ไซฟอน

ไซฟอน[A](อังกฤษ: Psiphon) เป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ซเพื่อใช้หลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ปลอดภัยและทำให้คลุมเครือรวมทั้งเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (วีพีเอ็น), Secure Shell (เอสเอสเอช), และ HTTP/SOCKS Proxy[2]ไซฟอนจะต่อกับเครือข่ายพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เป็นพัน ๆ ที่กระจายไปทั่วโลกและจัดการบริหารแบบรวมศูนย์ โดยโครงสร้างพื้นฐานส่วนมากจะเป็นบริการแบบกลุ่มเมฆ ซึ่งโดยปี 2015 สามารถให้บริการต่อผู้ใช้ถึง 2 ล้านคนต่อวัน[3] การสื่อสารจะส่งผ่านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียวเพื่อความรวดเร็วโดยเข้ารหัสลับ ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถตรวจดูข้อมูลการสื่อสารได้[4]บริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมฟรีเป็นการส่วนตัวโดยไม่ให้ใช้เพื่อการค้า แต่ผู้ใช้ก็สามารถติดต่อบริษัทเพื่อรับบริการที่เสียค่าใช้จ่ายได้[5]ในปี 2011 องค์การนอกภาครัฐฟรีดอมเฮาส์ได้จัดไซฟอนเป็นอุปกรณ์หลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งดีเป็นอันดับ 1 เมื่อพิจารณาค่าวัดในแล็บเท่านั้น และดีเป็นอันดับ 2 เมื่อรวมความเห็นของผู้ใช้ในประเทศต่าง ๆ ด้วย[B][7]

ไซฟอน (Psiphon)
นักพัฒนาบริษัทไซฟอน, the Citizen Lab
วันที่เปิดตัว2004
รุ่นเสถียร
วินโดวส์3.0 / 18 ธันวาคม 2016; 7 ปีก่อน (2016-12-18)
แอนดรอยด์172 / 23 กุมภาพันธ์ 2018; 6 ปีก่อน (2018-02-23)
ไอโอเอส1.1.0 / 16 สิงหาคม 2017; 6 ปีก่อน (2017-08-16)
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แอนดรอยด์ ไอโอเอส
ขนาด
  • วินโดวส์ - 6 MB
  • แอนดรอยด์ - 7.9 ~ 8.4 MB
ประเภทการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต
สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู
เว็บไซต์psiphon.ca

โปรแกรมผู้ใช้มีให้เลือกสำหรับระบบปฏิบัติการยอดนิยมต่าง ๆ และสามารถส่งข้อมูลสำหรับโปรแกรมหลายประเภทรวมทั้งเว็บเบราว์เซอร์ วิดีโอแบบส่งต่อเนื่อง และการส่งข้อมูลของแอ็ปโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมออกแบบให้ใช้ง่ายคือสามารถดำเนินงานได้เลยโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไร ๆ[3]

ไซฟอนออกแบบโดยตรงเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในประเทศที่พิจารณาว่าเป็น "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต"[8]บริษัทไซฟอนเป็นผู้พัฒนาและบำรุงรักษารหัสต้นฉบับและยังเป็นผู้ดำเนินการระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถหลีกเลี่ยงระบบกรองเนื้อหาที่ใช้โดยรัฐบาลเพื่อเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

ไอเดียเบื้องต้นเกี่ยวกับไซฟอนมาจาก Citizen Lab ที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต[9]ในปี 2007 จึงมีการตั้งบริษัทไซฟอนขึ้นต่างหากในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา เพื่อพัฒนาระบบและเทคโนโลยีโดยยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในโปรเจ็กต์งานวิจัยต่าง ๆ[10]

ไซฟอนมี 3 รุ่นซึ่งเป็นโปรเจ็กต์โอเพนซอร์ซที่ต่างกันแต่ก็ยังเกี่ยวข้องกัน

  • 3.0 - เป็นระบบสร้างอุโมงค์เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆ[11]
  • 2.0 - เป็นระบบพร็อกซีเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆ[12]
  • 1.0 - เป็นซอฟต์แวร์เริ่มต้นที่ไม่ได้บำรุงรักษาต่อไปแล้ว[13]

การดำเนินการ

ไซฟอนเป็นอุปกรณ์หลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (วีพีเอ็น), Secure Shell (เอสเอสเอช), และ HTTP/SOCKS Proxy[2]และประกอบด้วยโปรแกรมผู้ใช้/โปรแกรมลูกข่ายบวกกับเครือข่ายเซิฟเวอร์ที่โปรแกรมลูกข่ายสื่อสารด้วย ตราบที่โปรแกรมสามารถติดต่อกับเครือข่ายได้ ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ได้[14]โปรแกรมผู้ใช้จะเรียนรู้เลขที่อยู่ไอพีใหม่ ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ภายในเครือข่ายเพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการถูกบล็อกไม่ให้เข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่อาจถูกเซ็นเซอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้การสื่อสารจะเข้ารหัสลับและมีการพิสูจน์ตัวจริงของเซิฟเวอร์ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวออนไลน์ และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย[2][4][15]อีกทั้งบริษัทก็จะบันทึกข้อมูลการสื่อสารเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้งการสืบหาปัญหาและการวิเคราะห์การใช้[15]บริษัทแนะนำให้ใช้ทอร์ถ้าผู้ใช้ต้องการความเป็นส่วนตัว/สภาพนิรนามทางอินเทอร์เน็ต[4]

ในระบบวินโดวส์ เมื่อเริ่มใช้โปรแกรม โปรแกรมจะเชื่อมกับเครือข่ายเองโดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถเลือกการเชื่อมต่อแบบวีพีเอ็น (L2TP over IPSec) หรือเอสเอสเอช หรือเอสเอสเอชพลัส[2](ซึ่งสื่อสารแบบสร้างความคลุมเครือเพื่อป้องกันการระบุโพรโทคอล โดยเป็นโหมดที่เลือกโดยปริยาย[16]) เมื่อโปรแกรมติดต่อกับเครือข่ายได้ ก็จะแสดงไอคอนการเชื่อมต่อเป็นสีเขียว[2]

เมื่อใช้ในโหมดวีพีเอ็น การสื่อสารกับอินเทอร์เน็ตทั้งหมดจะส่งผ่านอุโมงค์ที่วิ่งผ่านเครือข่าย ในโหมดเอสเอสเอชหรือเอสเอสเอชพลัส โปรแกรมจะตั้งค่าพร็อกซีของระบบวินโดวส์โดยอัตโนมัติ และโปรแกรมที่ใช้ค่าพร็อกซีเช่นนี้ทั้งหมด (เช่น เว็บเบราว์เซอร์ต่าง ๆ) ก็จะส่งผ่านอุโมงค์เช่นกัน โดยผู้ใช้สามารถเลือกแบ่งส่งการสื่อสารไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกประเทศผ่านเครือข่าย แต่ส่งการสื่อสารภายในประเทศไปยังเซิร์ฟเวอร์โดยตรง[2]

เมื่อปิดโปรแกรม โปแกรมจะเลิกการเชื่อมต่อและคืนค่าพร็อกซีของระบบวินโดวส์ให้เหมือนเดิม[2]

โปรแกรมผู้ใช้เป็นไฟล์ ๆ เดียวที่สามารถดาวน์โหลดและตรวจสอบว่าเป็นของแท้ได้ ในระบบวินโดวส์ ไฟล์ .exe ที่ดาวน์โหลดจะเซ็นชื่อแบบดิจิทัลโดยบริษัท ซึ่งนอกจากระบบวินโดวส์จะตรวจสอบลายเซ็นโดยอัตโนมัติแล้ว ผู้ใช้ก็ยังสามารถตรวจสอบลายเซ็นเองได้ด้วย[17]เนื่องจากเป็นไฟล์ ๆ เดียว จึงไม่มีการติดตั้งและไม่ต้องถอนการติดตั้ง ผู้ใช้สามารถลบไฟล์ที่ดาวน์โหลดออกได้เลย[18]ส่วนในระบบแอนดรอยด์ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดก็เซ็นชื่อแบบดิจิทัลด้วยเช่นกัน แต่ผู้ใช้อาจต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อตรวจสอบ[19]ในระบบทั้งสอง อัปเดตของโปรแกรมจะดาวน์โหลดและเช็คความเป็นของแท้โดยอัตโนมัติ[17][19]ตราบเท่าที่โปรแกรมที่ดาวน์โหลดเป็นของแท้ จะไม่มีใครสามารถปลอมตัวเป็นเซิฟเวอร์ในเครือข่ายที่โปรแกรมผู้ใช้เชื่อมต่อด้วยได้ เพราะโปรแกรมไม่ได้อาศัย Certificate authority ทั่ว ๆ ไป[20]

ในระบบไอโอเอส ไซฟอนเป็นเพียงแบราว์เซอร์ที่ส่งการสื่อสารสำหรับแบราว์เซอร์ผ่านเครือข่ายไซฟอน แต่โปรแกรมอื่น ๆ ก็จะคงส่งการสื่อสารผ่านระบบไอโอเอสโดยปกติ[21]

การเก็บข้อมูลผู้ใช้

บริษัทจะบันทึกข้อมูลการสื่อสารเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้ง[15]

  • บันทึกข้อมูลเพิ่มเพื่อแก้ปัญหา เมื่อทำการนี้ บริษัทจะประกาศในเว็บเพจกระดานข่าวของบริษัท
  • บริษัทโฆษณาจะติดตามการใช้เว็บเพื่อให้แสดงโฆษณาโดยเฉพาะ ๆ ได้ ผู้ใช้สามารถขอไม่ให้ติดตามการใช้
  • เว็บไซต์ของบริษัทใช้บริการของกูเกิล แอนะลิติกส์ ซึ่งเก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บเพจต่าง ๆ
  • ระบบใช้บริการเก็บข้อมูลของ Amazon S3 ซึ่งบริษัทสามารถใช้บันทึกการดาวน์โหลดเพื่อวิเคราะห์การใช้และแก้ปัญหาต่าง ๆ แอมะซอน มีบันทึกข้อมูลของเลขที่อยู่ไอพีและเวลาที่ดาวน์โหลดไฟล์เป็นต้น ซึ่งทั้งแอมะซอนและบริษัทไซฟอนเองก็สามารถเข้าถึงได้
  • เซิร์ฟเวอร์ของบริษัทมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น จำนวนข้อความอีเมลที่ดาวน์โหลดเป็นต้น
  • บริษัทเก็บข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ เมื่อมีการเชื่อมต่อแบบวีพีเอ็น

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย