เสนาะ อูนากูล

เสนาะ อูนากูล (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474) เป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2] ในปี พ.ศ. 2562 ได้จัดตั้งมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เพื่อช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก [3]

เสนาะ อูนากูล
กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2560
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2522
ก่อนหน้าพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์
ถัดไปนุกูล ประจวบเหมาะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม
คู่สมรสคุณหญิงนงนุช อูนากูล
บุพการี
  • วิชัย อูนากูล (บิดา)
  • เนื่อง อูนากูล (มารดา)

ประวัติ

เสนาะ อูนากูล เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของ นายวิชัย และ นางเนื่อง อูนากูล (สกุลเดิม สืบสงวน) บิดาเป็นผู้สร้าง "ตลาดหนองมน" เป็นบุตรชายคนเล็กของพี่น้องทั้งหมด 8 คน[4] จบชั้นมัธยมปีที่ 6 จาก โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี เมื่อพ.ศ. 2490 จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อพ.ศ. 2494 จบการศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วไปศึกษาต่อปริญญาตรี สาขาการพาณิชย์ University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา[5]

รับราชการ

เสนาะ อูนากูล รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ชำนาญการคลัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อพ.ศ. 2498 หลังจากนั้นในพ.ศ. 2503 ได้ดำรงตำแหน่ง เศรษฐกรส่วนวางแผนผังพัฒนาการเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เลื่อนเป็นหัวหน้ากองเศรษฐกิจนิเทศก์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2511 เป็นผู้อำนวยการกองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2516 รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฝ่ายวิชาการ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2517 – 2518 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[6]

หลังการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ[7]

งานการเมือง

เสนาะ อูนากูล ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนเมื่อพ.ศ. 2534[8] เคยเป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 และเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อพ.ศ. 2524

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง


🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย