La Dolce Vita

บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอื่น หรือใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม

La dolce vita (ภาษาอิตาลี แปลว่า "ชีวิตอันแสนหวาน" [1]) เป็นภาพยนตร์อิตาลีที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 กำกับและเขียนบทโดยเฟเดอริโก เฟลลินี ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาวดำ และแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์โดย นิโน โรตา มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักหนังสือพิมพ์หนุ่มเจ้าสำราญที่ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์อยู่ในกรุงโรม วุ่นวายไปการทำงาน และใช้ชีวิตพัวพันไปกับสาวสวยหลายคน เพื่อค้นหาความรักและความสุขในชีวิต

La Dolce Vita
กำกับเฟเดอริโก เฟลลินี
เขียนบทเฟเดอริโก เฟลลินี
อำนวยการสร้างกัวเซปเป อามาโต
แองเจโล ริซโซลี
นักแสดงนำมาร์เชลโล มาสโตรอิอานนี
แอนนิตา เอกเบิร์ก
อานุก แอมเม
อีวอง เฟอร์นูซ์
วอลเทอร์ ซานเทสโซ
วาเลอเรีย ชิอานกอตตินี
ดนตรีประกอบนิโน โรตา
วันฉายอิตาลี 5 กุมภาพันธ์ 1960
สหรัฐ 19 เมษายน 1961
ความยาว174 นาที
ประเทศธงของประเทศอิตาลี อิตาลี ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ภาษา(อิตาลี)
(ฝรั่งเศส)
(เยอรมัน)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการอ้างถึงว่า เป็นจุดเปลี่ยนของผลงานของเฟลลินี จากผลงานยุคแรกในแนว neo-realism ไปสู่แนว surrealism ในยุคหลัง ภาพยนตร์ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1960 [2][3] เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 รางวัล และได้รับรางวัลการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ภาพยนตร์ขาวดำ) และได้รับการโหวตให้ติดอันดับ 6 จาก 100 อันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยนิตยสาร Entertainment Weekly [4]

ฉากเด่นในภาพยนตร์ ที่ถูกนำมาอ้างอิงถึงบ่อยครั้ง คือฉากที่ มาร์เชลโล (มาร์เชลโล มาสโตรอิอานนี) และ ซิลเวีย (แอนนิตา เอกเบิร์ก) ลงไปเล่นน้ำในน้ำพุเทรวี [5] และฉากเปิดเรื่อง ที่มีเฮลิคอปเตอร์บรรทุกรูปปั้นพระเยซูเพื่อนำไปส่งที่กรุงวาติกัน ฉากเหล่านี้ถูกนำมาอ้างอิงถึงในภาพยนตร์ของสตีฟ มาร์ติน (L.A. Story ปี 1991), วูล์ฟกัง เบกเกอร์ (Good Bye, Lenin! ปี 2003), วูดดี อัลเลน (Celebrity ปี 1998) หรือแม้แต่หนังโป๊เกย์ของไมเคิล ลูคัส (Michael Lucas' La Dolce Vita ปี 2007)

ตัวละครช่างภาพที่ทำงานร่วมกับมาร์เชลโล ชื่อ ปาปาราซโซ (อิตาลี: Paparazzo) ก็เป็นที่มาของชื่อ "ปาปารัซซี" ที่ใช้เรียกช่างภาพอาชีพที่คอยติดตามเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของดาราที่มีชื่อเสียง [6]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย