โมลนูพิราเวียร์

สารประกอบเคมี

โมลนูพิราเวียร์, อังกฤษ: Molnupiravir (รหัสการพัฒนา MK-4482 และ EIDD-2801) เป็นยาต้านไวรัสทดลองซึ่งออกฤทธิ์โดยการให้ทางปาก ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเป็นโปร-ดรักของอนุพันธ์ของ เอ็น4-ไฮดรอกซีไซติดีน (N4-hydroxycytidine ของนิวคลีโอไซด์สังเคราะห์ และออกฤทธิ์ต้านไวรัสโดยการนำข้อผิดพลาดในการคัดลอกระหว่างการจำลองแบบของไวรัสอาร์เอ็นเอ[1][2] นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนา เช่น ซาร์ส, เมอร์ส และ SARS-CoV-2[3]

โมลนูพิราเวียร์
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่นMK-4482, EIDD-2801
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • US: Investigational drug
ตัวบ่งชี้
  • ((2R,3S,4R,5R)-3,4-dihydroxy-5-(4-(hydroxyimino)-2-oxo-3,4-dihydropyrimidin-1(2H)-yl)tetrahydrofuran-2-yl)methyl isobutyrate
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
UNII
KEGG
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC13H19N3O7
มวลต่อโมล329.31 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
SMILES
  • CC(C)C(=O)OC[C@@H]1[C@H]([C@H]([C@@H](O1)N2C=CC(=NC2=O)NO)O)O
InChI
  • InChI=1S/C13H19N3O7/c1-6(2)12(19)22-5-7-9(17)10(18)11(23-7)16-4-3-8(15-21)14-13(16)20/h3-4,6-7,9-11,17-18,21H,5H2,1-2H3,(H,14,15,20)/t7-,9-,10-,11-/m1/s1
  • Key:HTNPEHXGEKVIHG-QCNRFFRDSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม

ยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยเอมอรี (Emory University) โดย บริษัทนวัตกรรมยา ไดร์ฟ (Drug Innovation Ventures at Emory; DRIVE) ของทางมหาวิทยาลัย จากนั้นถูกซื้อสิทธิ์โดยบริษัท ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ (Ridgeback Biotherapeutics) ซึ่งตั้งอยู่ในไมอามี และได้ร่วมมือกับบริษัทเมอร์ค (Merck & Co.) ในการพัฒนายาต่อไป

ข้อวิจารณ์เรื่องความปลอดภัย

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 การแจ้งเบาะแสโดย ริค ไบรท์ (Rick Bright) อดีตหัวหน้าสำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) เปิดเผยความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาโมลนูพีราเวียร์ต่อไป เนื่องจากยาที่คล้ายคลึงกันพบว่ามีคุณสมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ (ทำลายดีเอ็นเอ)[4] บริษัท (ที่ปิดตัวลงแล้ว) ฟาร์มาสเซ็ต (Pharmasset) ซึ่งตรวจสอบสารออกฤทธิ์ของยาได้ยกเลิกการตรวจสอบ แต่ข้อเรียกร้องเหล่านี้ถูกปฏิเสธโดยจอร์จ เพนเตอร์ (George Painter) ประธานบริหารของไดร์ฟ (DRIVE) โดยให้ข้อสังเกตว่าได้มีการเผยแพร่ผลศึกษาความเป็นพิษของโมลนูพิราเวียร์ และให้ข้อมูลแก่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐและสหราชอาณาจักร ซึ่งอนุญาตให้มีการศึกษาด้านความปลอดภัยในมนุษย์เพื่อดำเนินการพัฒนาต่อในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2563 นอกจากนั้นบริษัท ไดร์ฟ และริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ยังระบุว่าในอนาคตมีแผนที่จะศึกษาความปลอดภัยในสัตว์[5]

โควิด-19

หลังจากพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการทดสอบโมลนูพิราเวียร์ในการศึกษาเบื้องต้นในมนุษย์เรื่อง "ความปลอดภัย, ความทนทานต่อยา และเภสัชจลนศาสตร์" ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ[6] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 บริษัทริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ประกาศว่าจะเริ่มต้นทดลองในระยะที่ 2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในการรักษาโควิด-19[7] การทดลองสองครั้งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและที่ไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในสหรัฐและสหราชอาณาจักรดำเนินการในเดือนกรกฎาคม[8][9] ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยที่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์ใด ๆ บริษัทเมอร์ค ซึ่งเป็นพันธมิตรกับริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ในการพัฒนายาได้ประกาศความตั้งใจที่จะเริ่มการทดลองขั้นสุดท้ายของยาโมลนูพิราเวียร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[10] เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เมอร์คเริ่มการทดลองระยะที่ 2/3 เป็นเวลา 1 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[11]

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่บทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ เกี่ยวกับผลการศึกษาของการรักษาเฟร์ริตที่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์[12] จากการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพ "เมื่อให้ทางปากกับเฟร์ริตที่ติดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสระหว่างเฟร์ริตหลังจาก 24 ชั่วโมงภายหลังการให้ยา

อ้างอิง


🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย