เขตมีนบุรี

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

มีนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ่

เขตมีนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Min Buri
ตลาดน้ำขวัญ-เรียม
ตราอย่างเป็นทางการของเขตมีนบุรี
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองปลา หญ้าดัง จังหวัดเก่า
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตมีนบุรี
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตมีนบุรี
พิกัด: 13°48′50″N 100°44′53″E / 13.81389°N 100.74806°E / 13.81389; 100.74806
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด63.645 ตร.กม. (24.573 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด141,018 คน
 • ความหนาแน่น2,215.70 คน/ตร.กม. (5,738.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10510
รหัสภูมิศาสตร์1010
ต้นไม้
ประจำเขต
พิกุล
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 333 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/minburi
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

เขตมีนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) ลำรางคูคต ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ถนนหทัยราษฎร์ ลำรางโต๊ะสุข คลองเจ๊ก ลำรางสามวา คลองสามวา ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) คลองลำบึงไผ่ และคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำต้นไทร และคลองลำนกแขวกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองบึงใหญ่ ลำรางตาทรัพย์ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาเสือ ลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า ลำรางคอวัง คลองสองต้นนุ่น และคลองลำนายโสเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว มีคลองลาดบัวขาว คลองแสนแสบ และคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต

คำว่า มีนบุรี แปลว่า "เมืองปลา" เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2445[3] โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า "เมืองข้าว"[3]

ประวัติ

เขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า "เมืองมีนบุรี"[4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้

ต่อมาใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ[5] เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2498[6] ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้ แยกจากตำบลทรายกองดินใน พ.ศ. 2505[7] และขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[8] ในปีถัดมา

อำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี หลังจากการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง และในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา[9] ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตมีนบุรีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกและคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่ง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทยอักษรโรมันพื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
มีนบุรีMin Buri
28.459
95,942
3,371.24
2.
แสนแสบSaen Saep
35.186
45,076
1,281.08
ทั้งหมด
63.645
141,018
2,215.70

ประชากร

ตราสัญลักษณ์ประจำเขต

ตราสัญลักษณ์ประจำเขตมีนบุรีมีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลาง พื้นหลังด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยวลี "สำนักงานเขตมีนบุรี" เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยสื่อความหมายถึงความเป็น "เมืองปลา" ตามความหมายของชื่อเมืองมีนบุรีในอดีต และปลาที่ขึ้นชื่อคือปลาตะเพียน[11]

การคมนาคม

ทางสายหลักในพื้นที่เขต ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

  • ถนนมีนพัฒนา เชื่อมถนนเสรีไทยเข้ากับถนนรามคำแหง
  • ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (บึงกระเทียม) เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนเสรีไทย
  • ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
  • ถนนสามวา เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
  • ถนนราษฎร์ร่วมใจ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
  • ถนนคุ้มเกล้า (วัดทองสัมฤทธิ์) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนเจ้าคุณทหารและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้
  • ถนนบึงขวาง เชื่อมถนนร่มเกล้าเข้ากับถนนสุวินทวงศ์
  • ซอยรามอินทรา 117 (เจริญพัฒนา) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา โดยมีถนนเจริญพัฒนาต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตคลองสามวา
  • ซอยร่มเกล้า 24 (การเคหะร่มเกล้า) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยมีถนนเคหะร่มเกล้าต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนราษฏร์พัฒนาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้
  • ซอยสุวินทวงศ์ 7 (บ้านเกาะ) และ ซอยราษฎร์อุทิศ 42 เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
  • ซอยสุวินทวงศ์ 13 (ชุมชนทองสงวน) เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ

การคมนาคมอื่น ๆ

ทางแยกในพื้นที่

โครงการคมนาคมในอนาคต

  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (สถานีมีนพัฒนา, สถานีเคหะรามคำแหง, สถานีมีนบุรี และ สถานีแยกร่มเกล้า) อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดให้บริการ

สถานที่สำคัญในเขตมีนบุรี

พิพิธภัณฑ์

  • พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองมีนบุรี (เรือนไม้สัก ศาลากลางจังหวัดมีนบุรีเดิม)
  • พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋ว และอู่เรือจิ๋ว

ตลาดและศูนย์สินค้าชุมชน

สวนสาธารณะ

  • สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีนบุรี

สถานที่สำคัญทางศาสนา

  • พระพุทธรังสีสวัสดิรังสรรค์ พระพุทธรูปประจำเมืองมีนบุรี ประดิษฐานอยู่ในซุ้มพระสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9
  • วัดบางเพ็งใต้
  • วัดบำเพ็ญเหนือ
  • วัดแสนสุข
  • วัดทองสัมฤทธิ์
  • วัดใหม่ลำนกแขวก
  • วัดศรีกุเรชา
  • ศาลเจ้าเจียวตี่เหล่าเอี๊ย
  • มัสยิดอัลฮุดา (คลองสามประเวศ)
  • มัสยิดอิดดฮาดร์อูลูมุดดีน (แสนแสบฝั่งใต้)
  • มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลามียะ (บ้านเกาะไผ่เหลือง)
  • มัสยิดซอลีฮุสสลาม (บางชัน)
  • มัสยิดอัลเอียะห์ซาน (ศาลาคู้)
  • มัสยิดอัตตั๊กวา (คลองสองต้นนุ่น)
  • มัสยิดซีรอยุดดีน (บ้านเกาะบัวขาว)
  • มัสยิดอัลบุ๊ชรอ (คลองสี่วังเล็ก)
  • มัสยิดนูรุลฮีดายะห์ (ไผ่เหลือง)
  • มัสยิดนูรุลอิสลาม (คูคต)
  • มัสยิดนูรุ้ลฮูดา (คลองสองต้นนุ่น)
  • มัสยิดกมาลุ้ลเอียะห์ซาน (แสงวิมาน)
  • มัสยิดอันนูรอยน์ (บึงขวาง)
  • มัสยิดอัลมาดานี (มัซกัร)
  • มัสยิดอะห์ลิสซุนนะห์วั้ลยะมาอะห์
  • มัสยิดนูรุ้ลญันนะฮ์

สถานศึกษา

  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า
  • โรงเรียนเทพอักษร
  • โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • โรงเรียนเซนต์มารีอามีนบุรี
  • วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
  • วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร
  • โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
  • โรงเรียนมีนบุรีศึกษา
  • โรงเรียนบึงขวาง(มหาดไทยอุปถัมป์)
  • ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ เขตมีนบุรี
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีมีบุรีโปลีเทคนิค
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเจริญพัมนาบริหารธุรกิจ

สนามกีฬา

อุตสาหกรรม

  • นิคมอุตสาหกรรมบางชัน (ส่วนเขตมีนบุรี)

สถานที่ราชการ

  • ศาลแพ่งมีนบุรี
  • ศาลอาญามีนบุรี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย