) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ระหว่างงานในซานฟรานซิสโก ที่มีชื่อว่า"มื้อเช้ากับซันดาร์ พิชัย (Breakfast with Sundar Pichai) ซึ่งอุปกรณ์เน็กซัสส่วนหใญ่จะได้รับการอัปเดตภายใน 1 สัปดาห์ แม้ว่าเน็กซัส 7 รุ่นที่ 2 จะเป็นอุปกรณ์แรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการนี้และวางขายพร้อมกับแอนดรอยด์ 4.3[3] การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยได้ปล่อยอัปเดตเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556[111]
รุ่นวันเปิดตัวคุณสมบัติรูป
4.324 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[112]
  • รองรับบลูทูธแบบประหยัดพลังงาน[113]
  • รองรับ AVRCP 1.3
  • รองรับโอเพนจีแอลอีเอส 3.0 สำหรับการปรับปรุงกราฟิกของเกม[113]
  • คุณสมบัติการจำกัดการเข้าถึงสำหรับผู้ใช้ใหม่[113]
  • ระบบการเขียนไฟล์โดยการทำงานของ TRIM เมื่ออุปกรณ์ไม่ได้ใช้งาน[114]
  • ปุ่มกดหมายเลขแบบใหม่ในแอปโทรศัพท์[113]
  • ปรับปรุงโฟโตสเฟียร์[115]
  • เปลี่ยนหน้าตาของแอปกล้องใหม่[116]
  • เพิ่มเนื้อหาการควบคุมสิทธิการใช้งานของแอปพลิเคชัน[117]
  • รองรับอัตราส่วน 4K[118]
  • การปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก, การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ [119]
  • รองรับจีโอเฟนช์ (geo-fence) และ การค้นหาด้วยวายฟาย
    • สถานที่ของวายฟายเบื้องหลังจะยังทำงานเมื่อวายฟายถูกปิดไปแล้ว
  • การเข้าสู่ระบบของนักพัฒนา และ การวิเคราะห์การปรับปรุง
  • รองรับอีก 5 ภาษา
  • ปรับปรุง การจัดการสิทธิดิจิทัล
  • รองรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้าย[113]
  • นาฬิกาที่แถบสถานะจะไมแสดงเมื่อมีนาฬิกาแล้วในหน้าจอล็อก
4.3.13 ตุลาคม พ.ศ. 2556[120]
  • การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และการปรับแต่งเล็กน้อยสำหรับเน็กซัส 7 รุ่นที่รองรับแอลทีอี[121]
แอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท (เอพีไอระดับ 19)
กูเกิลได้เปิดตัวแอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท ที่รู้จักกันในโปรเจกต์เรียบง่าย (Project Svelte) [122] ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556[4] มีการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างมากมายว่ารุ่นต่อไปคือ 5.0 และมีชื่อว่า "คีย์ไลม์พาย"[123] คิทแคทได้เปิดตัวพร้อม ๆ กับเน็กซัส 5 และสามารถทำงานได้บนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีแรมอย่างน้อย 512 เมกาไบต์[122]
รุ่นวันเปิดตัวคุณสมบัติรูป
4.431 ตุลาคม พ.ศ. 2556[124][125]
  • ปรับปรุงอินเตอร์เฟซใหม่พร้อมกับแถบสถานะที่มีไอคอนและตัวอักษรสีขาว, ความสามารถสำหรับแอปพลิเคชันที่จะใช้งานและสถานะในแบบโปร่งใส[126]
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติฮาร์ดแวร์ต่ำ, แรมน้อย[122]
  • ความสามารถในการสั่งพิมพ์แบบไร้สาย[122]
  • การใช้เนียร์ฟีลด์คอมมูนิเคชัน เป็นเสมือนบัตรสมาร์ตการ์ด[122]
  • พื้นฐานเว็บวิวส์บนโครเมียม (คุณสมบัติเทียบเท่ากูเกิล โครม 30)
  • คุณสมบัติในการขยายการแจ้งเตือน[122]
  • เอพีไอสำหรับการพัฒนาและการจัดการบริการส่งข้อความสั้น, ความสามารถในการเลือกแอปพลิเคชันข้อความ[127]
  • เฟรมเวิร์กใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงอินเตอร์เฟซ
  • การเข้าถึงการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกเนื้อหาจากแหล่งอื่น ๆ
  • เอพีไอใหม่สำหรับเซนเซอร์[122]
  • โหมดเต็มหน้าจอใหม่, ซอฟต์แวร์ปุ่มและแถบสถานะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปัดจากขอ[128]
  • ซอฟต์แวร์เพิ่มเสียงลำโพง
  • การบันทึกหน้าจอเป็นวิดีโอ
  • ไอพีไออินฟราเรดลาสเตอร์
  • เพิ่มความสามารถในการตั้งค่าอื่น ๆ
  • รันไทม์ใหม่, เออาร์ที[129]
  • รองรับการจัดการการเข้าถึงรูปแบบข้อความบลูทูธ[130]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย