2 ซามูเอล 6

2 ซามูเอล 6 (อังกฤษ: 2 Samuel 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่สองของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 6 ของ 2 ซามูเอลประกอบด้วยเรื่องราวรัชสมัยดาวิดในเยรูซาเล็ม[5][6] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 2 ซามูเอล 28 ซึ่งเล่าถึงยุคทีดาวิดก่อตั้งอาณาจักร[7]

2 ซามูเอล 6
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์10

ต้นฉบับ

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรค

พยานต้นฉบับ

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 2–18[9][10][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

  • 2 ซามูเอล 6:1–11: 1 พงศาวดาร 13:1–14[15]
  • 2 ซามูเอล 6:12-23: 1 พงศาวดาร 15:1-29; 1 พงศาวดาร 16:1-3[15]

สถานที่

สถานที่ที่กล่าวถึงในบทนี้

วิเคราะห์

บทนี้มีโครงสร้างดังต่อไปนี้:[16]

A. ดาวิดรวบรวมประชาชนเพื่อนำหีบแห่งพันธสัญญา: การเฉลิมฉลองเริ่มต้น (6:1–5)
B. บทคั่น: การเสียชีวิตของอุสซาห์ การเฉลิมฉลองถูกระงับ (6:6–11)
C. หีบแห่งพันธสัญญาเข้านครดาวิด: ความยินดีและเครื่องบูชา (6:12–15)
B'. บทคั่น: มีคาลดูหมิ่นดาวิด (6:16)
A'. การรับหีบแห่งพันธสัญญา: ดาวิดอวยพรประชาชนและประชาชนกลับไปบ้าน (6:17–19)
บทส่งท้าย การเผชิญหน้าระหว่างมีคาลและดาวิด (6:20–23)

ศูนย์กลางของเรื่องเล่าคือการเข้ามาในนครดาวิดของหีบแห่งพันธสัญญาพร้อมด้วยพิธีการทางศาสนาอย่างเหมาะสม บทสรุป (A') คือการที่ดาวิดอวยพรประชาชนใน "ในพระนามของพระยาห์เวห์จอมทัพ" (วรรค 18) ซึ่งเคยกล่าวถึงเมื่อจุดเริ่มต้นของการเฉลิมฉลอง (A; วรรค 2) โครงสร้าง A C A' เปี่ยมด้วย 'ภาษาเฉลิมฉลอง' ซึ่งไม่ปรากฏใน 'บทคั่น' และ 'บทส่งท้าย'[16]

การนำหีบแห่งพันธสัญญา (6:1–11)

หีบแห่งพันธสัญญาเข้าเยรูซาเล็ม (6:12–23)

ดูเพิ่ม

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 ซามูเอล 4, 1 ซามูเอล 5, 1 ซามูเอล 6, 1 ซามูเอล 7, 1 พงศาวดาร 12, 1 พงศาวดาร 13, 1 พงศาวดาร 15, 1 พงศาวดาร 16, สดุดี 132
  • หมายเหตุ

    อ้างอิง

    บรรณานุกรม

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล

    ทั่วไป

    แหล่งข้อมูลอื่น

    🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย