เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)

(เปลี่ยนทางจาก เปีย มาลากุล)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (16 เมษายน พ.ศ. 2410 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2458
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 เมษายน พ.ศ. 2410
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 (49 ปี)
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี
บุตร8 คน
ไฟล์:ศาลาพระเสด็จ.jpg
ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีจัดทำหลักสูตรการสอน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2410[1] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ และหม่อมเปี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ พ.ศ. 2429

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2432[2]จากนั้นในปี พ.ศ. 2435 จึงย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยในตำแหน่งพนักงานวิเศษ[3] และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระมนตรีพจนกิจ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2435[4]ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำสหราชอาณาจักรและยุโรป [5] ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 [6]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2443 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี[7] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ท่านได้สาบานตนถือน้ำทรงตั้งเป็นองคมนตรีต่อในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[8]

จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2441 และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2453

ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ มีตำแหน่งในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินา 1200 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) [9] ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ท่านลาบวชเป็นภิกษุ ทรงรับเป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วไปอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[10] ลาสิกขาแล้วรับราชการต่อมาจนได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2455[11] จากนั้นได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น มหาอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2455[12]

เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ศรีวิสุทธสุริยศักดิ์ อรรคพุทธศาสนวโรประการ ศิลปศาสตร์พิศาลศึกษานุกิจ บัณฑิตยการานุรักษ์ สามัคยาจารย์วิบุลย์ มาลากุลบริพัตร์ บรมขัติยราชสวามิภักดิ์ เสมาธรรมจักรมุรธาธร ศุภกิจจานุสรอาชวาธยาไศรย พุทธาทิไตรรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ[13]

ต่อมาท่านขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2459 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านลาออกจากตำแหน่ง และพระราชทานบำนาญอย่างเสนาบดีชั้นสูง[14]

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและกระเพาะอาหารพิการมาช้านาน จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 เวลา 3 ยาม 30 นาที สิริอายุ 49 ปี 304 วัน วันต่อมา เวลาบ่าย 5 โมง สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ประกอบโกศมณฑป ตั้งบนชั้น 2 ชั้น ฉัตรเบญจาตั้งประดับ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 1 เดือน[15]

ชีวิตครอบครัว

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ

  • หม่อมหลวงปก มาลากุล
  • หม่อมหลวงปอง มาลากุล สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
  • หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
  • หม่อมหลวงเปนศักดิ์ มาลากุล
  • หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
  • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล นักการศึกษาและศิลปินแห่งชาติ สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา
  • หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
  • หม่อมหลวงปานตา มาลากุล สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์

สมรสกับคุณเจียร ลักษณะบุตร มีธิดาคือ

  • หม่อมหลวงนกน้อย มาลากุล

สมรสกับคุณเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตรคือ

  • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล

ผลงาน

ด้านการศึกษา

โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี จัดทำหลักสูตรโรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนของโรงเรียนนี้ด้วยพระองค์เอง

เพลงสรรเสริญพระบารมี

แต่เดิม การร้องเพลง "สรรเสริญพระบารมี" มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด

เพลงสามัคคีชุมนุม

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง "สามัคคีชุมนุม" โดยใช้ทำนองเพลง ออลด์แลงไซน์ (Auld Lang Syne) ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ[16]

สมบัติผู้ดี

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 [17]

ยศ

  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - มหาอำมาตย์โท[18]
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2455 มหาอำมาตย์เอก
  • นายกองตรี[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง


🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย