ฟัลคอน เฮฟวี

(เปลี่ยนทางจาก Falcon Heavy)

ฟัลคอน เฮฟวี (อังกฤษ: Falcon Heavy) เป็นยานปล่อยตัวขนน้ำหนักเกินปกติ (super heavy-lift launch vehicle) ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ออกแบบและผลิตโดยสเปซเอ็กซ์ ฟัลคอน เฮฟวี (เดิมเรียกว่า ฟัลคอน 9 เฮฟวี) เป็นรุ่นปรับแต่งของยานฟัลคอน 9 และมีส่วนประกอบของโครงสร้างหลักจากจรวดฟัลคอน 9 ที่ถูกเพิ่มความแข็งแรง และมีจรวดส่วนแรกของฟัลคอน 9 จำนวนสองลำรัดติดเพื่อใช้เป็นบูสเตอร์ (strap-on boosters)[7] สิ่งนี้ช่วยเพิ่มน้ำหนักบรรทุกในวงโคจรต่ำของโลก (LEO) เป็น 63,800 กิโลกรัม เทียบกับจำนวน 22,800 กิโลกรัมสำหรับฟัลคอน 9 ฟูล ทรัสต์ (Falcon 9 full thrust); 27,500 กิโลกรัมสำหรับกระสวยอวกาศของนาซ่าซึ่งปัจจุบันถูกปลดระวางแล้ว และ 140,000 กก. สำหรับแซทเทิร์นไฟว์ (Saturn V)

ฟัลคอน เฮฟวี
สัญลักษณ์ฟัลคอน เฮฟวี
ฟัลคอน เฮฟวี บนแท่นปล่อยตัว LC-39A ขณะกำลังเตรียมบินครั้งแรก
หน้าที่ยานปล่อยตัวขนน้ำหนักเกินปกติในวงโคจร
ผู้ผลิตสเปซเอ็กซ์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ขนาด
สูง70 m (230 ft)[1]
เส้นผ่านศูนย์กลาง3.66 m (12.0 ft)[1]
กว้าง12.2 m (40 ft)[1]
มวล1,420,788 กิโลกรัม (3,132,301 ปอนด์)[1]
ท่อน2+
ความจุ
น้ำหนักบรรทุกสู่ LEO (28.5°)
มวล63,800 กิโลกรัม (140,700 ปอนด์)[1]
น้ำหนักบรรทุกสู่ GTO (27°)
มวล26,700 กิโลกรัม (58,900 ปอนด์)[1]
น้ำหนักบรรทุกสู่ ดาวอังคาร
มวล16,800 กิโลกรัม (37,000 ปอนด์)[1]
น้ำหนักบรรทุกสู่ พลูโต
มวล3,500 กิโลกรัม (7,700 ปอนด์)[1]
จรวดที่เกี่ยวข้อง
ตระกูลฟัลคอน 9
การเปรียบเทียบ
  • Delta IV Heavy
  • Long March 5
  • New Glenn
  • Saturn C-3
  • Vulcan
ประวัติการบิน
สถานะใช้งานอยู่
จุดส่งตัว
จำนวนเที่ยวบิน3
สำเร็จ3
ล้มเหลว0
ล้มเหลวบางส่วน2
เที่ยวบินแรก6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[2][3]
บูสเตอร์
จำนวนบูสเตอร์2
เครื่องยนต์9 Merlin 1D
แรงส่งระดับน้ำทะเล: 7.6 MN (1,700,000 lbf) (ต่อชิ้น)
สุญญากาศ: 8.2 MN (1,800,000 lbf) (ต่อชิ้น)
แรงส่งรวมระดับน้ำทะเล: 15.2 MN (3,400,000 lbf)
สุญญากาศ: 16.4 MN (3,700,000 lbf)
แรงดลจำเพาะระดับน้ำทะเล: 282 วินาที[4]
สุญญากาศ: 311 วินาที[5]
ระยะเวลาการเผาไหม้154 วินาที
เชื้อเพลิงSubcooled LOX / Chilled RP-1[6]
ท่อนแรก
เครื่องยนต์9 Merlin 1D
แรงส่งระดับน้ำทะเล: 7.6 MN (1,700,000 lbf)
สุญญากาศ: 8.2 MN (1,800,000 lbf)
แรงดลจำเพาะระดับน้ำทะเล: 282 วินาที
สุญญากาศ: 311 วินาที
ระยะเวลาการเผาไหม้187 วินาที
เชื้อเพลิงSubcooled LOX / Chilled RP-1
ท่อนสอง
เครื่องยนต์1 Merlin 1D Vacuum
แรงส่ง934 kN (210,000 lbf)[1]
แรงดลจำเพาะ348 วินาที[1]
ระยะเวลาการเผาไหม้397 วินาที[1]
เชื้อเพลิงLOX / RP-1

ฟัลคอน เฮฟวีเป็นจรวดที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดอันดับที่ 4 เท่าที่เคยถูกสร้าง ต่อจาก แซทเทิร์นไฟว์, Energia และ N1 และ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ฟัลคอน เฮฟวี ถือเป็นจรวดที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่อยู่ระหว่างใช้งาน โดยบรรทุกได้มากกว่าสองเท่าของ Delta IV Heavy

ฟัลคอน เฮฟวี ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถบรรทุกมนุษย์ไปยังอวกาศนอกเหนือจากวงโคจรต่ำของโลก รวมถึงดวงจันทร์และดาวอังคาร แม้ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2561 สเปซเอ็กซ์ได้ยืนยันแล้วว่าจะยังไม่มีแผนการใช้ฟัลคอน เฮฟวี ในภารกิจขนส่งคน หรือดำเนินการตามกระบวนการรับรองการจัดอันดับมนุษย์เพื่อขนส่งนักบินอวกาศของนาซ่า แต่มีแผนที่จะใช้เพื่อขนส่งน้ำหนักมาก เช่น ดาวเทียมขนาดใหญ่[8] ฟัลคอน เฮฟวี และ ฟัลคอน 9 จะถูกแทนที่ด้วยระบบปล่อยยานสตาร์ชิป [9]

สเปซเอ็กซ์ประสบความสำเร็จในการปล่อยฟัลคอน เฮฟวี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ เวลา 15:45 (EST) หรือเวลา 03:45 น. ของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ในประเทศไทย[10][3][11] ในการปล่อยตัวครั้งแรกได้บรรทุกบนรถเทสลา โรดสเตอร์ (Tesla Roadster) สี midnight cherry ของอีลอน มัสก์ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์เป็นน้ำหนักหลอก[12][13]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย