เฌตูลียู วาร์กัส

ประธานาธิบดีแห่งบราซิล

เฌตูลียู ดอร์แนลิส วาร์กัส (โปรตุเกส: Getúlio Dornelles Vargas; 19 เมษายน ค.ศ. 1882 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวบราซิล ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิลคนที่ 14 และ 17 ระหว่าง ค.ศ. 1930–1945 และ ค.ศ. 1951–1954 ตามลำดับ

ฮิสเอ็กเซิลเลนซี
เฌตูลียู วาร์กัส
วาร์กัสเมื่อ ค.ศ. 1930
ประธานาธิบดีบราซิล
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม ค.ศ. 1951 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1954
รองประธานาธิบดีกาแฟ ฟิลยู
ก่อนหน้าเอวรีกู กัสปาร์ ดูตรา
ถัดไปกาแฟ ฟิลยู
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 – 29 ตุลาคม ค.ศ. 1945
รองประธานาธิบดีไม่มี
ก่อนหน้าคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง (เฉพาะกาล)
ถัดไปโฌแซ ลีญาริส (เฉพาะกาล)
วุฒิสภารัฐฮิวกรังจีดูซูว
ดำรงตำแหน่ง
5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 – 31 มกราคม ค.ศ. 1951
ผู้ว่าการรัฐฮิวกรังจีดูซูว
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม ค.ศ. 1928 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1930
รองประธานาธิบดีฌูเวา แนวิส ดา ฟงโตรา
ก่อนหน้าบอร์ฌิส จี เมเดย์รุส
ถัดไปโอสวัลดู อาราญา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1927
ประธานาธิบดีวอชิงตง ลูอิส
ก่อนหน้าอานีบัล เฟรย์รี
ถัดไปโอลีเวย์รา โบเตลยู
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐฮิวกรังจีดูซูว
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926
สมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐฮิวกรังจีดูซูว
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน ค.ศ. 1917 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1923
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน ค.ศ. 1909 – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1913
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เฌตูลียู ดอร์แนลิส วาร์กัส

19 เมษายน ค.ศ. 1882(1882-04-19)
เซาบอร์ฌา รัฐฮิวกรังจีดูซูว จักรวรรดิบราซิล
เสียชีวิต24 สิงหาคม ค.ศ. 1954(1954-08-24) (72 ปี)
คฤหาสน์กาเตชี รีโอเดจาเนโร บราซิล
สาเหตุการเสียชีวิตฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืน
ที่ไว้ศพจัตุรัส 15 พฤศจิกายน เซาบอร์ฌา รัฐฮิวกรังจีดูซูว บราซิล
เชื้อชาติบราซิล
พรรคการเมืองเปเตเบ (ค.ศ. 1946–1954)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เปแอรีแอรี (ค.ศ. 1909–1930)
อิสระ (ค.ศ. 1930–1946)
คู่สมรสดาร์ซี วาร์กัส (สมรส 1911)
บุตรลูเตรู (ค.ศ. 1912–1989)
ฌังจีรา (ค.ศ. 1913–1980)
อัลซีรา (ค.ศ. 1914–1992)
มานูแวล (ค.ศ. 1916–1997)
เฌตูลียู (ค.ศ. 1917–1943)
บุพการีมานูแวล ดู นัสซีเม็งตู วาร์กัส
กังจีดา ดอร์แนลิส วาร์กัส
ศิษย์เก่าคณะเสรีนิติศาสตร์แห่งโปร์ตูอาแลกรี
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ บราซิล
สังกัด กองทัพบกบราซิล
ประจำการค.ศ. 1898–1903
ค.ศ. 1923
ยศสิบเอก
พันโท
หน่วยกองพันทหารราบที่ 6
กองพันทหารราบที่ 25
สงคราม/การสู้รบสงครามอาครี
การปฏิวัติ ค.ศ. 1923

ประวัติ

วาร์กัสเกิดที่เมืองเซาบอร์ฌา รัฐฮิวกรังจีดูซูว ในครอบครัวท้องถิ่นที่มีอำนาจ เป็นบุตรคนที่ 3 จากทั้งหมด 5 คนของมานูแวล ดู นัสซีเม็งตู วาร์กัส กับกังจีดา ดอร์แนลิส วาร์กัส[1][2][3] เขาเป็นทหารในกองทัพบราซิลช่วงสั้น ๆ ก่อนจะเรียนต่อด้านกฎหมายที่เมืองโปร์ตูอาแลกรี[4] หลังจากนั้นทำงานเป็นอัยการเขตและสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐ[5][5][6][7] วาร์กัสเข้าสู่แวดวงการเมืองระดับชาติเมื่อได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลประธานาธิบดีวอชิงตง ลูอีส[8][9][10] ก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฮิวกรังจีดูซูว[11][12][13]

วาร์กัสพ่ายให้กับฌูลียู แปรสชิส ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนมีนาคม ค.ศ. 1930 ต่อมาในเดือนตุลาคม เขานำการปฏิวัติเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีลุยส์และขัดขวางไม่ให้แปรสชิสขึ้นเป็นประธานาธิบดี[13][14] หลังจากนั้นวาร์กัสดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวจนมีการเลือกตั้งอีกครั้งใน ค.ศ. 1934 ซึ่งเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อ สามปีต่อมาวาร์กัสยึดอำนาจและเปลี่ยนบราซิลเป็นระบอบเผด็จการที่รู้จักในชื่อยุคสมัยวาร์กัสโดยอ้างเหตุผลเพื่อกำจัดคอมมิวนิสต์[15] แม้วาร์กัสจะเผชิญกับการลุกฮือหลายครั้งตลอด 15 ปีที่อยู่ในอำนาจ เช่น การปฏิวัติรัฐธรรมนูญนิยม (ค.ศ. 1932) การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ (ค.ศ. 1935) และการก่อการกำเริบบูรณานิยม (ค.ศ. 1938) แต่รัฐบาลของเขาสามารถปราบปรามได้ทั้งหมด วาร์กัสพาบราซิลเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1942

วาร์กัสพ้นจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1945 แต่กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหลังชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1950 อย่างไรก็ตามวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เขากระทำอัตวินิบาตกรรมใน ค.ศ. 1954[16] นักประวัติศาสตร์ถือว่าวาร์กัสเป็นนักการเมืองบราซิลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นหนึ่งในนักการเมืองสายประชานิยมที่มีอำนาจในละตินอเมริกาช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ร่วมกับลาซาโร การ์เดนัส และฆวน เปรอน ผู้ส่งเสริมแนวคิดชาตินิยมและการปฏิรูปสังคม[17]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย