โจซอง

โจซอง (เสียชีวิตวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา ฉฺว่าง (จีน: 曹爽; พินอิน: Cáo Shuǎng) ชื่อรอง เจาปั๋ว (จีน: 昭伯; พินอิน: Zhāobó​) เป็นขุนพลและผู้สำเร็จราชการของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายคนโตของโจจิ๋นขุนพลคนสำคัญของวุยก๊ก ในตอนแรกโจจิ๋นมีอำนาจสูงสุดในวุยก๊กในฐานะมหาขุนพล แต่ภายหลังสูญเสียอำนาจให้แก่สุมาอี้ในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงและถูกประหารชีวิตฐานกบฏ

โจซอง (เฉา ฉฺว่าง)
曹爽
ผู้จัดการราชการสำนักราชเลขาธิการ
(錄尚書事 ลู่ช่างชูชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249
กษัตริย์โจฮอง
มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
19 มกราคม ค.ศ. 239 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249
กษัตริย์โจยอย / โจฮอง
ก่อนหน้าโจฮู
ขุนพลยุทธพิทักษ์
(武衛將軍 อู่เว่ย์เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – 19 มกราคม ค.ศ. 239
กษัตริย์โจยอย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a]
ลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนพล, ผู้สำเร็จราชการ
ชื่อรองเจาปั๋ว (昭伯)
บรรดาศักดิ์อู่อานโหว (武安侯)

ประวัติ

ราวปี ค.ศ. 239 เมื่อโจยอยจักรพรรดิวุยก๊กทรงพระประชวรหนัก พระองค์ตัดสินพระทัยจะส่งมอบราชบัลลังก์ต่อไปยังโจฮองพระโอรสบุญธรรม ตอนแรกพระองค์มีพระราชประสงค์จะมอบหมายให้โจฮูผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระองค์ให้ทำหน้าที่หัวหน้าผู้สำเร็จราชการช่วยเหลือโจฮอง โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการ ได้แก่ เซี่ยโหว เซี่ยน (夏侯獻), โจซอง, เฉา เจ้า (曹肇) และจีนล่ง แต่เล่าฮอง (劉放 หลิว ฟ่าง) และซุนจู (孫資 ซุน จือ) ขุนนางคนสนิทของจักรพรรดิโจยอยไม่ถูกกันกับเซี่ยโหว เซี่ยนและเฉา เจ้า เล่าฮองและซุนจูเกรงว่าเซี่ยโหว เซี่ยนและเฉา เจ้าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการจึงทูลโน้มน้าวจักรพรรดิโจยอยให้ตั้งโจซอง (ซึ่งเป็นมิตรกับทั้งคู่) และสุมาอี้ (ซึ่งเวลานั้นคุมทหารประจำการอยู่ที่อำเภอจี๋ (汲縣; อยู่ในนครซินเซียง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน)) ให้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมแทน ส่วนโจฮู, เซี่ยโหว เซี่ยน, เฉา เจ้า และจีนล่งถูกปลดจากการเป็นผู้สำเร็จราชการ ผลเป็นผลทำให้โจซองได้ขึ้นมามีอำนาจในช่วงท้ายของรัชสมัยจักรพรรดิโจยอย อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าโจซองไม่เหมาะสมกับหน้าที่สำคัญที่เขาได้รับมอบหมาย เมื่อโจยอยตรัสถามโจซองว่าตัวโจซองมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ โจซองรู้สึกประหม่าจนทูลไม่ออก เล่าฮองจึงเข้าไปกระซิบข้างหูโจซอง บอกโจซองให้ทูลว่า "ข้าจะรับใช้ราชวงศ์ตราบจนชีวิตหาไม่"[2]

โจซองและน้องชายคือโจอี้ (曹羲 เฉา ซี) และโจหุ้น (曹訓 เฉา ซฺวิ่น) กุมอำนาจยิ่งใหญ่ในวุยก๊กแม้ว่าตัวโจซองจะไร้ความสามารถ โจซองยังมักจะขัดแย้งกับสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมผู้มีอิทธิพลและการสนับสนุนมากกว่า ในปี ค.ศ. 243 ฐานะของสุมาอี้ยิ่งมั่นคงขึ้นจากความสำเร็จในการศึก เมื่อจูกัดเก๊กขุนพลของรัฐง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กส่งทหารไปยังฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) อย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการบุก สุมาอี้จึงนำทัพวุยก๊กไปยังอำเภอซีเสง (舒縣 ชูเซี่ยน) เมืองโลกั๋ง (盧江郡 หลูเจียงจฺวิ้น) ใกล้กับชายแดนวุยก๊ก-ง่อก๊ก เมื่อซุนกวนจักรพรรดิง่อก๊กทรงทราบข่าว จึงรีบมีรับสั่งให้จูกัดเก๊กถอยทัพไปที่อำเภอชีสอง (柴桑 ไฉชาง) เมืองอิเจี๋ยง (豫章郡 ยฺวี่จางจฺวิ้น) ชื่อเสียงและอิทธิพลของสุมาอี้จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังได้รับการสรรเสริญที่สามารถขับไล่ข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่า 100,000 นายให้ล่าถอยไปได้โดยไม่ต้องรบจึงสามารถรักษาชายแดนและช่วยฉิวฉุนจากการโจมตี โจซองรู้สึกว่าฐานะของตนยิ่งไม่มั่นคงจากชัยชนะของสุมาอี้ จึงโน้มน้าวจักรพรรดิโจฮองให้เลื่อนตำแหน่งสุมาอี้เป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) แม้ว่าจะดูเป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สุมาอี้ แต่แท้จริงแล้วตำแหน่งราชครูเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ที่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงในราชการทหาร

โจซองอยากจะมีชัยชนะในการศึกเพื่อเพิ่มชื่อเสียงให้กับตัวเอง จึงเลือกจ๊กก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊กเป็นเป้าหมายที่จะเอาชนะ โจซองนำกำลังทหารจำนวนมากกว่า 100,000 นาย[3] บุกเข้าอาณาเขตของจ๊กก๊กในเดือนมีนาคม ค.ศ. 244[4] แต่อีกสองเดือนต่อมา โจซองก็พ่ายแพ้ให้กับทัพจ๊กก๊กที่นำโดยอองเป๋งและบิฮุยในยุทธการที่ซิงชื่อจนต้องหนีกลับไปเตียงฮันอย่างแทบเอาชีวิตไม่รอด ชื่อเสียงและอิทธิพลของโจซองลดต่ำลงไปอีกหลังการพ่ายแพ้นี้ ขณะเดียวกันชื่อเสียงและอิทธิพลของสุมาอี้ก็เพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากสุมาอี้ได้คัดค้านการทัพครั้งนี้ตั้งแต่ต้น สุมาอี้ต้องการจะลวงโจซองไม่ให้ระแวงตน จึงหยุดกิจกรรมทางการเมืองไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 247 และลาออกจากราชการโดยอ้างว่าป่วย สุมาอี้แสร้งป่วยด้วยความชราภาพต่อไป ในปีเดียวกัน โจซองทำตามคำแนะนำของหลีซิน, เตงเหยียง และเตงปิดเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้[b]

ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 248 หลีซินขุนนางคนสนิทของโจซองได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักวุยก๊กให้เป็นข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว ก่อนที่หลีซินจะเดินทางออกจากลกเอี๋ยงไปรับตำแหน่งที่เกงจิ๋ว โจซองให้หลีซินไปตรวจสอบความเป็นไปของสุมาอี้ โจซองและผู้ติดตามยินดีอย่างมากเมื่อหลีซินกลับมารายงานว่าสุมาอี้ป่วยจริงและไม่ได้ยินสิ่งที่หลีซินพูด หลีซินรายงานว่าสุมาอี้ฟังคำว่า "เกงจิ๋ว" ผิดเป็น "เป๊งจิ๋ว" โจซองเห็นว่าสุมาอี้ไม่เป็นภัยคุกคามตนอีกต่อไปจึงเลิกระแวงสุมาอี้

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 โจซองและน้องชายสองคนคือโจอี้และโจหุ้นออกจากนครหลวงลกเอี๋ยงติดเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปสักการะบรรพชนที่สุสานโกเบงเหลง (高平陵 เกาผิงหลิง) หลังจากนั้นทั้งหมดก็ไปล่าสัตว์ภายนอกลกเอี๋ยง

ถูกประหารชีวิต

สุมาอี้และบุตรชายฉวยโอกาสนี้ก่อการรัฐประหารและเข้าควบคุมกำลังทหารที่ประจำการอยู่ในลกเอี๋ยง ลำดับแรกสุมาอี้ส่งผู้ร่วมก่อการไปเข้ายึดตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นของโจซองและน้องชาย ให้โกหยิวเข้ายึดตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู) แทนที่โจซอง ให้อองก๋วน (王觀 หวาง กวาน) เข้ายึดตำแหน่งเสนาบดีราชรถ (太僕 ไท่ผู) แทนที่โจอี้ จากนั้นสุมาอี้เข้าเฝ้ากวยทายเฮาและบังคับพระองค์ให้ออกพระเสาวนีย์ให้จับกุมโจซองและน้องชายในข้อหากบฏ

ฮวนห้อมที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจซองหลบหนีออกจากลกเอี๋ยงพร้อมด้วยตราประจำตำแหน่งมหาขุนพลและนำไปมอบให้โจซอง เวลานั้นสมาชิกครอบครัวของโจซองถูกจับเป็นตัวประกันในลกเอี๋ยง ทำให้โจซองอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกว่าควรจะยอมจำนนต่อสุมาอี้หรือไม่ แต่หลังจากสุมาอี้ให้คำมั่นว่าโจซองและครอบครัวจะไม่เป็นอันตราย โจซองจึงตัดสินใจยอมจำนนและสละอำนาจของตนให้กับสุมาอี้ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 หลังสุมาอี้ได้อำนาจมาแล้วก็กลับผิดสัญญาที่เคยให้กับโจซอง โดยให้จับกุมตัวโจซองและครอบครัวแล้วนำไปประหารชีวิตในข้อหากบฏ

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย