เหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค

37°13′37″N 80°25′19″W / 37.227°N 80.422°W / 37.227; -80.422

การกราดยิงที่เวอร์จิเนียเทก
เป็นส่วนหนึ่งของการกราดยิงหมู่ในสหรัฐ
การจุดเทียนระลึกในคืนวันที่ 17 เมษายน 2007 ด้านหน้าเบอร์รัสฮอลล์
สถานที่แบล็กสเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
พิกัด37°13′23″N 80°25′16″W / 37.2231°N 80.4211°W / 37.2231; -80.4211 (Ambler Johnston Hall)[1]
37°13′46″N 80°25′23″W / 37.2294°N 80.4231°W / 37.2294; -80.4231 (Norris Hall)[2]
วันที่16 เมษายน 2007; 17 ปีก่อน (2007-04-16)
ป. 7:15 – 9:51 a.m.[3]: 25  (EDT)
เป้าหมายนักศึกษา อาจารย์ ที่เวอร์จิเนียเทก
ประเภทกราดกราดยืงในโรงเรียน, การกราดยิงหมู่, ฆาตกรรมหมู่, ฆาตกรรมและฆ่าตัวตายตาม, การยิงโดยสุ่ม
อาวุธ
ตาย33 (รวมผู้ก่อเหตุ)[5]: 127 
เจ็บ23 (17 จากบาดแผลกระสุนปืน, 6 จากการกระโดดออกทางหน้าต่าง)[6]: 92 [7]
ผู้ก่อเหตุโช ซิง-ฮี
ผู้ต่อต้าน
  • ลีวียู ลีเบรสกู
  • เควิน กรานาตา
  • จี. วี. โลกนาถัน
  • ดีเร็ก โอเนลล์
  • เคตลิน แคนลีย์
  • เฮนรี ลี
  • แซก เพตเควิตซ์
  • แมตธิว ลา พอร์ที[8]
เหตุจูงใจสรุปไม่ได้ (เป็นไปได้ส่ามาจก ความเกลียดชังมนุษย์ หรือ ล้างแค้นการกลั่นแกล้ง)

การกราดยิงที่เวอร์จิเนียเทก เป็นการยิงต่อเนื่องโดยสุ่มเมื่อ 16 เมษายน 2007 ประกอบด้วยการโจมตีสองครั้งในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยรัฐและสถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนียในแบล็กส์เบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อเหตุคือโช ซึง-ฮี นักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยนี้ ชาวเกาหลีใต้ผู้อยู่อาศัยในสหรัฐ ฆาตกรรมเหยื่อรวม 32 ราย และบาดเจ็บ 17 คน โดยใช้อาวุธปืนพกกึ่งอัตโนมัติสองกระบอก ผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหกคนจากเหตุการณ์เป็นการบาดเจ็บหลังกระโดดหนีออกทางหน้าต่าง

การกราดยิงระลอกแรกเริ่มต้นที่เวสต์ แอมเบลอร์ จอห์นสตัน ฮอลล์ (West Ambler Johnston Hall) อาคารหอพัก มีผู้เสียชีวิตสองราย ส่วนการกราดยิงระลอกหลักเป็นการกราดยิงในสถานศึกษา ก่อเหตุที่นอริสฮออล์ (Norris Hall) อาคารเรียน โชเดินเข้ามายังอาคารเรียนนี้ ใช้โซ่ล่ามปิดประตูทางเข้าทั้งหมด และกราดยิงเข้าไปในห้องเรียนสี่ห้องและตามทางบันได มีผู้เสียชีวิตเพิ่มสามสิบราย ในขณะที่ตำรวจกำลังบุกเข้าอาคารเรียน โชยิงตัวตายเข้าทางศีรษะ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการกราดยิงหมู่ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสหรัฐในเวลานั้น กระทั่งเก้าปีต่อมาที่ซึ่งเกิดเหตุกราดยิงหมู่ที่ไนต์คลับในออร์แลนโด ตามด้วยเหตุกราดยิงหมู่ในลาสเวกัสในปีต่อมา เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นการกราดยิงในสถานศึกษาที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และเป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรัฐเวอร์จิเนีย

เหตุการณ์นี้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงวัฒนธรรมปืนในสหรัฐ[9] และกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงว่าด้วยความรุนแรงจากปืน, กฎหมายควบคุมปืน, ช่องโหว่ในระบบการรักษาสุขภาพจิตในสหรัฐ, สภาวะจิตใจของผู้ก่อเหตุ, ความรับผิดชอบของผู้บริหารเวอร์จิเนียเทก,[10] กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัว, จริยธรรมในการทำข่าว และปัญหาอื่นอีกมากมาย หน่วยงานข่าวที่ออกอากาศบางส่วนของประกาศเจตจำนงในรูปมัลติมีเดียของโชถูกวิจารณ์โดยครอบครัวของเหยื่อ, หน่วยบังคับใช้กฎหมายของรัฐ และสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน[11][12]

ก่อนหน้านี้ โชเคยถูกวินิจฉัยด้วยภาวะไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์ และโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง ตลอดช่วงชีวิตในโรงเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย เขาได้รับการรักษาและการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ เขาเข้าศึกษาต่อที่เวอร์จิเนียเทกหลังจบการศึกษา เนื่องด้วยกฎหมายเรื่องความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ มหาวิทยาลัยไม่ทราบถึงประวัติการวินิจฉัยโรคและประวัติการเข้ารับการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษของโช ในปี 2005 โชถูกกล่าวหาว่าแอบติดตามนักศึกษาหญิงสองคน[13] หลังการตรวจสอบในครั้งนั้น โชได้รับการประกาศจากหน่วยยุติธรรมพิเศษให้เป็นผู้มีความเจ็บป่วยทางจิตและมีคำสั่งให้เข้ารับการรักษา กระนั้น โชไม่เคยเข้ารับการรักษาในหน่วยงานใด ๆ (institutionalized) ซึ่งทำให้เขาสามารถซื้ออาวุธปืนได้[14] เหตุการณ์นี้ส่งผลให้รัฐเวอร์จิเนียปิดช่องว่างทางกฎหมายซึ่งทำให้บุคคลที่ผิดปกติทางจิตโดยคำสั่งศาลสามารถซื้อปืนได้ตราบที่ไม่มีขึ้นทะเบียนกับระบบ National Instant Criminal Background Check System (NICS)[15]

รายชื่อผู้เสียชีวิต

  • เจมี บิชอป (35) ไพน์เมาเทน รัฐจอร์เจีย[16]
    —อาจารย์วิชาภาษาเยอรมัน
  • โจเซลีน กูตูร์-โนวาก (49) มอนทรีอัล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา[17]
    —ศาสตราจารย์ด้านภาษาฝรั่งเศส
  • เควิน กรานาตา (45) โทเลโด รัฐโอไฮโอ[18]
    —ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์
  • ลีวียู ลีเบรสกู (76) ปลอเยชต์ ประเทศโรมาเนีย[19]
    —ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์
  • จี วี โลกนาถัน (53) โคพีเจฏฏิปัฬยัง รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[20]
    —ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์
  • รอส แอลาเมดดีน (Ross Alameddine) (20) ซอกัส รัฐแมสซาชูเสตส์[21]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 2
  • ไบรอัน บลูม (Brian Bluhm) (25) ลุยส์วิล รัฐเคนทักกี[22]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • ไรอัน คลาร์ก (Ryan Clark) (22) มาร์ตีเนซ รัฐจอร์เจีย[23]
    —นักศึกษาชั้นสองปีสุดท้าย
  • ออสติน คลอยด์ (Austin Cloyd) (18) แชมเพญ รัฐอิลลินอยส์[24]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • แดเนียล เปเรซ กูเอวา (Daniel Perez Cueva) (21) Woodbridge, Virginia/Peru[25]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • แมทธิว กวอลต์นีย์ (Matthew Gwaltney) (24) แชสเตอร์ฟีลด์ รัฐเวอร์จีเนีย[26]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • เคตลิน ฮัมมาเริน (Caitlin Hammaren) (19) เวสต์ทาวน์, รัฐนิวยอร์ก[27]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 2
  • เจเรมี เอิร์บสตริต (Jeremy Herbstritt) (27) เบลฟอนที, รัฐเพนซิลเวเนีย[28]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • แรเชล ฮิล (Rachael Hill) (18) ริชมอนด์ รัฐเอวร์จีเนีย[29]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • เอมีลี ฮิลส์เชอร์ (Emily Hilscher) (19) วูดวิลล์ รัฐเอวร์จิเนีย[30]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • แจเรต เลน (Jarrett Lane) (22) แนโรวส์ รัฐเอวร์จิเนีย[31]
    —นักศึกษาชั้นสองปีสุดท้าย
  • แมตธิว ลา พอร์ที (Matthew La Porte) (20) ดูมอนต์ รัฐนิวเจอร์ซีย์[32]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 2
  • เฮนรี เจ ลี (Henry J. Lee) (20) โรแอโนก รัฐเวอร์จิเนีย/เวียดนาม[33]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • ปาร์ตาฮี ลุมบันโตรุอัน (Partahi Lumbantoruan) (34) เมดัน ประเทศอินโดนีเซีย[34]
    —นักศึกษาหลังปริญญาเอก
  • ลอเรน แมกเคน (Lauren McCain) (20) แฮมป์ตัน รัฐเวอร์จิเนีย[35]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • แดเนียล โอนีล (Daniel O'Neil) (22) ลิงอคล์น รัฐโร้ดไอแลนสด์[36]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • ฌวน รามอน ออร์ติซ (Juan Ramon Ortiz) (26) บายามอน เปอร์โตริโก[37]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • มินัล ปัญญัล (Minal Panchal) (26) มุมไบ ประเทศอินเดีย[38]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • เอริน พีเทอร์ซัน (Erin Peterson) (18) เซนเทอร์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย[39]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • ไมเคิล พอลี จูเนียร์ (Michael Pohle Jr.) (23) เฟลมิงตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์[40]
    —นักศึกษาชั้นสองปีสุดท้าย
  • จูเลีย พรายด์ (Julia Pryde) (23) มิดเดิลทาวน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์[41]
    —นักศึกษาปริญญาเอก
  • แมรี รี้ด (Mary Read) (19) แอนนันเดล รัฐเวอร์จิเนีย[42]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • รีมา ซามาฮา (Reema Samaha) (18) เซนเทอร์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย[43]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • วอลีด ชาลัน (Waleed Shaalan) (32) ซากาซีก ประเทศอียิปต์[44]
    —นักศึกษาหลังปริญญาเอก
  • เลสลี เชอร์แมน (Leslie Sherman) (20) สปริงฟีลด์ รัฐเวอร์จิเนีย[45]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • แมกซีน เทอร์เนอร์ (Maxine Turner) (22) เวียนนา รัฐเวอร์จิเนีย[46]
    —นักศึกษาชั้นสองปีสุดท้าย
  • นิโคล ไวต์ (Nicole White) (20) สมิตฟีลด์ รัฐเวอร์จิเนีย[47]
    —นักศึกษาชั้นปีที่ 3
  • ผู้ก่อเหตุ โช ซึง-ฮี เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในที่เกิดเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Agger, Ben; Aronowitz, Stanley; Ayers, William; Brabazon, Tara; Dunbar-Ortiz, Roxanne; Kellner, Douglas; Kimmel, Michael; King, Neal; Lemert, Charles; Luke, Timothy W.; และคณะ (March 27, 2008). Agger, Ben; Luke, Timothy W. (บ.ก.). There is a gunman on campus: tragedy and terror at Virginia Tech (Hardcover). Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-6129-8.
  • Bernstein, Robin (2012). Utopian Movements: Nikki Giovanni and the Convocation Following the Virginia Tech Massacre (PDF). African American Review 45.3: 431-353. สืบค้นเมื่อ June 5, 2017. An analysis of the poem Nikki Giovanni performed at the convocation following the massacre.
  • Cupp, Kevin; Higgs, Suzanne; Maglalang, Omar; Massey, Laura; Sangalang, Tricia; Thomas, Courtney; Turnage, Neal (August 28, 2007). Lazenby, Roland (บ.ก.). April 16th: Virginia Tech Remembers (Paperback). United States: Plume. ISBN 978-0-452-28934-5. A collection of writings by Virginia Tech journalism students penned as the events of April 16, 2007, were unfolding. Edited by their Virginia Tech journalism professor.
  • Garner, Joe; Cronkite, Walter (Foreword); Williams, Brian (Afterword); Kurtis, Bill (Narrator) (October 1, 2008). We interrupt this broadcast: the events that stopped our lives ... from the Hindenburg explosion to the Virginia Tech shooting (Hardcover) (10th anniversary ed.). Naperville, IL: Sourcebooks MediaFusion. ISBN 978-1-4022-1319-9. The book includes three CDs of historical broadcasts and other narration.
  • Giduck, John P.; Bail, Joseph M. Jr.; Thor, Brad (Foreword) (2011). Shooter down!: the dramatic, untold story of the police response to the Virginia Tech massacre (Hardcover) (1st ed.). Archangel Group. ISBN 978-0-9767753-4-8.
  • Kellner, Douglas (January 31, 2008). Guys and guns amok: domestic terrorism and school shootings from the Oklahoma City bombing to the Virginia Tech massacre (Paperback). Boulder, CO: Paradigm Publishers. ISBN 978-1-59451-493-7. An account of social theory, exploring cultural and other influences that produce violent perpetrators.
  • Pugh, Charles R. (March 24, 2010). The Virginia Tech Tragedy and My Personal Tragedy: Lessons To Learn from an Insider and from Scripture (Paperback). Xulon Press. ISBN 978-1-61579-906-0.
  • Worth, Richard (March 2008). Massacre at Virginia Tech: disaster & survival (Library Binding). Berkeley Heights, NJ: Enslow Publishers. ISBN 978-0-7660-3274-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
33 dead, 15 injured in Virginia Tech shootings
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย