เคนดริก ลามาร์

แร็ปเปอร์ นักร้อง และโปรดิวเซอร์จากแคลิฟอร์เนีย

เคนดริก ลามาร์ ดักเวิร์ธ (อังกฤษ: Kendrick Lamar Duckworth; เกิด 17 มิถุนายน ค.ศ. 1987) เป็นแร็ปเปอร์และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากการทำดนตรีแนวโพรเกรสซิฟแร็ปและการแต่งเพลงเกี่ยวกับจิตสำนึกทางสังคม เขามักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในศิลปินฮิปฮอปที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคของเขา[1][2] ลามาร์เกิดและเติบโตในคอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาเริ่มต้นอาชีพขณะยังเป็นวัยรุ่นภายใต้ชื่อในการแสดงว่า เค.ดอต ต่อมาได้รับความสนใจจากผู้คนในท้องถิ่นอย่างรวดเร็วและทำให้เขาได้เซ็นสัญญากับท็อปดอว์กเอนเตอร์เทนเมนต์ (TDE) ในปี 2005[3]

เคนดริก ลามาร์
ลามาร์ในงานพูลิตเซอร์ 2018
เกิดเคนดริก ลามาร์ ดักเวิร์ธ
(1987-06-17) มิถุนายน 17, 1987 (37 ปี)
คอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ชื่ออื่น
  • เค.ดอต
  • โอคลามา
การศึกษาโรงเรียนมัธยมเซนเทนเนียล
อาชีพ
  • แร็ปเปอร์
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
ปีปฏิบัติงาน2003–ปัจจุบัน
องค์การพีจีแลง
ตัวแทนเดฟฟรี
ผลงาน
  • ผลงานเพลง
  • รายชื่อเพลงที่บันทึก
  • ผลงานวิดีโอ
คู่รักวิตนีย์ อัลฟอร์ด
บุตร2 คน
ญาติ
  • เบบีคีม (ลูกพี่ลูกน้อง)
  • นิก ยัง (ลูกพี่ลูกน้อง)
รางวัลรายการทั้งหมด
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ค่ายเพลง
สมาชิกของ
  • แบล็กฮิปปี
เว็บไซต์kendricklamar.com

หลังจากกลายเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของซูเปอร์กรุป แบล็กฮิปปี ลามาร์หันไปใช้ชื่อจริงและชื่อกลางของเขาเป็นชื่อในวงการ ในปี 2011 เขาออกสตูดิโออัลบั้มแรก เซกชัน.80 ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก รวมถึงซิงเกิลเปิดตัวอย่าง "ไฮพาวเวอร์" ด้วย ในปี 2012 ลามาร์ได้เซ็นสัญญากับอาฟเตอร์แมธเอนเตอร์เทนเมนต์ของดร. เดร ภายใต้สังกัดของอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ และออกอัลบั้มชุดที่สอง กูดคิด, เอ็ม.เอ.เอ.ดี ซิตี ดนตรีเป็นแนวเวสต์โคสต์ฮิปฮอปและแก๊งสตาแร็ป อัลบั้มนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะซิงเกิลชื่อ "สวิมมิงพูลส์ (ดริง)", "แบ็กซีตฟรีสไตล์" และ "บิตช์, โดนต์คิลมายไวบ์"[4]

การไปเยือนแอฟริกาใต้เป็นแรงบันดาลใจให้กับอัลบั้มชุดที่สามของลามาร์ ทูพิมอะบัตเตอร์ฟลาย (2015) ซึ่งมีกลิ่นอายของดนตรีแจ๊ส[5] อัลบั้มได้รับคำสรรเสริญอย่างมากและกลายเป็นอัลบั้มแรกของเขาที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200[6] ในปีเดียวกัน เขายังขึ้นอันดับสูงสุดบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นครั้งแรกด้วยเพลงฉบับรีมิกซ์ "แบดบลัด" ของเทย์เลอร์ สวิฟต์[7] ลามาร์ได้ทดลองดนตรีแนวอาร์แอนด์บี ป็อป และไซเคเดลิกโซลในอัลบั้มชุดที่สี่ แดมน์ (2017) เพลง "ฮัมเบิล" กลายเป็นซิงเกิลเดี่ยวอันดับหนึ่งซิงเกิลแรกของเขาและยังเป็นผลงานชิ้นแรกที่ไม่ใช่เพลงคลาสสิกและเพลงแจ๊สที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทดนตรี[8] หลังจากห่างหายไปนานถึง 4 ปี ลามาร์ออกอัลบั้มชุดที่ห้า มิสเตอร์มอเรลแอนด์เดอะบิกสเต็ปเปอส์ (2022) นอกจากนั้นเขายังกำกับและผลิตมิวสิกวิดีโอหลายตัว และภาพยนตร์อีกหลายเรื่องร่วมกับเดฟฟรี รวมถึงก่อตั้งบริษัทร่วมกันในชื่อ พีจีแลง ในปี 2019

ลามาร์มียอดขายกว่า 70 ล้านชุดในสหรัฐ อัลบั้มทั้งหมดของเขาได้รับการรับรองระดับทองคำขาวหรือสูงกว่านั้นจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)[9] ตลอดอาชีพการงานของเขา ลามาร์ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลแกรมมี 14 รางวัล รางวัลไพรม์ไทม์เอมมี 1 รางวัล อเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2 รางวัล บิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ 6 รางวัล เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 11 รางวัล บริตอะวอดส์ 1 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในปี 2015 ลามาร์ได้รับรางวัลไอคอนแห่งยุคจากวุฒิสภารัฐแคลิฟอร์เนียและอยู่ในการจัดอันดับอีกมากมาย เช่น ไทม์ 100 และผู้ทรงอิทธิพลที่มีอายุไม่เกิน 30 ปีของฟอบส์[10][11] อัลบั้มของเขาถึงสามชุดอยู่ในรายชื่อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ของนิตยสาร โรลลิงสโตน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย