เอลแลนด์โรด

เอลแลนด์โรด (อังกฤษ: Elland Road) เป็นสนามฟุตบอลตั้งที่อยู่บีสตันในเมืองลีดส์ เทศมณฑลยอร์กเชอร์ตะวันตก ประเทศอังกฤษ และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรใน ค.ศ. 1919[5] เอลแลนด์โรดเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของอังกฤษ

เอลแลนด์โรด
เอลแลนด์โรดในปี 2013
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬาเอลแลนด์โรด
ชื่อเดิมโอลด์พีค็อกกราวนด์[1]
ที่ตั้งบีสตัน ลีดส์ อังกฤษ LS11 0ES
พิกัด53°46′40″N 1°34′20″W / 53.77778°N 1.57222°W / 53.77778; -1.57222
ขนส่งมวลชนNational Rail Cottingley
National Rail ลีดส์
ลานจอดรถลีดส์
เจ้าของบริษัท กรีนฟีลด์อินเวสต์เมนต์ จำกัด[a][2][3]
ผู้ดำเนินการลีดส์ยูไนเต็ด
ความจุ37,792 ที่นั่ง[4]
สถิติผู้ชม57,892 คน (ลีดส์ยูไนเต็ด พบ ซันเดอร์แลนด์, 15 มีนาคม ค.ศ. 1967)
ขนาดสนาม105 โดย 68 เมตร (114.8 โดย 74.4 หลา)[4]
พื้นผิวกราสมาสเตอร์ (หญ้าไฮบริด)
ป้ายแสดงคะแนนฟิลิปส์ วิดีโอตรอน
การก่อสร้าง
ก่อสร้างค.ศ. 1897[1]
เปิดใช้สนามค.ศ. 1897[1]
ปรับปรุงค.ศ. 1920s, 1953, 1971, 1994, 2006, 2011–2012[1]
ต่อเติมค.ศ. 1905, 1920s, 1957, 1968, 1970, 1974, 1989, 1991, 1994[1]
การใช้งาน
ฟุตบอล
ลีดส์ซิตี (1904–1919)
ยอร์กเชียร์ (สมัครเล่น) (1919–1920)
ลีดส์ยูไนเต็ด (1919–ปัจจุบัน)
ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ (1950; 2 นัด)
แบรดฟอร์ดซิตี (1985; 3 นัด)
รักบีลีก
ฮอลเบ็ก (1897–1904)
ฮันสเล็ต (1983–1994)

เอลแลนด์โรดเคยใช้จัดการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศในฐานะสนามกลางและเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอังกฤษในบางนัด[6] นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งใน 8 สนามที่ใช้จัดแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996[7] นอกจากฟุตบอลแล้ว เอลแลนด์โรดยังใช้จัดแข่งขันรักบี้ลีกโดยมีฮันสเล็ตเป็นทีมเหย้าในช่วงกลางทศวรรษ 1980[8] และเคยใช้จัดการแข่งขันสองนัดในรักบี้ชิงแชมป์โลก 2015

เอลแลนด์โรดมีอัฒจันทร์สี่ฝั่ง ประกอบด้วย ฝั่งดอนเรวี (ฝั่งเหนือ), ฝั่งตะวันออก (ซึ่งคาดว่าจะตั้งชื่อตามแจ็ก ชาร์ลตัน[9]), ฝั่งนอร์แมนฮันเตอร์ (ฝั่งใต้) และฝั่งจอห์นชาลส์ (ฝั่งตะวันตก) สนามมีความจุ 37,792 ที่นั่ง[4] สถิติผู้ชมในสนามสูงสุดอยู่ที่ 57,892 คนเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1967 ในเอฟเอคัพรอบที่ห้าซึ่งเป็นนัดแข่งใหม่กับซันเดอร์แลนด์[5] อย่างไรก็ตาม สนามมีการติดตั้งที่นั่งทำให้ความจุลดลง สถิติผู้ชมสูงสุดในสนามซึ่งมีการติดตั้งที่นั่งแล้วคือ 40,287 คนในพรีเมียร์ชิปนัดที่พบกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2001[10] ปัจจุบันมีแผนขยายความจุของสนามเป็น 50,000 ที่นั่ง โดยจะทำการทุบอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกและสร้างใหม่[11]

สนามแห่งนี้ยังใช้จัดงานคอนเสิร์ตได้ ศิลปินที่มีชื่อเสียงที่เคยขึ้นแสดงที่สนามแห่งนี้ อาทิ วงควีน, ยูทู, แฮปปี้มันเดส์ และเคเซอร์ชีฟส์[12][13][14][15]

หมายเหตุ

อ้างอิง

  • "Elland Road history". wafll.com. สืบค้นเมื่อ 3 April 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย