เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)

พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (8 มกราคม พ.ศ. 2399 - 20 เมษายน พ.ศ. 2472) เป็นขุนนางชาวสยาม ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น องคมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ สมุหพระตำรวจ ต้นสกุล ศุภมิตร[1]

เจ้าพระยาราชศุภมิตร
(อ๊อด ศุภมิตร)
สมุหพระตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 มกราคม พ.ศ. 2399
เสียชีวิต20 เมษายน พ.ศ. 2472 (73 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงแปลก
หม่อมกอง
บุตร3
บุพการี
  • พระมหาสงคราม (ศุข) (บิดา)
  • ท่านเป้า (มารดา)
ภาพล้อเจ้าพระยาราชศุภมิตร ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ

เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีนามเดิมว่า อ๊อด เป็นบุตรพระมหาสงคราม (ศุข) กับท่านเป้า ธิดาพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) เกิดเมื่อเกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2399 (นับแบบใหม่)[2]

ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศิลปสารสราวุธ ถือศักดินา 800[3]ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นจมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ ถือศักดินา 1000[4]ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา 1500[5]และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็นพระราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000[6] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ประจำการในตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็ก[7]

วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นนายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500[8] ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร[9] อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ เป็น นายพันเอก[10] ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึงนายพลตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446[11]และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446[12]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถือน้ำตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[13] และราชองครักษ์ประจำการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2453[14] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหพระตำรวจตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 แทนพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) ที่ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ[15] วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ได้เลื่อนยศเป็นพระตำรวจเอก[16] และในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาราชศุภมิตร์ วัลลภานุศิษฏ์สุรเสนี เทพวัชรีศรีมหาสวามิภักดิ์พิเศษ วิเทศจิรวาสีอัคระวราภิบาล สุจริตไพศาลสุนทรพจน์ อดุลยยศราชองครักษ์ อัคระรัตนไตรยสรณธาดา เมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10,000[17]

ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาราชศุภมิตรได้ขอลาออกจากราชการ แต่ทรงตั้งท่านเป็นผู้กำกับการกรมพระตำรวจหลวงและพระราชทานเบี้ยบำนาญเป็นกรณีพิเศษ[18]

เจ้าพระยาราชศุภมิตร ป่วยด้วยโรคชรา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2472 ปีมะเส็ง สิริอายุ 73 ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน ประกอบศพเป็นเกียรติยศ[19] ได้รับพระราชทานเพลิงศพในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473 ณ เมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ยศ

  • นายหมู่ตรี
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่เอก[20]
  • 11 มกราคม 2455 – นายหมู่ใหญ่[21]
  • 4 มิถุนายน 2456 – นายกองตรี[22]
  • นายกองเอก
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายกองใหญ่[23]

ครอบครัว

เจ้าพระยาราชศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงแปลก ในปี พ.ศ. 2438 มีบุตรได้แก่ นางวิมลา บุรานนท์ ซึ่งสมรสกับนายประจวบ บุรานนท์ มีบุตรสามคน คือ

  1. พล.ต.ต. อังกูร บุรานนท์ (สามีของอดีตนางงามและอดีตนางเอกชื่อดังอมรา อัศวนนท์)
  2. นายประวิตร บุรานนท์
  3. นายทนง บุรานนท์

เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีภรรยาอีกหนึ่งคนคือหม่อมกอง และมีบุตรชายคือมหาเสวกตรี พระยาสมบัติบริหาร (เอื้อ ศุภมิตร)[18] ซึ่งส่งไปศึกษาเรื่องป่าไม้ที่ประเทศอินเดีย และรับราชการในกรมป่าไม้ ต่อมาได้เป็นพระยาพระคลังข้างที่ สมรสกับคุณหญิงฟองแก้ว บุตรีหลวงโยธการพิจิตร (หม่องปันโหย่ว) เจ้าของสัมปทานป่าไม้ของเชียงใหม่และกาดต้นลำไย เรือนโบราณในโรงแรมเพชรงาม จ.เชียงใหม่ ร้านอาหารเฮือนโบราณ มีบุตรคือ

  1. นางสุมิตรา และ
  2. ร.ต. อานนท์ ศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงพึงจิตต์ (บุตรีหลวงพลหาญสงคราม (จิตร อัคนิทัต) กับนางไสว อัคนิทัต)(ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2566) คุณข้าหลวงคนแรกในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีบุตรี 1 คน คือ นางจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีบุตรี 1 คนคือ ด.ญ.โสภิภาส์ ศุภมิตร ไล

ร.ต อานนท์ ศุภมิตร มีบุตรจากการสมรสครั้งก่อนๆ คือ1 นางอรอนงค์ -เรือเอกวินัย มงกุฎทอง2 นางอังศณา -มร. คาส อดัม 3 นายอดิศร ศุภมิตร4 นายศศิพงษ์ -นางรดา ศุภมิตร5. นางอุมาภรณ์ เลสลี6. นายศิริชัย-นางพนิดา ศุภมิตร

เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีบุตรที่เกิดกับนางทรัพย์ 1 คน คือคุณหญิงอิง อนุชิตชาญชัย ภริยาพระตำรวจโท พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย