ไฮยีนา

(เปลี่ยนทางจาก Hyaenidae)

ไฮยีนา (อังกฤษ: hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα, hýaina ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/)[1] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae พร้อมกับ 4 สายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ (แต่ละชนิดมีสกุลของตนเอง) ไฮยีนาเป็นวงศ์ที่เล็กอันดับ 5 ในอันดับสัตว์กินเนื้อ และเป็นหนึ่งในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด[2] ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายน้อย ไฮรนาเป็นสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์และสำคัญในระบบนิเวศแอฟริกาส่วนใหญ่[3]

ไฮยีนา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 22–0Ma สมัยไมโอซีนตอนต้น – ปัจจุบัน
ไฮยีนา 4 สายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: ไฮยีนาลายจุด (Crocuta crocuta), ไฮยีนาน้ำตาล (Parahyaena brunnea), aardwolf (Proteles cristata) และไฮยีนาลายแถบ (Hyaena hyaena)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอต
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ:อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย:เฟลิฟอเมีย
อันดับฐาน:Viverroidea
วงศ์:Hyaenidae
Gray, 1821
สกุลต้นแบบ
Hyaena
Brisson, 1762
สกุล
  • Crocuta (สีมะกอกออลิฟซ้อนทับบนแผนที่)
  • Hyaena (สีน้ำเงินบนปผนที่ รวม Parahyaena)
  • Parahyaena
  • Proteles (สีม่วงแดงบนแผนที่)
  • Adcrocuta
  • Allohyaena
  • Belbus
  • Chasmaporthetes
  • Herpestides
  • Hyaenictis
  • Hyaenotherium
  • Ictitherium
  • Ikelohyaena
  • Leecyaena
  • Lycyaena
  • Metahyaena
  • Miohyaenotherium
  • Palinhyaena
  • Pachycrocuta
  • Pliocrocuta
  • Plioviverrops
  • Protictitherium
  • Thalassictis
  • Tongxinictis
  • Tungurictis
  • Werdelinus
ชื่อพ้อง
  • Protelidae Flower, 1869

ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้ชิดกับวงศ์เสือและแมวและวงศ์ชะมดและอีเห็น มากกว่า

ลักษณะและพฤติกรรม

ไฮยีนาสามารถแบ่งได้เป็น 25 สกุล (ดูในตาราง)[4] หลาย ชนิดแต่ปัจจุบัน เหลือแค่ 4 ชนิด 3 สกุล กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกาและบางส่วนในภูมิภาคอาหรับและอินเดีย ไฮยีนามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับสุนัข มีขนหยาบหนาสีน้ำตาลแกมเทา มีลายและจุดแตกต่างกันตามแต่ละชนิด และมีหางยาวราว 18 นิ้ว ไหล่และหัวมีส่วนกว้าง ไหล่สูงกว่าขาหลังมาก และมีกรามที่แข็งแกร่งและแข็งแรงมาก ทำให้เป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีแรงกัดรุนแรงมาก

ไฮยีนามักจะรวมตัวกันออกหาเหยื่อโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง ไฮยีนาตัวเมียนั้นจะมีอวัยวะเพศที่ขยายใหญ่ได้จนมีขนาดเท่ากับอวัยวะเพศของตัวผู้ ตัวใดที่มีลักษณะอวัยวะเพศคล้ายเพศผู้ จะสามารถเข้ากลุ่มตัวเมียได้ดี ไฮยีนาตัวเมียที่ไม่มีอวัยวะเพศผู้จะถูกขับออกจากกลุ่มตัวเมีย และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการมีกลุ่มได้ ไฮยีนาสามารถวิ่งได้เร็วถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นิสัยค่อนข้างดุ ไฮยีนาตัวเมียจะมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าตัวผู้ เนื่องจากจะเป็นฝ่ายดูแลลูก เพราะตัวผู้จะทำอันตรายและกินลูกไฮยีนาที่เกิดใหม่เป็นอาหารได้

ไฮยีนาออกหากินในเวลากลางคืน ตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงหรือซอกหิน จะคลอดลูกและเลี้ยงดูลูกในโพรง โดยออกลูกครั้งละประมาณ 1-2 ตัว บางครั้งอาจได้ถึง 4 ตัว โดยลูกอ่อนจะยังลืมตาและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

ในวัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับมนุษย์

แม้ไฮยีนาจะมีขนาดและรูปร่างที่เล็กกว่าสิงโต แต่จะเป็นสัตว์ที่สิงโตมักจะแพ้เมื่อล่าเหยื่อได้แล้ว ไฮยีนาเข้ามาก่อกวนเพื่อที่จะแย่งซากสัตว์ที่ล่าได้ จนสิงโตเป็นฝ่ายล่าถอยไป จนมีความเชื่อกันว่า ไฮยีนาเป็นสัตว์ขี้ขลาด แต่ไฮยีนาก็มีพฤติกรรมล่าเหยื่อได้เอง และบางครั้งก็คุกคามสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วย อาทิ วัว ควาย แพะ หรือแกะ และบางครั้งก็อาจโจมตีมนุษย์ได้เช่นกันมีตำนานคล้ายมนุษย์หมาป่าคือมนุษย์ไฮยีนา (Werehyena)

ไฮยีนา เป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก แม้แต่กระดูกก็กินได้ รวมทั้งซากศพด้วย อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า ไฮยีนาเป็นสัตว์เจ้าเล่ห์ เมื่อถูกหมาป่ารุมทำร้าย ไฮยีนามักจะทำเป็นแกล้งตายเพื่อหลอกหมาป่า ทันทีที่หมาป่าละความสนใจ ก็จะลุกขึ้นหนีไป อีกทั้งเสียงร้องของไฮยีนานั้นยังคล้ายกับเสียงหัวเราะ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ไฮยีนาได้กลายเป็นตัวละครที่เจ้าเล่ห์ในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ อาทิ เป็นตัวละคร 3 ตัว ที่ชื่อ Shenzi, Banzai และ Ed ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องThe Lion King ของบริษัท วอลต์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1995 เป็นต้น

ในประเทศไทยมีไฮยีนาเลี้ยงในสวนสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์สงขลา, เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป็นต้น[5]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Funk, Holdger (2010) Hyaena: On the Naming and Localisation of an Enigmatic Animal, GRIN Verlag, ISBN 3-640-69784-7
  • Lawick, Hugo & Goodall, Jane (1971) Innocent Killers, Houghton Mifflin Company Boston
  • Mills, M. G. L. (2003) Kalahari Hyenas: Comparative Behavioral Ecology of Two Species, The Blackburn Press

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2567ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดอนัลด์ ทรัมป์อสมทซูซานน่า เรโนลรายชื่อประธานาธิบดีสหรัฐฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถกรกันต์ สุทธิโกเศศแอนโทเนีย โพซิ้วประธานาธิบดีสหรัฐกองทัพ พีคลามิน ยามัลฟุตบอลทีมชาติสเปนศิริลักษณ์ คองวันอาสาฬหบูชามัณฑนา หิมะทองคำมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรภักดีหาญส์ หิมะทองคำโจ ไบเดินฟุตบอลโลกอาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2566ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายอริยสัจ 4ประเทศไทยสมโภชน์ อาหุนัยโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประเทศสเปน