โอวาทปาติโมกข์

(เปลี่ยนทางจาก โอวาทปาฏิโมกข์)

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ โอวาทปาฏิโมกข์นั้นถ้าเปรียบในสมัยนี้คงเปรียบได้กับการกำหนดพันธกิจขององค์กรต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการกำหนดพันธกิจให้กับพระสงฆ์สาวกทั้งปวงหรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนา(แนวทางการปฏิบัติ)ก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ผู้ศีลบริสุทธิ์ตลอด 20 พรรษาแรก ในครั้งสุดท้าย มีภิกษุผู้ทุศีล เข้าร่วมประชุม พระพุทธเจ้าทรงประกาศให้ออกจากที่ประชุม ภิกษุผู้ทุศีลไม่ยอมออกจากที่ประชุม พระโมคคัลลาฯจึงบังคับให้ออกจากที่ประชุม หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์","ภิกษุปาฏิโมกข์" กันเอง โดยพระพุทธองค์ไม่ทรงเข้าร่วมอีก และได้แสดงให้พระภิกษุเห็นซึ่งก็คือพระอรหันต์เพราะพระอรหันต์คือสถานะก่อนเข้าสู่ " พระภิกษุ " )

พระพุทธรูปปางทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร

บทโอวาทปาฏิโมกข์

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,การไม่ทำบาปทั้งปวงอาการทั้งปวง,

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร,การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง,ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ความหมายของโอวาทปาติโมกข์

โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเพียงเรื่องเดียวว่าเป็น(หัวใจของพระพุทธศาสนา) อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน[1] คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

พระพุทธพจน์คาถาแรก

ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันว่าเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่

  1. การไม่ทำชั่วทั้งปวง
  2. การทำความดีให้ถึงพร้อม
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง

ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ขันติ นิพพาน อหิงสา สันติ

  1. ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
  2. การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
  3. พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียนทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
  4. พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลายมีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม

หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6

  1. การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
  2. การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
  3. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
  4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
  5. นั่งนอนในที่อันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
  6. ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจให้ยิ่งด้วยสมถะและวิปัสสนาเสมอ )

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พระสุตตันตปิฎก เล่ม 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
  2. อรรถกถา มหาปทานสูตร
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย