เนหุชทาน

ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ (2 พงศ์กษัตริย์ 18:4; เขียนเมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาล) เนหุชทาน (อังกฤษ: Nehushtan; ฮีบรู: נְחֻשְׁתָּן Nəḥuštān [nəħuʃtaːn]) เป็นรูปสัมฤทธิ์ของงูบนเสา รูปสัมฤทธิ์นี้มีการบรรยายในหนังสือกันดารวิถี เมื่อพระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสให้ชูงูทองสัมฤทธิ์ขึ้นเพื่อให้ชาวอิสราเอลที่ได้เห็นจะได้รับการรักษาและได้รับความปกป้องจากการตายเพราะถูก "งูแมวเซา" กัด ซึ่งเป็นงูที่พระยาห์เวห์ทรงส่งมาลงโทษผู้ที่พูดต่อว่าพระองค์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -9)

โมเสสยกงูทองสัมฤทธิ์ขึ้นในภาพบนกระจกสีที่วิหารนักบุญมาระโก เมืองกิลลิงแฮม

ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ กษัตริย์เฮเซคียาห์โปรดให้ปฏิรูปการทำลายรูปเคารพ รวมถึงการทำลาย "งูทองสัมฤทธิ์ซึ่งโมเสสสร้างขึ้นนั้นเสีย เพราะว่าคนอิสราเอลได้เผาเครื่องหอมให้แก่งูนั้นจนถึงวันเหล่านั้น เขาเรียกงูนั้นว่า เนหุชทาน"[1]

ศัพทมูล

คำว่า "เนหุชทาน" เป็นคำนามเฉพาะที่มาจากคำว่า "งู" หรือ "สัมฤทธิ์" จึงมีความหมายว่า "งู (ใหญ่)" หรือ "สัมฤทธิ์ (ใหญ่)"[2]

การแปลแบบต่าง ๆ

ในคัมภัร์ไบเบิลฉบับภาษาอังกฤษมาตรฐานและฉบับแปลภาษาอังกฤษร่วมสมัยส่วนใหญ่กล่าวถึงงูว่าทำจาก "bronze" ในขณะที่ฉบับพระเจ้าเจมส์และฉบับอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งระบุด้วยคำว่า "brass" 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 แปลเป็นคำว่า "brasen" ในฉบับพระเจ้าเจมส์[3] ในฉบับ Douay-Rheims ปี ค.ศ. 1899 ระบุด้วยคำว่า "brazen" Eugene H. Peterson ผู้ถอดความพระคัมภีร์อย่างหลวม ๆ ในชื่อ เดอะเมซเซจ (ค.ศ. 2002) เลือกใช้คำว่า "a snake of fiery copper"[4]

ในคัมภีร์ไบเบิล

คัมภัร์ฮีบรู

งูทองสัมฤทธิ์ (ภาพวาดสีน้ำราว ค.ศ. 1896–1902 โดย James Tissot)
มหาวิหารนักบุญแอมโบรสในเมืองมิลานมีเสาแบบโรมัน ยอดเสามีงูสัมฤทธิ์ที่บริจาคโดยจักรพรรดิเบซิลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1007 อาจเป็นที่มาของสัญลักษณ์ biscione/bissa แห่งมิลาน[5]

ในเรื่องเล่าคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการอพยพของชาวอิสราเอลจากอียิปต์ ชาวอิสราเอลเดินทางจากภูเขาโฮร์ไปยังทะเลแดง แต่พวกเขาต้องอ้อมไปรอบดินแดนเอโดม (กันดารวิถี 20:21,25) พวกเขาเกิดความท้อแท้และต่อว่าพระยาห์เวห์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -5) พระเจ้าจึงทรงส่ง "งูแมวเซา" ไปท่ามกลางพวกเขาและพวกเขาหลายคนก็ถูกกัดตาย ประชาชนมาหาโมเสสเพื่อกลับใจและร้องหาโมเสสให้ช่วยทูลพระเจ้าให้ทรงนำงูไปจากพวกเขา โมเสสจึงทูลวิงวอนพระเจ้า พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า "จงทำงูพิษตัวหนึ่งติดไว้บนเสา และทุกคนที่ถูกงูกัดมองดูงูนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ได้" (กันดารวิถี 21:4 -9)

คำว่า "เนหุชทาน" ปรากฏใน 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 ในความที่กล่าวถึงการปฏิรูปโดยกษัติรย์เฮเซคียาห์ซึ่งพระองค์ทรงรื้อปูชนียสถานสูงทิ้งไป ทรงโค่นสัญลักษณ์ของอาเช-ราห์ลง และทำลายเนหุชทาน[6][7][8] ตามฉบับแปลของคัมภัร์ไบเบิลหลายฉบับให้ชื่อของงูทองสัมฤทธิ์เช่นนั้น[9]

พันธสัญญาใหม่

ในพระวรสารนักบุญยอห์น พระเยซูทรงเปรียบเทียบระหว่างการยกบุตรมนุษย์ขึ้นกับการยกงูทองสัมฤทธิ์ของโมเสสเพื่อรักษาประชาชน[10] พระเยซูตรัสว่า "โมเสสยกงูขึ้นในถิ่นทุรกันดารอย่างไร บุตรมนุษย์จะต้องถูกยกขึ้นอย่างนั้น" (ยอห์น 3:14 )

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย