แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

(เปลี่ยนทางจาก Assumption of Mary)

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์[3] (หรือชื่อภาษาไทยอื่น ๆ เช่น พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์[4] หรือ พระแม่มารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ) หรือ อัสสัมชัญ (อังกฤษ: Assumption of Mary หรือชื่อเต็ม Assumption of the Blessed Virgin Mary) ในคติของคริสตจักรโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์, คริสตจักรตะวันออก และบางคณะของแองโกล–คาทอลิก หมายถึงการยกกายและวิญญาณของพระนางมารีย์พรหมจารีขึ้นสวรรค์ ถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตบนโลกของแม่พระ การเฉลิมฉลองเทียบเท่ากันในคริสตจักรตะวันออกเรียกว่าการบรรทมของแม่พระ (Dormition)

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์
แม่พระอัสสัมชัญ
อัสสัมชัญ โดยทิเชียน, 1516–1518
ชื่ออื่น
  • อัสสัมชัญ
  • พิธีฉลองพระนางพรหมจารีย์มารี พระมารดาของพระเจ้า[1]
  • การหลับใหลของแม่พระ[2]
จัดขึ้นโดย
ประเภทศาสนาคริสต์
ความสำคัญการขึ้นสวรรค์ทั้งเป็นของพระนางมารีย์พรหมจารี
การถือปฏิบัติพิธีมิสซา
วันที่15 สิงหาคม
ความถี่ประจำปี

การเฉลิมฉลองแม่พระรับยกขึ้นสวรรค์หรือวันอัสสัมชัญเป็นวันฉลองนักบุญที่สำคัญในคริสตจักรที่เฉลิมฉลองพระแม่ โดยทั่วไปตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ในหลายพื้นที่ของโลก นิกายคาทอลิกกำหนดให้วันนี้เป็นวันฉลองบังคับ การถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะเป็นที่พบได้ทั่วไปในศิลปะคริสต์ พบมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12

ตามคำสอนต้องเชื่อของโรมันคาทอลิกระบุว่าแม่พระทรง "สิ้นสุดช่วงชีวิตบนโลกใบนี้ และได้รับการยก (assumed) ทั้งกายและวิญญาณเข้าสู่ความรุ่งโรจน์นิรันดร์ในสวรรค์"[5] ตามที่กำหนดไว้โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1950 ในธรรมนูญพระสันตะปาปา Munificentissimus Deus ภายใต้หลักพระสันตะปาปาย่อมทรงไม่ผิดพลาด[6] ในขณะที่คริสตจักรคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เขื่อว่าเป็นการนอนหลับ (Dormition หรือ "การนอนหลับของแม่พระ")[7]

ศัพทมูล

คำว่า "assumption" มาจากภาษาอังกฤษยุคกลาง "assumpcioun" แปลว่า "การยกขึ้นสวรรค์" (a taking up into heaven) และมาจากภาษาละติน "assumptio" แปลว่า "การยก" (taking)[8]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Duggan, Paul E. (1989). The Assumption Dogma: Some Reactions and Ecumenical Implications in the Thought of English-speaking Theologians. Emerson Press, Cleveland, Ohio.
  • Mimouni, Simon Claude (1995). Dormition et assomption de Marie: Histoire des traditions anciennes. Beauchesne, Paris.
  • Salvador-Gonzalez, José-María (2019). "Musical Resonanes in the Assumption of Mary and Their Reflection in the Italian Trecento and Quattrocento Painting". Music in Art: International Journal for Music Iconography. 44 (1–2): 79–96. ISSN 1522-7464.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย