1 ซามูเอล 3

1 ซามูเอล 3 (อังกฤษ: 1 Samuel 3) เป็นบทที่ 3 ของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนแรกของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 1 ถึง 7 ของ 1 ซามูเอลเล่าถึงชีวิตของซามูเอล บทที่ 2 เน้นไปที่การทรงเรียกซามูเอล[5] Gwilym Jones จัดประเภทของความในบทนี้อยู่ใน "ประเภทของเรื่องเล่าการทรงเรียกเพื่อเผยพระวจนะ" (the genre of prophetic-call narratives)[6]

1 ซามูเอล 3
1 ซามูเอล 4 →
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์9

ต้นฉบับ

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 21 วรรค

พยานต้นฉบับ

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1–4, 18–21[8][9][10][11]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[12][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

สถานที่ที่กล่าวถึงในบทนี้

ยุคสมัย

  • เหตุการณ์ในบทนี้เกิดขึ้นในช่วงท้ายของยุคผู้วินิจฉัยในอิสราเอล ราว 1,100 ปีก่อนคริสตกาล วรรค 1 ของบทนี้บ่งบอกว่าในสมัยนั้น นิมิตของของพระเจ้ามีไม่บ่อยนัก[15]

วิเคราะห์

บทที่ 3 มีความเชื่อมโยงกับบทที่ 2 ในหลายส่วน คำและสาระสำคัญบางส่วนในบทที่ 2 ได้มีการกล่าวซ้ำหรือสรุปความในบทที่ 3:[16]

หัวข้อ1 ซามูเอล 21 ซามูเอล 3
ซามูเอลปฏิบัติศาสนกิจเฉพาะพระพักตร์พระยาห์เวห์2:11, 183:1
ไม่รู้จักพระยาห์เวห์2:12 (บุตรชายของเอลี)3:7 (ซามูเอล)
การวินิจฉัยพงศ์พันธุ์ของเอลี2:10, 313:11
เอลีไม่ได้ห้ามปรามบุตรชาย2:29 (เปรียบเทียบกับ 2:23–24)3:13
ลบล้างหรือทูลขอไม่ได้2:25 ("ทูลขอ")3:14 ("ลบล้างเสีย...ไม่ได้ตลอดไป")
เครื่องสัตวบูชา/ของถวาย2:13, 15, 19, 293:14
พระเจ้าทรงส่งผู้สื่อสาร2:27–36 (คนของพระเจ้า)3:10–14 (ซามูเอล)

พระเจ้าทรงเรียกซามูเอล (3:1–14)

ซามูเอลเผยนิมิตแรก (3:15–21)

"ซามูเอลกล่าวกับเอลีถึงพระวินิจฉัยของพระเจ้าต่อพงศ์พันธุ์ของเอลี" ภาพจิตรกรรมโดยจอห์น ซิงเกิลทัน โคพลีย์ (ค.ศ. 1780)

ดูเพิ่ม

  • เครื่องสัตวบูชา
  • เอลี
  • โฮฟนีและฟีเนหัส
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 ซามูเอล 1, 1 ซามูเอล 2
  • หมายเหตุ

    อ้างอิง

    บรรณานุกรม

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล

    ทั่วไป

    แหล่งข้อมูลอื่น

    🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย