20 ถนนเฟนเชิร์ช

20 ถนนเฟนเชิร์ช (อังกฤษ: 20 Fenchurch Street) เป็นตึกระฟ้าเชิงพาณิชย์ในลอนดอน ตั้งอยู่บนถนนเฟนเชิร์ชในย่านการค้าซิทีออฟลอนดอน ตึกนี้เป็นที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "เดอะวอล์คกีทอล์คที" (อังกฤษ: The Walkie-Talkie; แปลว่า วิทยุสื่อสาร) ซึ่งได้มาจากรูปร่างของอาคาร[3] การก่อสร้างอาคารเสร็จในปี 2014[4] มีความสูง 38 ชั้นที่ 160 เมตร นับตั้งแต่กรกฎาคม 2017 อาคารนี้เป็นของเครือลีคุมคี

20 ถนนเฟนเชิร์ช
20 ถนนเฟนเชิร์ช ถ่ายเมื่อปี 2015 จากซิทีฮอลล์
20 ถนนเฟนเชิร์ชตั้งอยู่ในเกรเทอร์ลอนดอน
20 ถนนเฟนเชิร์ช
ที่ตั้งภายในเกรเทอร์ลอนดอน
20 ถนนเฟนเชิร์ชตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
20 ถนนเฟนเชิร์ช
20 ถนนเฟนเชิร์ช (ประเทศอังกฤษ)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
สถาปัตยกรรมนีโอ-ฟิวเจอริสม์
ที่ตั้งลอนดอน, EC3
พิกัด51°30′41″N 0°05′01″W / 51.51139°N 0.08361°W / 51.51139; -0.08361
เริ่มสร้างมกราคม 2009
แล้วเสร็จเมษายน 2014[1]
เจ้าของลี คุม คี
ความสูง
หลังคา160 m (525 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น37 (+ 3 ชั้น "สวนลอยฟ้า")
พื้นที่แต่ละชั้นสำนักงาน: 668,926 ตารางฟุต (62,100 ตารางเมตร)[2]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกราฟาเอล วิโญลี
ผู้พัฒนาโครงการแลนด์ซีคีวริที และ คานารีวาร์ฟ
วิศวกรโครงสร้างฮอลโครวส์
ผู้รับเหมาก่อสร้างคานารีวาร์ฟคอนแทร็กเตอร์
รางวัลคาร์บันเคิลคัพ

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารคือ ราฟาเอล วิโญลี ด้วยมูลค่าก่อสร้าง £200 ล้าน ชั้นทางเข้าและชั้น 34 เป็นที่ตั้งของจุดชมวิว ส่วนบาร์และภัตตาคารอยู่ที่ชั้น 35 ถึง 37[5]

แปลนแรกของอาคารต้องการให้มีความสูงที่ 200 เมตร แต่ถูกลดขนาดลงมาด้วยความกังวลปัญหาทางทัศนียภาพต่ออาสนวิหารเซนต์พอลกับหอคอยลอนดอนซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกัน และได้รับการอนุมัติก่อสร้างในปี 2006 ที่ความสูงเท่าที่ก่อสร้างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการบดบังทัศนียภาพของเมืองยังคงดำรงอยู่ และเลขาธิการคณะกรรมการเพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น รูธ เคลลี ได้ให้โครงการจัดการรับฟังเสียงสาธารณะอีกครั้ง[6] กระทั่งในปี 2007 ซึ่งแปลนก่อสร้างสามารถดำเนินต่อไปและได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่[7] ในปี 2015 อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพสำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบได้ห่วยแตกที่สุดในสหราชอาณาจักรในรอบ 12 เดือน[8][9]

คำวิจารณ์

รางวัลคาร์บันเคิล

อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพในปี 2015 โดยนิตยสาร บิลดิงดีไซน์ สำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบห่วยแตกที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา[8][9][10] ในขณะที่นักผังเมืองประจำสถาบันผังเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอาคารเรียกขานอาคารนี้ว่าเป็น "เครื่องเตือนใจรายวัน[ทุกครั้งที่เดินผ่าน]ว่าโปรดอย่าปล่อยให้เกิดภัยพิบัติการวางแผนเช่นนี้ขึ้นอีก"[9]

ปัญหารังสีอาทิตย์

นับตั้งแต่ขณะอาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีผู้พบว่าเป็นเวลามากถึง 2 ชั่วโมงต่อวันที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงปะทะกับอาคารโดยจัง ส่วนอาคารซึ่งมีรูปร่างดังกล่าวก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกเว้าทำให้แสงเกิดการรวมและส่องโฟกัสลงไปบนท้องถนนทางใต้[11] ที่ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิบนถนนสูงถึง 91 องศาเซลเซียส (196 องศาฟาเรนไฮต์)[12] และ 117 องศาเซลเซียส (243 องศาฟาเรนไฮต์) เท่าที่มีการบันทึกไว้[13] ในช่วงฤดูร้อนปี 2013 มีการคำนวณระบุว่าแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกจากอาคารลงบนถนนมีความเข้มแสงสูงกว่าแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงถึง 6 เท่า และทำลายรถยนต์ที่จอดอยู่บนถนนด้านล่าง[14] ในจำนวนนี้รถคันหนึ่งซึ่งจอดบนถนนอีสชีพปรากฏส่วนบอดีของรถยนต์หลอมละลาย เจ้าของรถฟ้องร้องค่าเสียหายได้จำนวน £946 จากเจ้าของอาคาร นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวของซิทีเอเอ็ม จิม วอเทอร์ซัน ยังเคยสาธิตความร้อนบนถนนจากการรวมแสงนี้โดยการทอดไข่ในกะทะที่วางบนพื้นถนนออกโทรทัศน์[15] ร้านค้าที่อยู่บนถนนด้านล่างรายงานว่าพรมทางเข้าประตูของร้านค้าถูกเผาไหม้ จนอาคารได้รับฉายาจากสื่อว่า "วอล์กคี-สกอร์ชี" (Walkie-Scorchie, จากชื่อเล่น Walkie-Talkie; วิทยุสื่อสาร, ผสมคำว่า Scorch; ทำให้ไหม้เกรียม)[16][17][18] และ "ฟรายสเครเปอร์" (Fryscraper, จากคำว่า Skyscraper; ตึกระฟ้า, ผสมคำว่า Fry; ทอด)[11][19][20]

ในปี 2014 ได้มีการติดตั้งนั่งร้านถาวรบนชั้นสูง ๆ ของอาคารฝั่งใต้เพื่อแก้ปัญหานี้[21]

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร ราฟาเอล วิโญลี ยังคงเป็นผู้ออกแบบโรงแรมวาดาราในลาสเวกัสซึ่งประสบปัญหาการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่รุนแรงเหมือนอาคารนี้ จนโรงแรมนั้นได้รับขนานนามว่าเป็น "รังสีมรณะวาดารา" (Vdara death ray)[22] ที่ซึ่งต่อมาแก้ปัญหาโดยการติดฟิล์มกันสะท้อน[23]

สวนลอยฟ้า

สวนลอยฟ้าชั้น 36 - 38

สวนลอยฟ้า (Sky Garden) ที่ซึ่งเริ่มแรกระบุส่าจะเป็นจุดชมวิวจากยอดอาคาร มีพื้นที่กว้างสีเขียว และเปิดแก่วาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นเหตุผลที่ให้นักผังเมืองยินยอมให้สร้างอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ขึ้นบนชายขอบของพื้นที่อนุรักษ์ใจกลางลอนดอนเช่นนี้ ภาพเรนเดอร์จากคอมพิวเตอร์แสดงสวนประกอบไปด้วยต้นไม้เขียวสูงใหญ่ อย่างไรก็ตามสวนกลับออกมาเป็นเนินที่มีเฟิร์นกับพืชอวบน้ำแทน[24]

ปัจจุบันสวนลอยฟ้าเปิดให้เข้าชมต่อสาธารณะเป็นรอบ รอบละ 90 นาทีถึงเวลา 18:00 ซึ่งจะปิดต่อสาธารณะและเปิดให้บริการสำหรับลูกค้าของภัตตาคารและบาร์ด้านบนเท่านั้น[24]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย