โดโรธี ฮอดจ์กิน

โดโรธี แมรี ฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Dorothy Mary Hodgkin; 12 พฤษภาคม ค.ศ. 191029 กรกฎาคม ค.ศ. 1994) หรือ โดโรธี โครว์ฟุต ฮอดจ์กิน (Dorothy Crowfoot Hodgkin) หรือ โดโรธี ฮอดจ์กิน (Dorothy Hodgkin) เป็นนักชีวเคมีชาวบริติช เป็นผู้พัฒนาเทคนิกผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์เพื่ออธิบายโครงสร้างสารชีวโมเลกุล เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี ค.ศ. 1964

โดโรธี ฮอดจ์กิน
โดโรธี ฮอดจ์กิน
เกิดโดโรธี แมรี โครว์ฟุต
12 พฤษภาคม ค.ศ. 1910(1910-05-12)
ไคโร อียิปต์
เสียชีวิต29 กรกฎาคม ค.ศ. 1994(1994-07-29) (84 ปี)
อิลมิงตัน วอริกเชอร์ อังกฤษ
สัญชาติบริติช
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
  • พัฒนาวิธีผลิกศาสตร์โปรตีน
  • อธิบายโครงสร้างอินซูลิน
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกจอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
  • ทอม บลันเดลล์[3]
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ

ประวัติ

โดโรธี แมรี โครว์ฟุตเกิดที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1910 เป็นบุตรสาวของจอห์น วินเทอร์ โครว์ฟุตและเกรซ แมรี โครว์ฟุต (นามสกุลเดิม ฮูด) บิดามารดาของฮอดจ์กินเป็นนักโบราณคดีที่ทำงานในอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1921 ฮอดจ์กินเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมเซอร์จอห์น ลีแมนในเมืองเบคเคิลส์ ส่วนบิดามารดาของเธอย้ายไปทำงานที่เมืองคาร์ทูม ฮอดจ์กินสนใจด้านเคมีตั้งแต่เด็กและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เมื่ออายุได้ 18 ปี เธอเรียนต่อด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์)[4] ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 ฮอดจ์กินเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับเกียรตินี้[5]

ฮอดจ์กินเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และศึกษาคุณสมบัติของรังสีเอกซ์เพื่อใช้อธิบายโครงสร้างของโปรตีน เธอและอาจารย์ที่ปรึกษา จอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล เริ่มใช้วิธีนี้ในการศึกษาโครงสร้างของเปปซิน[6] ในปี ค.ศ. 1933 ฮอดจ์กินได้รับตำแหน่งนักวิจัยที่วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์และย้ายกลับไปออกซฟอร์ดในปีต่อมา เธอทำงานเป็นนักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเคมีที่วิทยาลัยจนถึงปี ค.ศ. 1977 มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงเช่น มาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร[7] ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 เธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิจัยวูล์ฟสันของราชสมาคมแห่งลอนดอน ฮอดจ์กินดำรงตำแหน่งนี้ถึงปี ค.ศ. 1970[8]

ฮอดจ์กินเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ค้นพบโครงสร้างชีวโมเลกุลสามมิติและพัฒนาเทคนิกผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์[9] โดยในปี ค.ศ. 1945 เธอกับซี. เอช. คาร์ลิเซิลตีพิมพ์ผลงานโครงสร้างของสารสเตียรอยด์ คอเลสเตอริลไอโอไดด์ ในปีเดียวกัน ฮอดจ์กินอธิบายโครงสร้างของเพนิซิลลิน แต่ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในอีก 4 ปีต่อมา[10] ในปี ค.ศ. 1948 เธอศึกษาวิตามินบี12 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถอธิบายโครงสร้างได้ ฮอดจ์กินประสบความสำเร็จในการอธิบายโครงสร้างของวิตามินบี12 โดยใช้รังสีเอกซ์ เธอตีพิมพ์ผลงานในปี ค.ศ. 1955[11] ผลงานนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1964[12] เป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับรางวัลนี้[8] ในปี ค.ศ. 1969 ห้าปีหลังจากได้รับรางวัลโนเบล ฮอดจ์กินพัฒนาเทคนิกรังสีเอกซ์จนสามารถใช้อธิบายโครงสร้างของอินซูลินได้สำเร็จ ผลงานชิ้นนี้เป็นงานที่เธอเริ่มไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934[13]

ด้านชีวิตส่วนตัว ฮอดจ์กินเคยมีความสัมพันธ์กับจอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอ[14] ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 เธอแต่งงานกับทอมัส ไลโอเนล ฮอดจ์กิน นักประวัติศาสตร์แอฟริกาและอาจารย์ที่ออกซฟอร์ด ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คนชื่อ ลุค, เอลิซาเบธและโทบี ฮอดจ์กินเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านในวอริกเชอร์ ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1994[15]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย