โกณารักสูรยมนเทียร

เทวสถานที่มีชื่อเสียงของอินเดีย

โกณารักสุรยมนเทียร (โอเดีย: କୋଣାର୍କ ସୂର୍ଯ୍ୟ ମନ୍ଦିର; Konark Surya Mandir) หรือ เทวสถานพระอาทิตย์โกณารัก (Konark Sun Temple) เป็นมนเทียรบูชาพระสูรยะ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตั้งอยู่ที่เมืองโกณารัก ราว 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทางนะวันออกเฉียงเหนือของปุรี บนชายฝั่งของรัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย[1][2] ผู้มีดำรัสสร้างคือพระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิคงคาตะวันออก ในราวปี 1250[3][4]

โกณารักสูรยมนเทียร
สูรยเทวาลัย / อารักเกษตร
อาคารหลักของสูรยมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปุรี
เทพพระสูรยะ
เทศกาลจันทรภาคเมลา
หน่วยงานกำกับดูแลASI
ที่ตั้ง
ที่ตั้งโกณารัก
รัฐรัฐโอฑิศา
ประเทศอินเดีย
โกณารักสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐโอริศา
โกณารักสูรยมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐโอริศา
โกณารักสูรยมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
โกณารักสูรยมนเทียร
โกณารักสูรยมนเทียร (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์19°53′15″N 86°5′41″E / 19.88750°N 86.09472°E / 19.88750; 86.09472
สถาปัตยกรรม
รูปแบบกลึงคะ
ผู้สร้างพระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่ง
เสร็จสมบูรณ์c. 1250
พื้นที่ทั้งหมด10.62 ha (26.2 เอเคอร์)
เว็บไซต์
konark.nic.in
ที่ตั้งโกณารัก, รัฐโอฑิศา, ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i)(iii)(vi)
อ้างอิง246
ขึ้นทะเบียน1984 (สมัยที่ 8)

หนึ่งลงในสิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลือในหมู่อาคารคือสูรยรถ (ราชรถพระสูรยะ) ความสูง 100-ฟุต (30-เมตร) ที่ซึ่งมีล้อและม้าสลักจากหินขนาดใหญ่ ที่ซึ่งในอดีตเคยมีความสูงถึง 200 ฟุต (61 เมตร)[1][5] ปัจจุบันส่วนใหญ่ของหมู่อาคารเหลือเพียงซากปรักหักพัง โดยเฉพาะศิขรเหนือมนเทียรหลัก ที่ซึ่งในอดีตเคยสูงกว่ามณฑปที่เหลืออยู่ สิ่งก่อสร้างและองค์ประกอบที่เหลืออยู่แสดงให้เห็นถึงงานศิลปะ ประติมานวิทยา และการแกะสลักที่วิจิตรตระการตา เช่นฉากที่แสดง กามะ และ มิถุน ในรูปอีโรติก อีกชื่อหนึ่งของมนเทียรนี้คือ สูรยเทวาลัย สถาปัตยกรรมของสูรยเทวาลัยนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของแบบโอฑิศา ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมกลึงคะ[1][6]

สิ่งที่ทำให้สูรยเทวาลัยถูกทำลายจนเหลือเพียงทุกวันนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์และยังคงเป็นที่ถกเถียง[7] มีผู้เสนอแนวคิดตั้งแต่ผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงการทำลายของกองทัพมุสลิมในศตวรรษที่ 15 ถึง 17[1][7] นักเดินทางชาวยุโรปได้เรียกเทวาลัยนี้ว่า "เจดีย์ดำ" (Black Pagoda) มีหลักฐานเก่าแก่ถึงปี 1676 ด้วยหอหลักเป็นสีดำ[6][8] ควบคู่ไปกับชคันนาถเทวาลัยที่ปุรีซึ่งถูกเรียกว่า "เจดีย์ขาว" (White Pagoda) เจดีย์ทั้งสองนี้เป็นจุดสังเกตสำคัญของผู้ล่องเรือมาตามอ่าวเบงกอล[9][10]

หมู่เทวาลัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการบูรณะบางส่วนโดยนักโบราณคดีชาวบริเตนในยุคอาณานิคม ในปี 1984 สูรยเทวาลัยโกณารักได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] ในปัจจุบันที่นี่ยังคงเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญของชาวฮินดูและเป็นหนึ่งในจุดหมายของเส้นทางจาริกที่มีขึ้นทุก ๆ ปีที่เรียกว่า จันทรภาคเมลา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์[6]

ศัพทมูล

คำว่า โกณารัก (Konark) มาจากการรวมคำภาษาสันสกฤตสองคำคือ โกณ (Kona; มุม/เทวดา) และ อารก (Arka; พระอาทิตย์)[9] ความหมายของ โกณ ในที่นี้นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจสื่อถึงตำแหน่งที่เป็นตะวันออกเฉียงใต้ของมนเทียรหรืออาจของสูรยมนเทียรอื่น ๆ ในอนุทวีป[11] ส่วนคำว่า อรกะ หมายถึงเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ของฮินดู พระสูรยะ[9]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย