ไฟป่า

ไฟป่า (อังกฤษ: wildfire, brush fire, bushfire, forest fire, desert fire, grass fire, hill fire, peat fire, vegetation fire หรือ wildland fire) คือ เพลิงที่ไหม้อย่างเป็นอิสระในชนบทประเทศหรือถิ่นทุรกันดาร (wilderness area)[1][2] ไฟป่าต่างจากอัคคีภัยรูปแบบอื่น เพราะกินอาณาบริเวณกว้างขวาง, ลุกลามรวดเร็ว คาดเดายาก และบางครั้งสามารถไหม้ผ่านแม่น้ำ ถนน หรือแนวกันไฟได้ด้วย[3]

ไฟป่าอันเกิดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เพราะชาวบ้านจุดเพลิงกระตุ้นการเจริญเติบโตของเห็ดเผาะ เกษตรกรรมลักษณะนี้ทำกันบ่อยมากในภาคเหนือของไทย และก็ลุกลามเป็นไฟป่าดังนี้เสมอ

ไฟป่าเกิดได้ในทุกที่ ยกเว้นแอนตาร์กติกา ซากดึกดำบรรพ์และประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นเครื่องยืนยันความถี่ของไฟป่า และบ่งบอกว่า บางแห่งไฟป่าเกิดขึ้นมีกำหนดแน่นอน[4][5] ไฟป่าอาจสร้างความเสียหายใหญ่หลวงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ แต่เป็นประโยชน์ต่อพืชพันธุ์บางชนิด เช่น เห็ดเผาะ ซึ่งเจริญดีด้วยไฟ[4] อย่างไรก็ตาม ไฟป่าขนาดใหญ่ย่อมยังผลร้ายสู่ระบบนิเวศถ่ายเดียว[6]

ในแต่ละสมัย มีการคิดยุทธศาสตร์ป้องกันไฟป่ามากมาย แต่ผู้เชี่ยวชาญการควบคุมไฟป่าระหว่างประเทศกระตุ้นให้ช่วยกันพัฒนาและวิจัยมากกว่านี้[7] หนึ่งในเทคนิคการดับไฟป่าที่ถูกโต้แย้งมากที่สุด คือ การเผาคุม (controlled burn) หรือการยอมวางเพลิง เพื่อให้ไหม้ทำลายเชื้อเพลิงเสีย ทำนองใช้ไฟล้างไฟ[8][9]

ลักษณะ

เดิมคำ "wildfire" ในภาษาอังกฤษเป็นไวพจน์ของ "Greek fire" หรือ เพลิงกรีก อันเป็นชื่อเรียกเพลิงที่ใช้ปล่อยใส่คู่รบในสมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์ เพลิงกรีกนี้มีอานุภาพมากถึงขนาดที่ไหม้ได้แม้ในน้ำ ทั้งนี้ เพราะคำว่า "wild" นอกจากหมายความว่า ป่า แล้ว ยังหมายความว่า ป่าเถื่อน ก็ได้ แต่บัดนี้ คำ "wildfire" ใช้หมายถึงไฟป่าเท่านั้น[2]

ไฟป่าหมายเอาเพลิงที่เกิดในทุ่งหญ้า, ป่าไม้, ป่าพุ่ม, ป่าละเมาะ, ป่าหินเลน (peatland) และบริเวณอื่นที่ป่าชุก และมีแหล่งเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟ อนึ่ง ไฟป่าอาจลามไปยังสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ก็ได้

สาเหตุของไฟป่านั้นมีมากหลาย แต่ผลลัพธ์ของมันนั้นมีเพียงหนึ่ง คือ ความเสียหายเป็นวงกว้าง ไฟป่าลุกลามและร้ายแรงได้มากถ้ามีเชื้อเพลิงและอากาศเป็นปัจจัยเกื้อหนุน[10][11][12] ไฟป่าอาจมหึมาจนควบคุมมิได้ เพราะมีประวัติว่าใหญ่โตถึงขนาดทำลายอาณาบริเวณตั้งแต่ 0.4 ถึง 400 ตารางกิโลเมตรมาแล้ว และแน่นอนว่า ไฟป่าสามารถใหญ่โตได้มากกว่านี้ ขณะเดียวกัน ไฟป่าก็อาจเล็กราว ๆ 0.0010 ตารางกิโลเมตร หรือน้อยกว่าก็ได้[13][14][15] ไฟป่าขนาดเล็กมักไม่เป็นที่สนใจของสื่อมวลชน นักวิชาการเห็นว่านี้เป็นปัญหาอย่างยิ่ง เพราะการที่สื่อนำเสนอแต่ไฟป่าขนาดใหญ่นั้น มีอิทธิพลเป็นอันมากต่อนโยบายสาธารณะด้านไฟป่า ซึ่งควรหมายถึงไฟป่าไม่ว่าจะป่าเล็กหรือป่าใหญ่[16][17][18]

สาเหตุ

ไฟป่าอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติเพราะเหตุสี่ประการ คือ ฟ้าผ่า, ภูเขาไฟระเบิด, ประกายไฟจากหินถล่ม และสันดาปเอง (spontaneous combustion)[19][20] อนึ่ง ถ่านหินจำนวนมากที่อยู่ใต้พิภพรอบโลก เช่น ที่ในเซนทราเลีย, เขาเบิร์นนิง และประเทศจีน บางคราวก็ประทุและติดเพลิงให้แก่วัตถุไวไฟใกล้เคียงได้[21]

ไฟป่าส่วนใหญ่นั้นเกิดเพราะมนุษย์ ตั้งแต่ลอบวางเพลิง, ทิ้งบุหรี่เรื่อยเปื่อย, ประกายไฟจากอุปกรณ์ ไปจนถึงกระแสพลังงานในการเชื่อมโลหะ[22][23] การทำไร่เลื่อนลอย (shifting cultivation) ซึ่งเตรียมดินโดยวิธีถางแล้วเผา (slash and burn) นั้น แม้ประหยัดที่สุด แต่ก็เป็นสาเหตุของไฟป่าได้[24][25] เช่นเดียวกับการโค่นไม้ (logging) ที่จะเพิ่มจำนวนเชื้อเพลิงในป่า อุทาหรณ์เด่นชัดที่สุด คือ ไฟป่าอันเกิดทุกปีในเวียดนามใต้ มีสาเหตุประการหนึ่งถอยหลังไปถึงในสงครามเวียดนาม ที่กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดพื้นที่ แล้วทำลายป่าด้วยเคมี ระเบิด และเครื่องจักรกล[26]

อย่างไรก็ดี เหตุไฟป่านั้นย่อมแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ฟ้าผ่าเป็นปัจจัยหลักของการติดเพลิง ส่วนในแม็กซิโก, อเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, ฟิจิ และนิวซีแลนด์ ไฟป่าเกิดเพราะกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เช่น การบำรุงพันธุ์สัตว์ (animal husbandry), เกษตรกรรม และการปรับปรุงดินด้วยการเผา อนึ่ง ในท้องที่อื่น ๆ ของจีน ความเลินเล่อของมนุษย์ก่อไฟป่าบ่อยครั้ง และในออสเตรเลีย ไฟป่าเกิดเพราะฟ้าผ่าและพฤติกรรมของมนุษย์พอ ๆ กัน โดยเฉพาะการทิ้งบุหรี่ไปเรื่อย และประกายไฟจากเครื่องกล[5]

ผลกระทบจากสภาพอากาศ

ไฟป่าอาจเกิดง่ายขึ้น เมื่อมีอากาศเกื้อหนุน ปัจจัยทางอากาศที่ก่อไฟป่าขนาดใหญ่นั้นรวมถึง คลื่นความร้อน, ความแห้งแล้ง, ความเปลี่ยนแปลงของอากาศเป็นวงรอบ อาทิ เอลนีโญ, ตลอดจนลักษณะอากาศประจำถิ่น เช่น ลิ่มความกดอากาศสูง[27][28]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย