The Golden Song เวทีเพลงเพราะ

รายการประกวดร้องเพลงในยุคเก่าของไทย

The Golden Song เวทีเพลงเพราะ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์ประกวดร้องเพลงที่มุ่งเน้นการถ่ายทอด ส่งเสริม และอนุรักษ์เพลงไทยในยุคดั้งเดิมเป็นหลัก ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่องวัน 31 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 6 ฤดูกาล

The Golden Song เวทีเพลงเพราะ
ประเภทการประกวดร้องเพลง
เสนอโดย
กรรมการ
ดนตรีโดยจักรวาร เสาธงยุติธรรม
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล6
จำนวนตอน124+29 (ณ 27 สิงหาคม 2566)
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิต
สถานที่ถ่ายทำแอ็กซ์ สตูดิโอ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน90-120 นาที
บริษัทผู้ผลิตเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน 31
ออกอากาศ1 กันยายน 2562 (2562-09-01) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
The Golden Singer เวทีเสียงเพราะ

รูปแบบรายการ

The Golden Song เวทีเพลงเพราะ เป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ใช้เพลงไทยที่มีชื่อเสียงในยุคดั้งเดิม เช่น เพลงไทยเดิม เพลงสุนทราภรณ์ เพลงลูกกรุง และเพลงไทยสากลที่บันทึกเสียงและได้รับความนิยมในยุค 70 และยุค 80 ซึ่งในรายการจะเรียกบทเพลงกลุ่มนี้ว่า "บทเพลงทองคำ (Golden Song)" มาเป็นโจทย์หลักในการประกวด เพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์เป็นหลัก ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับคำแนะนำในการร้องเพลงเหล่านี้จาก ครูเจี๊ยบ - นนทิยา จิวบางป่า นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จากการประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือในชื่อ นิสสัน อวอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2531 และทุกบทเพลงจะถูกเรียบเรียงดนตรีใหม่โดย หนึ่ง - จักรวาร เสาธงยุติธรรม โปรดิวเซอร์ดนตรีที่มีชื่อเสียง ให้มีความทันสมัย และเข้ากับรูปแบบการถ่ายทอดบทเพลงของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน[1] โดยการแข่งขันในแต่ละฤดูกาลแบ่งออกเป็น 4 รอบ ดังนี้

รอบทดสอบความสามารถ

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องร้องเพลงที่เลือกมา ภายในเวลา 90 วินาที หากกรรมการต้องการฟังผู้เข้าแข่งขันร้องเพลงต่อจนจบเพลง สามารถกดปุ่มที่ตั้งไว้ด้านหน้าคณะกรรมการได้จนกว่าจะครบกำหนดเวลา โดยเกณฑ์การเข้ารอบมีดังนี้

  • ฤดูกาลที่ 1
    • หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 3 คนขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะได้ขับร้องจนจบเพลง และผ่านเข้ารอบคัดกรองทันที
    • หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 2 คน เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง แต่กรรมการอีก 2 คนที่ยังไม่กดปุ่มให้จะพิจารณาผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง
    • หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการเพียง 1 คน หรือไม่ได้รับการกดปุ่มเลย เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง และผู้เข้าแข่งขันจะตกรอบทันที
  • ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 2 เป็นต้นมา
    • หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการ 3 คนขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะได้ขับร้องจนจบเพลง และกรรมการจะพิจารณาผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง หากได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป ผู้เข้าแข่งขันจะผ่านเข้ารอบคัดกรอง
    • หากผู้เข้าแข่งขันได้รับการกดปุ่มจากคณะกรรมการเพียง 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้รับการกดปุ่มเลย เมื่อครบ 90 วินาที จะหยุดบรรเลงเพลง และผู้เข้าแข่งขันจะตกรอบทันที

หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันในรอบนี้ คณะกรรมการจะคัดกรองผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง เพื่อให้เหลือผู้เข้าแข่งขันในรอบที่ 2 จำนวน 24 คน (ฤดูกาลที่ 1) หรือ 42 คน (ฤดูกาลที่ 2) หรือ 36 คน (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมา)

ปุ่ม Golden Voice

ปุ่มนี้เป็นปุ่มที่เพิ่มเข้ามาในฤดูกาลที่ 3 ตั้งไว้ด้านหน้าของคณะกรรมการ โดยผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับการกดปุ่มนี้จากคณะกรรมการ จะได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบที่ 2 ทันที โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการซ้ำ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานปุ่มนี้ ดังนี้

  • ฤดูกาลที่ 3 กรรมการมีสิทธิ์กดปุ่มคนละ 1 ครั้ง ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้ จำนวน 4 คน
  • ฤดูกาลที่ 4 และ 5 นอกจากกรรมการแล้ว พิธีกรยังมีสิทธิ์อีก 1 ครั้งในการกดปุ่มนี้ ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้จำนวน 5 คน
  • ฤดูกาลที่ 6 กรรมการทุกคนมีสิทธิ์กดปุ่มร่วมกันเพียง 1 ครั้ง ทำให้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับปุ่มนี้เพียง 1 คน

รอบแบ่งสาย

ในรอบแบ่งสายนี้ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งสายเพื่อแข่งขันขับร้องบทเพลงภายในสายของตน และคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้ผ่านเข้ารอบต่อไปตามจำนวนที่กำหนด โดยมีการแข่งขันจำนวน 3 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 1, 2, 4, 6 และรอบที่ 3 ของฤดูกาลที่ 3 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละสายจะได้รับโจทย์เพลงเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกบทเพลงมาขับร้อง หลังจากร้องเพลงเสร็จสิ้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 2 คนจะผ่านเข้ารอบ โดยจะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย
  • รูปแบบที่ 2: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 3 โดยผู้เข้าแข่งขันจะเลือกบทเพลงมาขับร้องแข่งขันกันภายในสายของตน และเมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว กรรมการจะเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้ารอบต่อไปคนละ 1 คน
  • รูปแบบที่ 3: ใช้ในรอบที่ 2 ของฤดูกาลที่ 5 เป็นรูปแบบผสมระหว่างรูปแบบที่ 1 และ 2 ผู้เข้าแข่งขันจะเลือกบทเพลงมาขับร้องแข่งขันกันภายในสายของตน หลังจากร้องเพลงเสร็จสิ้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 2 คนจะผ่านเข้ารอบ โดยจะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย

หลังจบการแข่งขันรอบแบ่งสาย จะมีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศจำนวน 12 คน

รอบรองชนะเลิศ

ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน (ในฤดูกาลที่ 3 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน) และขับร้องบทเพลงร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียง ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจำนวน 3 คน (หรือ 2 คนในฤดูกาลที่ 3) ในแต่ละสาย จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยจะประกาศผลผู้เข้ารอบและเปิดเผยคะแนนรวมในช่วงท้าย โดยไม่มีการเปิดคะแนนรายบุคคล

รอบชิงชนะเลิศ

ในรอบนี้จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ ดังนี้

  • รอบเก็บคะแนน: ผู้เข้าแข่งขันจะขับร้องบทเพลงแข่งขันกันคนละ 1 เพลง เมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว จะประกาศผลและเปิดเผยคะแนนรวมเฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำสุดและสูงสุดในรอบเก็บคะแนน ซึ่งจะนำไปรวมกับคะแนนในรอบตัดสินต่อไป
  • รอบตัดสิน: ผู้เข้าแข่งขันจะขับร้องบทเพลงแข่งขันกันอีก 1 เพลง เมื่อแข่งขันครบทุกคนแล้ว จะเปิดเผยคะแนนรวมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน และประกาศผลผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก รองชนะเลิศอันดับ 2 และผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล ตามลำดับ

โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 500,000 บาท และถ้วยรางวัลสีทอง (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[2]) ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยรางวัลสีเงินและสีทองแดงตามลำดับ

ผู้ดำเนินรายการ

พิธีกร

ในรายการนี้มีพิธีกรจำนวน 2 คน โดยมี เกลือ - กิตติ เชี่ยววงศ์กุล เป็นพิธีกรหลักในทุกฤดูกาล ส่วนพิธีกรคู่ของเกลือมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยในฤดูกาลที่ 1 คือ ป้อง - ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นรายการแรกที่ป้องทำหน้าที่พิธีกร[3] อย่างไรก็ตาม ป้องได้ถอนตัวหลังจบฤดูกาลนั้นเนื่องจากมีภารกิจในการถ่ายทำละคร จึงมีการเปลี่ยนตัวพิธีกรคู่ในฤดูกาลที่ 2 เป็น แท่ง - ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง จนกระทั่งในฤดูกาลที่ 3 จึงมีการเปลี่ยนตัวพิธีกรคู่อีกครั้งเป็น คริส - พีรวัส แสงโพธิรัตน์ และทำหน้าที่มาจนถึงปัจจุบัน[4]

นอกจากนี้ ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ยังมี ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ รองชนะเลิศอันดับ 1 จากฤดูกาลที่ 4 ทำหน้าที่พิธีกรในภาคสนาม เพื่อสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบทดสอบความสามารถอีกด้วย[5]

พิธีกรฤดูกาล
123456
กิตติ เชี่ยววงศ์กุล
ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง
พีรวัส แสงโพธิรัตน์
ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ (ภาคสนาม)

กรรมการและผู้เรียบเรียงดนตรี

ในรายการนี้มีคณะกรรมการจำนวน 4 คน ได้แก่ โจ้ - สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา ศิลปินที่เป็นทายาทโดยตรงของทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องลูกกรุงที่มีชื่อเสียง, เม้า - สุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ, กบ - สุวนันท์ ปุณณกันต์ นักแสดงที่มีชื่อเสียง และ กัน - นภัทร อินทร์ใจเอื้อ ผู้ชนะเลิศจากเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 ที่มีประสบการณ์กับเพลงลูกกรุงจากการแสดงละคร ลูกกรุง และผู้เรียบเรียงดนตรีคือ หนึ่ง - จักรวาร เสาธงยุติธรรม ทำหน้าที่ในทุกฤดูกาล[1]

กรรมการฤดูกาล
123456
สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา
สุดา ชื่นบาน
สุวนันท์ ปุณณกันต์
นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
ผู้เรียบเรียงดนตรีฤดูกาล
123456
จักรวาร เสาธงยุติธรรม

ภาพรวมแต่ละฤดูกาล

ฤดูกาลปกติ

ฤดูกาลออกอากาศตอนแรกออกอากาศรอบชิงชนะเลิศจำนวนตอนผู้ชนะเลิศรองชนะเลิศอันดับ 1รองชนะเลิศอันดับ 2
11 กันยายน พ.ศ. 256222 ธันวาคม พ.ศ. 256217โชคชัย หมู่มาก (แอ๊ค)ภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย)ซาจีร่า มูฮัมหมัด (เอ็มม่า)
212 มกราคม พ.ศ. 256312 กรกฎาคม พ.ศ. 256326สรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง)กรวิชญ์ ศรีสงคราม (สิทธิ์)ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ)
38 พฤศจิกายน พ.ศ. 256311 กรกฎาคม พ.ศ. 256430+3วศิน พรพงศา (วิน)วิภู กำเหนิดดี (วิภู)ชนิตา แดงสำราญ (หมิว)
412 ธันวาคม พ.ศ. 256419 มิถุนายน พ.ศ. 256526ทิพย์รมิดา พันตาวงษ์กบิล (พลอย)ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ (ภูมิ)สุกันยา ขวดสาลี่ (โลตัส)
529 มกราคม พ.ศ. 256630 กรกฎาคม พ.ศ. 256625+1กนิษฐา ศรีลุปะบาต (เบลโลล่า)วรินธิรา สายลาด (น้ำทิพย์)บวรลักษณ์ นวมศิริ (ปิ๊ก)
618 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567รอประกาศ

ตอนพิเศษ

ชื่อตอนวันที่ออกอากาศจำนวนตอน
Best of The Golden Song/
ดีที่สุดของ The Golden Song
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  • 5 มกราคม พ.ศ. 2563
  • 18, 25 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  • 20 และ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566
7
The Golden Song Hits รวมเพลงเพราะประจำสัปดาห์8 มกราคม - 30 เมษายน พ.ศ. 256516
เบิร์ด ธงไชย & The Golden Song26 มิถุนายน และ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 25652

การตอบรับ

The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี และมีเรตติ้งจากกลุ่มผู้รับชมที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองของจังหวัดต่าง ๆ มากที่สุด เมื่อเทียบกับรายการอื่น ๆ ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน[6] เนื่องจากทำให้ผู้รับชมรายการได้หวนระลึกถึงบทเพลงที่ตนเคยฟังในยุคเก่า แต่มีดนตรีทันสมัยและไพเราะมากขึ้นจากการเรียบเรียงดนตรีโดยหนึ่ง จักรวาร[7]

นอกจากนี้ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ยังเป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์ที่ทรงโปรดของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์รายการนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นหนึ่งในภาพที่ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "ธรรมดาแบบใหม่ : New Normal" เมื่อปี พ.ศ. 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[8] จนกระทั่งพระองค์ได้พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศให้กับรายการตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นมา[2]

คอนเสิร์ต

The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ได้จัดแสดงคอนเสิร์ตเป็นของตนเอง จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ชื่อคอนเสิร์ตวันที่สถานที่อ้างอิง
The Golden Song The Golden Show Concert4 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์[9]
The Golden Song คอนเสิร์ตเพลงเพราะ16 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2567[10]

นอกจากนี้ ศิลปินจากรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ยังได้ร่วมขึ้นแสดงในคอนเสิร์ตอื่น ๆ ดังนี้

ชื่อคอนเสิร์ตวันที่สถานที่ศิลปินที่ขึ้นแสดงอ้างอิง
ลูกกรุง In Concert 222 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
  • แอ็ค โชคชัย
  • ภู ภูริวัจน์
  • สปาย ภาสกรณ์
  • เอ็มม่า ซาจีร่า
  • สิงห์ ดนุพงศ์
  • อาย กัลยวรรธน์
  • หมิว ชนิตา
[11]
ลูกกรุง In Concert 33 และ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563แอ็ค โชคชัย
ผิงผิง สรวีย์
[12]
เปิดม่านใหม่เมืองไทยรัชดาลัย23 และ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • แอ๊ค โชคชัย
  • โตโต้ ธนเดช
  • ผิงผิง สรวีย์
  • วิน วศิน
  • พลอย ทิพย์รมิดา
  • ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ
[13]
คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 2023
ตอน MULTIBIRD จักรวาลธงไชย
17-19, 25 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • แอ๊ค โชคชัย
  • ผิงผิง สรวีย์
  • ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ
  • โตโต้ ธนเดช
  • พลอย ทิพย์รมิดา
  • น้ำทิพย์ วรินธิรา
[14]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย