แซตเทิร์น V

จรวดขนส่งหนักพิเศษแบบใช้ทิ้งสัญชาติสหรัฐ

แซตเทิร์น V[a] (อังกฤษ: Saturn V) เป็นจรวดขนส่งหนักพิเศษปลดประจำการสัญชาติสหรัฐ ซึ่งถูกพัฒนาโดยนาซาสำหรับภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ด้วยมนุษย์ในโครงการอะพอลโล แซตเทิร์น V เป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวสามท่อนที่ได้รับการประเมินความสามารถในการใช้ขนส่งมนุษย์ ประจำการระหว่างปี ค.ศ. 1967 ถึง 1973. สำหรับภารกิจส่งมนุษย์สู่ดวงจันทร์เก้าครั้ง และใช้ในการส่งสถานีอวกาศสกายแล็บขึ้นสู่วงโคจร

แซตเทิร์น V
การส่งขึ้นในภารกิจอะพอลโล 11บนจรวด แซตเทิร์น V เอสเอ-506, 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969
หน้าที่
ผู้ผลิต
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ต้นทุนโครงการ$6.417 พันล้าน ตามมูลค่าปี ค.ศ. 1964–1973[1] (~$49.9 พันล้าน ตามมูลค่าปี ค.ศ. 2020)
ค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบิน$185 ล้าน ตามมูลค่าปี ค.ศ. 1969–1971[2] ($1.23 พันล้าน ตามมูลค่าปี ค.ศ. 2019)
ขนาด
สูง110.6 m (363.0 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง10.1 m (33.0 ft)
มวล2,822,000–2,965,000 kg (6,221,000–6,537,000 lb)[3]
ท่อน3
ความจุ
น้ำหนักบรรทุกสู่ LEO
ความสูง170 km (90 nmi)
ความเอียงของวงโคจร30°
มวล141,136 kg (311,152 lb)[4][5][note 1]
น้ำหนักบรรทุกสู่ TLI
มวล52,759 kg (116,314 lb)[6]
จรวดที่เกี่ยวข้อง
ตระกูลแซตเทิร์น
รูปแบบดัดแปลงแซตเทิร์น ไอเอ็นที-21
การเปรียบเทียบ
  • เอ็น 1 (ไม่เคยเข้าประจำการ)
  • เอเนอร์เกีย
  • SLS
ประวัติการบิน
สถานะปลดประจำการ
จุดส่งตัวLC-39, Kennedy Space Center
จำนวนเที่ยวบิน13 (อะพอลโล: 12 สกายแล็บ: 1)
สำเร็จ12 (อะพอลโล: 11 สกายแล็บ: 1)
ล้มเหลว0
ล้มเหลวบางส่วน1 (อะพอลโล: อะพอลโล 6)
เที่ยวบินแรก9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1967 (เอเอส-501[note 2] อะพอลโล 4) [7]
เที่ยวบินสุดท้าย14 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 (เอเอส-513 สถานีอวกาศสกายแล็บ) [8]
ข้อมูลท่อน
ท่อนแรก – เอส-I ซี
ความยาว42.1 m (138.0 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง10.1 m (33.0 ft)
มวลเปล่า137,000 kg (303,000 lb) [9]
มวลรวม2,214,000 kg (4,881,000 lb) [9]
เครื่องยนต์5 ร็อคเก็ตไดน์ เอฟ-1
แรงส่ง34,500 kN (7,750,000 lbf) ที่ระดับน้ำทะเล [10]
แรงดลจำเพาะ263 second (2.58 กิโลเมตรต่อวินาที) ที่ระดับน้ำทะเล
ระยะเวลาการเผาไหม้168 วินาที
เชื้อเพลิงRP-1 / LOX
ท่อนที่สอง – เอส-II
ความยาว24.8 m (81.5 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง10.1 m (33.0 ft)
มวลเปล่า40,100 kg (88,400 lb)[note 3]
มวลรวม496,200 kg (1,093,900 lb)[note 3]
เครื่องยนต์5 ร็อคเก็ตไดน์ เจ-2
แรงส่ง5,141 kN (1,155,800 lbf) ในสุญญากาศ
แรงดลจำเพาะ421 second (4.13 กิโลเมตรต่อวินาที) ในสุญญากาศ
ระยะเวลาการเผาไหม้360 วินาที
เชื้อเพลิงLH2 / LOX
ท่อนที่สาม – เอส-IV บี (ไม่มีในการส่งสกายแล็บ)
ความยาว18.8 m (61.6 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง6.6 m (21.7 ft)
มวลเปล่า15,200 kg (33,600 lb)[11][note 4]
มวลรวม123,000 kg (271,000 lb)[note 4]
เครื่องยนต์1 ร็อคเก็ตไดน์ เจ-2
แรงส่ง1,033.1 kN (232,250 lbf) ในสุญญากาศ
แรงดลจำเพาะ421 second (4.13 กิโลเมตรต่อวินาที) ในสุญญากาศ
ระยะเวลาการเผาไหม้165 + 335 วินาที (จุดเครื่องยนต์ 2 ครั้ง)
เชื้อเพลิงLH2 / LOX

ตามข้อมูลใน ค.ศ. 2023 จรวดแซตเทิร์น V ยังคงเป็นพาหนะส่งเดียวที่ได้ส่งมนุษย์ไปเกินกว่าวงโคจรต่ำของโลก (LEO) จรวดแซตเทิร์น V มีสถิติในการส่งน้ำหนักบรรทุกที่มีมวลและความจุมากที่สุดขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก: 141,136 kg (311,152 lb) ในนี้รวมถึงมวลของจรวดท่อนที่สามและเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่สำหรับการส่งหน่วยควบคุมและบริการอะพอลโลและหน่วยลงดวงจันทร์ไปสู่ดวงจันทร์

จรวดแซตเทิร์น V เป็นจรวดรุ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลจรวดแซตเทิร์น ซึ่งถูกออกแบบภายใต้การกำกับของแวร์นแฮร์ ฟ็อน เบราน์ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล ในเมืองฮันต์สวิลล์, รัฐแอละแบมา โดยมีโบอิง นอร์ทอเมริกันเอวิเอชัน ดักลาสแอร์คราฟท์คอมปานี และไอบีเอ็ม เป็นผู้รับจ้างหลัก ทั้งหมดแล้วมีการสร้างจรวดที่สามารถบินได้ 15 ลำ รวมกับอีกสามลำสำหรับการทดสอบภาคพื้นดิน ในนี้ 13 ลำถูกส่งขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดีโดยไม่มีการสูญเสียลูกเรือหรือน้ำหนักบรรทุก รวมแล้วมีนักบินอวกาศ 24 คนที่ถูกส่งไปสู่ดวงจันทร์ ตั้งแต่ภารกิจอะพอลโล 8 (ธันวาคม ค.ศ. 1968) ถึง อะพอลโล 17 (ธันวาคม ค.ศ. 1972)

เชิงอรรถ

อ้างอิง

ที่มา

หนังสือ

บทความวารสาร

  • Jorgensen, K.; Rivkin, A.; Binzel, R.; Whitely, R.; Hergenrother, C.; Chodas, P.; Chesley, S.; Vilas, F. (2003). "Observations of J002E3: Possible Discovery of an Apollo Rocket Body". Bulletin of the American Astronomical Society. 35: 981. Bibcode:2003DPS....35.3602J.
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย