เหตุเครื่องบินตู-154 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ตก พ.ศ. 2553

เหตุเครื่องบินตู-154 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ตก พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เมื่ออากาศยานตูโปเลฟ ตู-154เอ็มของกองทัพอากาศโปแลนด์ตกใกล้กับนครสโมเลนสค์ ประเทศรัสเซีย ทำให้ทั้ง 96 คนบนเครื่องเสียชีวิต ผู้เสียชีวิตประกอบด้วยประธานาธิบดีแลค กัตชึญสกี กับมาเรีย กัตชึญสกา ภริยา, รือชาร์ด กัตชอรอฟสกี อดีตประธานาธิบดีพลัดถิ่นโปแลนด์, เสนาธิการโปแลนด์กับนายทหารอาวุโสของโปแลนด์คนอื่น ๆ, ประธานธนาคารแห่งชาติโปแลนด์, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์, ข้าราชการโปแลนด์ สมาชิกรัฐสภาโปแลนด์ 15 คน นักบวชอาวุโส อากาศยานดังกล่าวอยู่ในเส้นทางจากกรุงวอร์ซอไปเข้าร่วมเหตุการณ์ครบรอบ 70 ปีการสังหารหมู่กาตึญ ซึ่งอยู่ห่างจากสโมเลนสค์ไปทางตะวันตกประมาณ 19 กิโลเมตร

เหตุเครื่องบินตู-154 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ตก พ.ศ. 2553
บางส่วนของลำตัวเครื่องบิน
สรุปAccident
วันที่10 เมษายน ค.ศ. 2010 (2010-04-10)[1]
สรุปความผิดพลาดของนักบิน[1]
จุดเกิดเหตุใกล้กับสโมเลนสค์ ประเทศรัสเซีย
54°49′26.02″N 32°3′4.54″E / 54.8238944°N 32.0512611°E / 54.8238944; 32.0512611
ประเภทอากาศยานตูโปเลฟ ตู-15เอ็ม
ดําเนินการโดย36 SPLT กองทัพอากาศโปแลนด์
ต้นทางFrédéric Chopin Airport
กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
ปลายทางSmolensk North Airport
สโมเลนสค์ ประเทศรัสเซีย
ผู้โดยสาร89
ลูกเรือ7
เสียชีวิต96[2]
รอดชีวิต0

นักบินพยายามลงจอดที่อากาศยานสโมเลนสค์เหนือ ซึ่งเป็นอดีตฐานทัพอากาศ ท่ามกลางหมอกหนาซึ่งลดทัศนวิสัยลงเหลือประมาณ 500 เมตร อากาศยานอยู่ต่ำเกินไปเมื่อมาถึงลานบิน อากาศยานพุ่งเข้าชนต้นไม้ในหมอก ทำให้พลิกคว่ำ กระทบพื้น แตกเป็นเสี่ยง และมาหยุดอยู่ห่างจากลานบินในพื้นที่ป่า 200 เมตร

วิธีดำเนินการองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศมอบหมายให้ประเทศรัสเซียรับผิดชอบการสืบสวนเป็นหลัก เพราะอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในแผ่นดินรัสเซีย ซึ่งดำเนินไปด้วยความร่วมมือจากนานาประเทศ ประเทศโปแลนด์ก็ตั้งคณะกรรมการของตนขึ้นเพื่อสืบสวนเหตุดังกล่าว และอัยการในทั้งสองประเทศเริ่มการสืบสวนอาชญากรรม รายงานของรัสเซียได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 และรายงานของโปแลนด์ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 รายงานทั้งสองฉบับส่วนใหญ่กล่าวโทษอุบัติเหตุดังกล่าวต่อนักบินที่ลดระดับความสูงลงต่ำเกินไปโดยไม่สามารถมองเห็นพื้นดิน รายงานของโปแลนด์ก็วิพากษ์วิจารณ์การจัดระเบียบและผู้นำของกรมการบินพิเศษของโปแลนด์อย่างรุนแรง เช่นเดียวกับพบข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของรัสเซีย และต่อแสงสว่างและเขตประชิดของท่าอากาศยาน แม้จะมีความสงสัยในเบื้องต้น แต่ผลพวงและการสืบสวนอุบัติเหตุมีผลกระทบโดยรวมอบอุ่นระหว่างสองประเทศ ประเทศโปแลนด์รู้สึกว่าการสืบสวนกระทำในรูปแบบที่เปิดเผยและยุติธรรมในภาพรวม ซึ่งตรงข้ามกับการสืบสวนของรัสเซียและโซเวียตในอดีต หลังอุบัติเหตุดังกล่าว รัสเซียตีพิมพ์เอกสารหวงห้ามว่าด้วยการสังหารหมู่กาตึญอย่างเปิดเผย ตลอดจนลดชั้นความลับและตีพิมพ์อีกหลายชิ้น ยิ่งไปกว่านั้น สภาดูมาของรัสเซียยังผ่านข้อมติที่ยอมรับว่าโจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต สั่งการสังหารหมู่กาตึญด้วยตนเอง ภายหลังอนุสรณ์กาตึญเป็นกิจการร่วมระหว่างรัสเซียกับโปแลนด์ ที่ผู้นำทั้งสองประเทศเข้าร่วม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย