Aquilolamna

Aquilolamna เป็นสกุลที่สูญพันธุ์แล้วของสัตว์คล้ายฉลามจากยุคครีเทเชียสตอนปลาย (ช่วงทูโรเนียน) ค้นพบในชั้นหินอากวานวยวา (Agua Nueva Formation) แห่งเม็กซิโก สปีชีส์ที่ทราบมีเพียงสปีชีส์เดียว คือ A. milarcae หรือ ฉลามอินทรี และถูกจัดไว้ในวงศ์ของมันเอง คือ Aquilolamnidae และขณะนี้ถูกจัดไว้กับอันดับปลาฉลามขาวเป็นการชั่วคราว[1][2]

Aquilolamna
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย, 93Ma
ภาพจำลอง A. milarcae
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอต
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:ปลากระดูกอ่อน
อันดับ:อันดับปลาฉลามขาว (?)
วงศ์:Aquilolamnidae
Vullo, Frey, Ifrim, González González, Stinnesbeck, & Stinnesbeck, 2021
สกุล:Aquilolamna
Vullo, Frey, Ifrim, González González, Stinnesbeck, & Stinnesbeck, 2021
ชนิดต้นแบบ
Aquilolamna milarcae
Vullo, Frey, Ifrim, González González, Stinnesbeck, & Stinnesbeck, 2021

อนุกรมวิธาน

แม้จะเชื่อกันว่า Aquilolamna อยู่ในกลุ่มเดียวกับฉลามและกระเบน และสิ่งมีชีวิตตัวอย่างแรกเป็นฟอสซิลที่ถูกคงสภาพไว้อย่างดีก็ตาม การจัดจำแนกทางอนุกรมวิธานก็ยังเป็นปัญหา เนื่องจากไม่พบฟันในตัวอย่าง ซึ่งเชื่อว่าหลุดออกไปเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงหรืออาจฝังลึกอยู่ในเนื้อกระดูก (matrix) โดยฟันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพิจารณาความสัมพันธ์ทางอนุกรมวิธานของซากดึกดำบรรพ์ฉลาม สิ่งที่อาจเป็นรอยพับบนผิวหนังของตัวอย่างอาจเป็นเพียงซากดึกดำบรรพ์ของพรมแบคทีเรีย (bacterial mat) แต่เดิมมันถูกจัดให้อยู่ในอันดับปลาฉลามขาวไว้ชั่วคราวจากการอธิบายรูปพรรณในครั้งแรกที่อาศัยความคล้ายคลึงทางสัณฐานวิทยาที่มีต่อสมาชิกอื่นในอันดับ อย่างไรก็ตาม จากการที่ฉลามชนิดนี้มีลักษณะที่ผิดประหลาดอย่างยิ่ง นักบรรพชีวินวิทยาบางคนจึงยังคงลังเลที่จะจัดจำแนกมันไว้ในอันดับดังกล่าว และต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต[3] นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยว่า Aquilolamna มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Cretomanta ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนที่สูญพันธุ์แล้วในกลุ่มนีโอเซลาเคียน ที่ยังหาความสัมพันธ์ทางอนุกรมวิธานที่แน่ชัดไม่ได้ โดยได้ทำการอธิบายรูปพรรณจากซากของฟันที่ขุดค้นได้ในเท็กซัสเมื่อ ค.ศ. 1990 (ต่อมามีการค้นพบชิ้นส่วนเพิ่มเติมที่แคนาดาและโคโลราโด) Cretomanta มีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกันกับ Aquilolamna หากว่าพวกมันมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ก็เป็นไปได้ว่าทั้งสองสกุลนี้จะอยู่ในวงศ์เดียวกัน[4][5]

ลักษณะ

Aquilolamna แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง อันทำให้มันไม่เหมือนฉลามใด ๆ ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังคงมีชีวิตอยู่ โดยมีลำตัวเป็นทรงกระสวยและหางที่ลักษณะคล้ายกับฉลามส่วนใหญ่ แต่มีครีบอกที่ยาวเป็นพิเศษจนมีลักษณะคล้ายปีก ความกว้างจากปลายครีบข้างหนึ่งไปยังอีกข้างมีความยาวมากกว่าลำตัว กอปรกับส่วนหัวที่มีความกว้าง จึงนำไปสู่สมมติฐานที่ว่า Aquilolamna เป็นสัตว์ที่กรองแพลงก์ตอนกินเป็นอาหาร และเกิดข้อเสนอแนะว่ารูปร่างที่คล้ายกับกระเบนราหูเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า ซึ่งปรากฏขึ้นในปลากระเบนในอีกหลายล้านปีต่อมา ตามบันทึกซากดึกดำบรรพ์ แต่มีข้อแตกต่างที่กระเบนราหูใช้การ "โผบิน" ไปในน้ำด้วยการกระพือครีบ แต่ Aquilolamna ใช้การ "ร่อน" ไปในน้ำอย่างเชื่องช้า โดยมีครีบอกที่เรียวยาวช่วยในการทรงตัวและมีครีบหางขับเคลื่อน[1][6]

การค้นพบ

มีการอธิบายลักษณะของ Aquilolamna จากตัวอย่างชิ้นหนึ่งที่ถูกคงสภาพไว้อย่างดี มีทั้งโครงกระดูกในสภาพสมบูรณ์และส่วนที่อาจเป็นรอยกดบนผิวหนัง ตัวอย่างนี้ถูกค้นพบใน ค.ศ. 2012 โดยคนงานเหมืองไม่ทราบชื่อที่ทำงานในวัลเลซิลโล รัฐนวยโวเลออง ประเทศเม็กซิโก ตัวอย่างนั้นได้กลายมาเป็นจุดสนใจของมาร์การิโต กอนซาเลซ กอนซาเลซ (Margarito González González) นักบรรพชีวินวิทยาในพื้นที่ ผู้ซึ่งเก็บรวบรวมและจัดเตรียมตัวอย่าง ตลอดหลายปีถัดมา มันได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในการสัมมนาทางบรรพชีวินวิทยาหลายครั้ง และในที่สุดก็ได้มีการอธิบายลักษณะใน ค.ศ. 2021[3]

นิเวศวิทยาบรรพกาล

ภาพร่างดินสอของ Aquilolamna

เป็นไปได้ว่า Aquilolamna อาศัยอยู่บริเวณทะเลเปิดในช่วงทูโรเนียน (Turonian) ของยุคครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 93 ล้านปีก่อน ชั้นหินอากวานวยวาที่พบฟอสซิลเชื่อว่าประกอบขึ้นจากตะกอนที่ทับถมกันอยู่บริเวณขอบนอกของไหล่ทวีปส่วนตื้น[7] Aquilolamna อาจมีถิ่นอาศัยร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานทะเล เช่น Mauriciosaurus ในวงศ์ Polycotylidae, แอมโมไนต์, และปลากระดูกแข็งอีกหลายชนิด อาทิ Vallecillichthys ในอันดับ Ichthyodectiformes และ Goulmimichthys กับ Araripichthys ในอันดับ[7] Crossognathiformes ผู้ล่าขั้นสูงสุดในระบบนิเวศที่ Aquilolamna อาศัยอยู่ เป็นไปได้ว่าคือ Cretoxyrhina ซึ่งเป็นฉลามขาวขนาดใหญ่ พงศ์พันธุ์ของ Aquilolamna อาจสูญพันธุ์ไปหลังจากการลดจำนวนของแพลงก์ตอน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการกลายเป็นกรดของมหาสมุทรในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน ซึ่งในเวลาต่อมา กระเบนนกและกระเบนชนิดอื่น ๆ ได้เข้ามาแทนที่บทบาททางนิเวศวิทยา (ecological niche) ที่เหลือจากการสูญพันธุ์[1][6]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย