ไญยนิยม

(เปลี่ยนทางจาก Gnosticism)

ไญยนิยม[1] หรือลัทธินอสติก (อังกฤษ: gnosticism; กรีก: γνῶσις gnōsis ความรู้; อาหรับ: الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ[2] แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ[3] ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม

ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์[4][5] ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม[6] จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2[7]

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มความเชื่อนี้ ในบางกลุ่มสอนให้เกิดหรือเข้าถึงความรู้อย่างง่าย เพื่อให้เกิดความรอดของจิตวิญญาณ คริสเตียนสายไญยนิยมเป็นพวกที่ไม่เชื่อในเรื่องคำสอนของพระเยซูคริสต์แบบขนบที่ยึดถือในหมู่ชาวคริสเตียนสายก่อนสัมมาธรรม (proto orthodox) พวกเขาเชื่อการสำแดง ประสบการณ์ หรือความรู้พิเศษถึงพระเจ้า และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงของพระเจ้าได้ และเอาความจริงเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ที่ควรแสวงหา อีกทั้งคริสเตียนยังเป็นผู้อารักขาความล้ำลึกของข่าวประเสริฐ ไญยนิยมยังเชื่อว่าโลกวัตถุเป็นสิ่งชัวร้ายที่สร้างโดย พระเจ้าของพันธสัญญาเดิมซึ่งไม่ใช่พระบิดาของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าในพันธสัญญาเดิมเป็นพระเจ้าระดับต่ำ บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นซาตาน บางกลุ่มเชื่อว่าเกิดจาก อดัม อาห์ริแมน (ซาตานในศาสนาโซโรเอสเตอร์) แต่พระเจ้าที่แท้และสูงสุดคือพระบิดาของพระเยซูคริสต์ ได้เข้ามาในโลกเพื่อไถ่คนสู่ความรอดพ้น โดยวิญญาณต้องได้รับการปลดปล่อยจากร่างกายผ่านทางการทรงไถ่ของพระเยซูคริสต์

ความเชื่อแบบไญยนิยมนี้แพร่หลายในคริสตจักรยุคแรก ควบคู่ไปกับความคิดแบบก่อนสัมมาธรรมนับแต่ปลายศตวรรษที่ 1 ซึ่งในช่วงหนึ่งร้อยห้าสิบปีแรกของคริสตจักรนั้น ไม่มีความคิดสายใดได้รับการยอมรับเป็นสายหลักของคริสตจักร หนึ่งในผู้นำคนสำคัญของคริสเตียนสายไญยนิยมนี้ คือวาเลนตินัสซึ่งเกิดที่อเล็กซานเดรียประมาณ ปี ค.ศ. 100 เชื่อกันว่าวาเลนตินัสเป็นสาวกทางความคิดของ ธุดาส (Theudas) และนักบุญเปาโล เขาเป็นนักวิชาการและผู้นำคริสตจักรที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในคริสตจักรที่อเล็กซานเดรีย ต่อมาเขาได้ย้ายมาที่โรมและได้รับการยอมรับที่คริสตจักรโรมเช่นกัน ถึงกับได้รับการเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกเป็นบิชอปแห่งโรมในกลางศตวรรษที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือก เขาเดินทางไปสอนหนังสือที่ไซปรัสและเสียชีวิตที่นั่น ต่อมาเมื่อคริสตจักรสายก่อนสัมมาธรรมได้รับการยอมรับจากวงการคริสตจักรมากขึ้น และกลุ่มก่อนสัมมาธรรมนี้มองว่าวาเลตินัสว่าเป็นผู้สอนผิด ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มต้นของขนบประวัติศาสตร์คริสตจักรที่บันทึกว่า วาเลนตินัสเป็นผู้นำมิจฉาลัทธิที่สอนเรื่องไญยนิยมนับตั้งแต่ศตวรรษที่สอง ทั้งนี้ บิชอปไอเรเนียสเริ่มโจมตีลัทธิไญยนิยมว่าเป็นพวกนอกรีต นับแต่ปี ค.ศ.180 เป็นต้นมา ทำให้คริสเตียนสายไญยนิยมต้องอ่อนแอลงในที่สุดโดยค่อย ๆ สูญหาย และแตกสายไปผสานในศาสนาหรือความคิดอื่น ๆ

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ไญยนิยม กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง อดอฟ ฟอน ฮาร์นัค (Adolf von Harnack) กล่าวว่าความคิดเรื่องไญยนิยมเป็นพัฒนาการตั้งแต่เริ่มต้นภายในคริสตจักรเองซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรัชญากรีกและความคิดต่าง ๆ ขณะนั้น ฮาร์นัคระบุว่า คริสเตียนสายไญยนิยมเป็นขบวนการศึกษาความรู้ของปัญญาชนในศตวรรษที่หนึ่งและสอง ซึ่งแม้แต่ผู้นำคริสตจักรบางคน เช่น เคลเมนต์ แห่งอเล็กซานเดรีย ก็ยังคิดว่าตนเองเป็นปัญญาชนแบบไญยนิยม กล่าวคือ มีความรู้ที่จำเพาะและผ่านทางญาณที่คนทั่วไปไม่รู้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการปัจจุบันมองว่า ความหมายของ γνωσις (ความรู้) นี้ไม่ได้หมายถึงความรู้ หรือญานพิเศษอะไรตามที่ผู้นำคริสตจักรยุคแรกมักใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีไญยนิยม หากแต่หมายถึงระดับความลึกซื้งของฝ่ายจิตวิญญาณ และการอธิบายคำตรัสของพระเยซูคริสต์ไปในด้านอุปมาเท่านั้นเอง เช่น ขณะที่ มธ. 7:7 บันทึกคำกล่าวของพระเยซูคริสต์อย่างง่าย ๆ ว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จึงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน” นั้น กิตติคุณโธมัสข้อ 2 บันทึกละเอียดกว่านั้นว่า “ผู้ที่แสวงหา จะไม่หยุดการแสวงหาจนกว่าเขาจะได้พบ เมื่อเขาพบแล้ว เขาก็จะพบกับปัญหา เมื่อเขาพบกับปัญหา เขาจะพบกับความพิศวง แล้วเขาจะสามารถเอาปกครองทุกสิ่งได้” ซึ่งสะท้อนถึงความจริงของชีวิตคริสเตียนตลอดเวลา

ในความหมายของนอสติก

คำว่า ไญยนิยม แปลมาจากภาษาอังกฤษ Gnosticism ตัวจีไม่ออกเสียง รับมาจากภาษากรีก gnostikos แปลว่าให้เกิดการเรียนรู้ทางปัญญา นักบุญอีเรเนอุส ผู้ต่อต้านนอสติกในยุคแรก ๆ ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า เป็นบาปที่เกิดจากการเรียนรู้[8] ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง การสืบสวนและล้มล้างแนวคิดที่ผิด ที่ไปเรียกกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นศาสตร์ความรู้ แม้กระทั่ง เปาโลอัครทูต ยังเขียนไว้ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 ว่า เรียกกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นศาสตร์ความรู้ ทิโมธี 6:20 คำว่านอสติกซึม จึงถูกใช้เรียกแทนคำว่า บาปก็ได้[9]

ลักษณะที่เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทางปัญญาแบบไญยนิยม

  • 1. ความคิดระยะไกลสูงสุดถึงแหล่งเอกของพระเจ้า โดยนิยามด้วยความหลากหลายของคำต่าง ๆ เช่น เพลโรมา บีทอส
  • 2. แนะนำให้เห็นถึงบ่อเกิดของชีวิตที่สูงส่งต่อไปหรือที่เรียกว่า กัลป์ ซึ่งแม้มีขนาดอนันต์แต่เล็กมากในสายตาของพระเจ้า การกระจายพลังงานชีวิตแบบก้าวหน้านี้บ่อยครั้งมีการตัดสินเปรียบเทียบแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยเลือกแหล่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามมักมีความไม่แน่นอนเหมือนลอนผ้า ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ
  • 3. แนะนำให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างระหว่าง พระผู้สร้าง กับ โดมีอูเกอร์ อันหนึ่งเป็นภาพลวงตา อีกอันหนึ่งออกไปจากแหล่งเดียวหรือมีแหล่งที่มา พระเจ้าที่สองนี้เป็นรองพระเจ้าหรือพระเจ้าในชั้นที่ด้อยกว่าหรือพระเจ้าลวงตา ซึ่งพระเจ้าผู้สร้างนี้โดยปกติก็จะเป็น โดมีอูรเกอร์ (ในทางเทคนิคคำว่า โดมีอูรเกอร์ กรีก: dēmiourgos, δημιουργός ใช้เรียก ช่าง หรือ ผู้มีฝีมือ) ความเชื่อนี้อยู่ในลัทธิเพลโต[10]

โดมีอูเกอร์ เป็นผู้สร้างเมตตาของจักรวาล ทำให้เกิดจักรวาลที่มีเมตตาได้เท่าที่ข้อจำกัดจะอนุญาตไว้ ต่อมารายละเอียดของความปรารถนาที่จะมีเมตตาดั่งสิงโต ถูกอธิบายโดยรูปแบบปรัชญาของ โสกราตีส โดยสร้างเป็นศิลปะของงูที่มีหัวเป็นสิงโต รูปปั้นนี้ถูกเรียกว่า อัลดาปาโอ[11] หรือ ซามาเอล (แอราเมอิก: sæmʻa-ʼel) หรือ ซาคลาส (ซีเรีย: sækla) ซึ่งบางครั้ง โดมีอูเกอร์ ทำเหมือนไม่รับรู้พระเจ้า หรือไปจนถึงต่อต้านพระเจ้าไปเลยก็มี ซึ่งในกรณีหลังเป็นเหมือนคนที่มุ่งร้าย

โดมีอูเกอร์ ที่อยู่ฝ่ายเดียวกับพระเจ้าเรียกว่า อากอน ซึ่งเขาทำหน้าที่ประธานในอาณาจักร ในบางกรณีอุปสรรคคือหาวิญญาณที่เป็นพวกเดียวกัน[11]

ประมาณกันว่าโลกที่สร้างขึ้นนั้นไม่ค่อยสมบูรณ์และค่อนไปทางผิดพลาด แต่ถือว่าดีพอสมควรเท่าที่เกณฑ์ตั้งต้นอนุญาตไว้[12]

ไญยนิยมกับพุทธศาสนา

ครูสอนศาสนาชื่อ ซีจิอานอส ได้ไปถึงอินเดียประมาณปี ค.ศ. 50 และได้ซื้อหนังสือเรื่อง หลักคำสอนเรื่องสองสิ่ง[13] นักบุญอีเรเนอุส ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ ซีจิอานอสได้ไปพบว่า "ที่นั่นมีบางอย่างนอกเหนือจากหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ และเพื่อที่จะพูดว่า กิจการทุกอย่างของทุกสิ่งล้วนมาจากสองแหล่งหรือสองสิ่งเสมอ"

เมื่อซีจีอานอสเสียชีวิต นักเรียนของเขาที่ชื่อเทอราบินธัสได้เดินทางไปที่ปาเลสไตน์ ยูเดีย และ บาบิโลน โดยเรียกชื่อตัวเองว่า พุทธะ เพื่อแสดงตนและเพื่อเชื่อมโยงปรัชญาของตนให้เข้ากับพุทธศาสนา[14] ต่อมาหนังสือของเทอราบินธัสถูกส่งต่อให้กับพระมาณี ซึ่งได้ใช้ความรู้นี้นำไปเผยแพร่ในศาสนามาณีกี[15]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไญยนิยม

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย