สโมสรฟุตบอลเซบิยา

(เปลี่ยนทางจาก Sevilla FC)

สโมสรฟุตบอลเซบิยา (สเปน: Sevilla Fútbol Club, ออกเสียง: [seˈβiʎa ˈfuðβol ˈkluβ]) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในเมืองเซบิยา ซึ่งเป็นเมืองหลักและเมืองใหญ่ที่สุดของแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอา ปัจจุบันลงเล่นอยู่ในลาลิกา ลีกสูงสุดในระบบลีกฟุตบอลสเปน

สโมสรฟุตบอลเซบิยา
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเซบิยา
ฉายาโลสเนร์บิโอเนนเซส
โลสอิสปาเลนเซส
ปาลังกานัส
บลังกีร์โรโฆส
โรฆิบลังโกส
เซบิยิสตัส
ก่อตั้ง14 กันยายน ค.ศ. 1905
สนามสนามกีฬารามอน ซันเชซ ปิซฆวน
เซบิยา อันดาลูซิอา สเปน
ความจุ42,714[1]
เจ้าของบริษัท เซบิยิสตัสเดเนร์บิออน จำกัด (มหาชน)
777 พาร์ตเนอส์
ประธานโฆเซ กัสโตร การ์โมนา
ผู้จัดการQuique Sánchez Flores
ลีกลาลิกา
2022–23ลาลิกา อันดับที่ 12 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

เซบิยา เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในสเปน[2][3][4][5] สโมสรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1890[2][3][4][5] โดยมีเอ็ดเวิร์ด ฟาร์เควอร์สัน จอห์นสตัน เป็นประธานสโมสรคนแรกเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1905 สโมสรได้รับการจดทะเบียนก่อตั้งกับรัฐบาลพลเรือนของเซบียาภายใต้การนำของโฆเซ ลุยส์ กาเยโกส อาร์โนซา

เซบิยายังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแคว้นอันดาลูซิอา พวกเขาชนะเลิศลาลิกาครั้งเดียวในฤดูกาล 1945–46 โกปาเดลเรย์ 5 ครั้งใน ค.ศ. 1935, 1939, 1948, 2007 และ 2010 ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา 1 ครั้ง ใน ค.ศ. 2007 ยูฟ่าคัพ และยูฟ่ายูโรปาลีกรวมกัน 6 ครั้งซึ่งเป็นสถิติมากที่สุดกว่าทุกทีม และเกิดขึ้นในห้วงเวลาเพียง 14 ปี ใน ค.ศ. 2006, 2007, 2014, 2015, 2016 และ 2020 และยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2006 สหพันธ์ประวัติศาสตร์ฟุตบอลและสถิตินานาชาติยังได้จัดอันดับให้เซบิยาเป็นสโมสรที่ดีที่สุดในโลกใน ค.ศ. 2006 และ 2007 นับเป็นสโมสรแรกที่ได้รับการจัดอันดับนี้สองปีติดต่อกัน เซบิยายังมีการแข่งขันกับคู่แข่งร่วมเมืองอย่าง เรอัลเบติส มาอย่างยาวนาน

เซบิยามีทีมสำรองซึ่งลงเล่นอยู่ในเซกุนดาดิบิซิออนเฟเดราซิออน นามว่า เซบิยาอัตเลติโก ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาใน ค.ศ. 1958 เซบิยายังมีทีมฟุตบอลหญิง ฟุตซอล และยังเคยมีทีมในซูเปอร์ลีกฟอร์มูลา สนามเหย้าในปัจจุบันของสโมสรคือ สนามกีฬารามอน ซันเชซ ปิซฆวน ซึ่งมีความจุ 42,714 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในย่านเนร์บิออน และตั้งชื่อตามรามอน ซันเชซ ปิซฆวน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรเป็นเวลากว่า 17 ปี

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 29 มกราคม 2024 [6]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
1GK มาร์กอ ดมิตรอวิช
2DF กอนซาโล มอนติเอล
4DF เซร์ฆิโอ ราโมส
5FW ลูกัส โอกัมโปส
6MF เนมาญา กูเด็ลย์
7FW ซูโซ
8MF โยอัน ฆอร์ดัน
9FW เฆซุส โกโรนา
12FW ราฟา มีร์
เลขตำแหน่ง สัญชาติผู้เล่น
13GK โบโน
14MF ต็องกี นีย็องซู
15FW ยูซิฟ อันนุศ็อยรี
16DF เฆซุส นาบัส (กัปตัน)
17FW เอริก ลาเมลา
18MF ปาแป แกย์ (ยืมตัวมาจากมาร์แซย์)
19DF มาร์โกส อากุญญา
20MF เฟร์นันดู (กัปตันที่สาม)
21MF โอลิเบร์ ตอร์เรส
22DF โลอิก บาเด (ยืมตัวมาจากสตาดแรแน)
23DF มาร์เกา
24MF บูบาการี ซูมาเร (ยืมตัวมาจากเลสเตอร์ซิตี)
25FW บรายัน ฆิล (ยืมตัวมาจากทอตนัมฮอตสเปอร์)
46MF ฮันนิบะอล์ อัลมัจญ์บะรี (ยืมตัวมาจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)

ผู้เล่นทีมสำรอง

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
26DF ปาโบล เปเรซ
27FW การ์โลส เฟร์นันเดซ
31GK อัลเบร์โต โฟลเรส
เลขตำแหน่ง สัญชาติผู้เล่น
36GK มาติอัส อาร์โบล
43MF มานู บูเอโน

ผลงาน

ผลงานในแต่ละฤดูกาล

ฤดูกาลระดับลีกลีกอันดับโกปาเดลเรย์
192921รอบก่อนรองชนะเลิศ
1929–3024tรอบ 16 ทีมสุดท้าย
1930–3122รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1931–3228รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1932–3329รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1933–3421รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1934–3515ชนะเลิศ
1935–36110รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1939–4012รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1940–4115รอบก่อนรองชนะเลิศ
1941–4216รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1942–4312รอบแรก
1943–4413รอบก่อนรองชนะเลิศ
1944–45110รอบก่อนรองชนะเลิศ
1945–4611รอบรองชนะเลิศ
1946–4716รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1947–4815ชนะเลิศ
1948–4918รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1949–50110รอบก่อนรองชนะเลิศ
1950–5112รอบแรก
ฤดูกาลระดับลีกลีกอันดับโกปาเดลเรย์
1951–5216รอบแรก
1952–5315รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1953–5415รอบรองชนะเลิศ
1954–5514รองชนะเลิศ
1955–5614รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1956–5712รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1957–58110รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1958–59112รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1959–6014รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1960–61111รอบก่อนรองชนะเลิศ
1961–6216รองชนะเลิศ
1962–63111รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1963–6419รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1964–65110รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1965–6618รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1966–67113รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1967–68116รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1968–6921ไม่ได้เข้าร่วม
1969–701

3รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1970–7117รอบรองชนะเลิศ
ฤดูกาลระดับลีกลีกอันดับโกปาเดลเรย์
1971–72116รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1972–7324รอบก่อนรองชนะเลิศ
1973–7429รอบสี่
1974–7523รอบสี่
1975–76111รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1976–77110รอบก่อนรองชนะเลิศ
1977–7818รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1978–79111รอบรองชนะเลิศ
1979–8018รอบสี่
1980–8118รอบรองชนะเลิศ
1981–8217รอบแรก
1982–8315รอบก่อนรองชนะเลิศ
1983–8418รอบที่สอง
1984–85112รอบที่สาม
1985–8619รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1986–87110รอบที่สาม
1987–88110รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1988–8919รอบ 32 ทีมสุดท้าย
1989–9016รอบที่สอง
1990–9118รอบก่อนรองชนะเลิศ
ฤดูกาลระดับลีกลีกอันดับโกปาเดลเรย์]
1991–92112รอบก่อนรองชนะเลิศ
1992–9317รอบ 16 ทีมสุดท้าย
1993–9416รอบก่อนรองชนะเลิศ
1994–9515รอบที่สี่
1995–96112รอบก่อนรองชนะเลิศ
1996–97120รอบที่สาม
1997–9827รอบแรก
1998–9924รอบที่สี่
1999–2000120รอบแรก
2000–0121รอบ 64 ทีมสุดท้าย
2001–0218รอบ 64 ทีมสุดท้าย
2002–03110รอบก่อนรองชนะเลิศ
2003–0416รอบรองชนะเลิศ
2004–0516รอบก่อนรองชนะเลิศ
2005–0615รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2006–0713ชนะเลิศ
2007–0815รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2008–0913รอบรองชนะเลิศ
2009–1014ชนะเลิศ
2010–1115รอบรองชนะเลิศ
ฤดูกาลระดับลีกลีกอันดับโกปาเดลเรย์
2011–1219รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2012–1319รอบรองชนะเลิศ
2013–1415รอบ 32 ทีมสุดท้าย
2014–1515รอบก่อนรองชนะเลิศ
2015–1617รองชนะเลิศ
2016–1714รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2017–1817รองชนะเลิศ
2018–1916รอบก่อนรองชนะเลิศ
2019–2014รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2020–2114รอบรองชนะเลิศ
2021–2214รอบรองชนะเลิศ
2022–231รอบก่อนรองชนะเลิศ

นับตั้งแต่สโมสรเลื่อนชั้นสู่ลาลิกาเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1934–35 เซบิยาก็สามารถรักษาการอยู่รอดในลาลิกาต่อไปได้ถึงสิบสามฤดูกาล และสามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาล 1945–46 และจบด้วยการเป็นรองแชมป์ 4 สมัย (1939–40, 1942–43, 1950–51 และ 1956–57) สโมสรตกชั้นสู่เซกุนดาดิบิซิออน ในช่วงสั้น ๆ เพียงสี่ครั้ง แต่สโมสรก็คว้าแชมป์รายการนี้ได้สองครั้งในปี 1968–69 และ 2000–01

เกียรติประวัติ

ลีก

ถ้วย

ยุโรป

รางวัลส่วนบุคคล

  • รางสัลปิชิชิ (1):
ฆวน อาร์ซา (1955)
  • รางวัลซาร์รา (2):
อัลบาโร เนเกรโด (2011), (2013)
  • รางวัลซาโมรา (1):
ยัสซีน บูนู (2022)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย