เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ

ซีรีส์มังงะญี่ปุ่น

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ[a] (ญี่ปุ่น: 【推しの子】, โรมาจิ: Oshi no Ko) เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น เขียนโดยอากะ อากาซากะและวาดภาพโดยเม็งโกะ โยโกยาริ เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารยังจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 มีการรวบรวมไว้เป็นเล่มทังโกบงถึงเล่มที่สิบสอง มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์รักพิมพ์ ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์โดยสตูดิโอโดงาโกโบ ฤดูกาลแรกออกฉาย 11 ตอนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2566 ฤดูกาลที่ 2 เริ่มกำหนดฉายในเดือนกรกฎาคม 2567 และฉบับละครโทรทัศน์ประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2567 และเริ่มฉายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ
ปกหนังสือ
【推しの子】
(Oshi no Ko)
แนว
มังงะ
เขียนโดยอากะ อากาซากะ
วาดภาพโดยเม็งโกะ โยโกยาริ
สำนักพิมพ์ชูเอชะ
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยรักพิมพ์
ในเครือยังจัมป์คอมิกส์
นิตยสารยังจัมป์รายสัปดาห์
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่23 เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม14 (ญี่ปุ่น)
12 (ไทย) (หนังสือ)
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยไดสุเกะ ฮิรามากิ
เขียนบทโดยจิน ทานากะ
ดนตรีโดยทาคุโร อิกะ
สตูดิโอโดงาโกโบ
ถือสิทธิ์โดย
เซ็นไตฟิล์มเวิร์ค
เครือข่ายโตเกียวเอ็มเอ็กซ์ CTC GTV SUN KBS BS11 SBS TVA tvk TVS GYT MRO KHB HOME TVh TVQ BSN AT-X
เครือข่ายภาษาไทยอนิ-วัน เอเชีย อนิ-วัน ไทยแลนด์ เน็ตฟลิกซ์ ปีลีปีลี อ้ายฉีอี้
ฉาย 12 เมษายน 2566 – ปัจจุบัน
ตอน11 (รายชื่อตอน)
icon สถานีย่อยการ์ตูนญี่ปุ่น

เรื่องย่อ

เรื่องราวของหมอหนุ่มโกโร่ที่ต้องช่วยทำคลอดให้ไอดอลสาวโฮชิโนะ ไอ ซึ่งเป็นไอดอลที่เขาชื่นชอบและคลั่งไคล้มาก ๆ เพราะเธอตั้งท้องอย่างลับ ๆ แต่ในวันที่จะทำคลอดโกโร่ถูกสาวกของไอที่แค้นเรื่องที่เธอตั้งท้องฆ่าตาย และเมื่อรู้สึกตัวอีกก็ได้มาเกิดใหม่เป็นลูกของไอดอลสาวที่เขาชอบ[3]

ตัวละคร

ตัวละครหลัก

โฮชิโนะ ไอ (星野 アイ, Hoshino Ai)
ให้เสียงโดย: ริเอะ ทากาฮาชิ[4] (ญี่ปุ่น); ขวัญกมล ขาวไพศาล (อังกฤษ); (ไทย)
รับบทแสดงโดย: อาซูกะ ไซโต[5]
โฮชิโนะ อควอมารีน (星野 愛久愛海, Hoshino Akuamarin) / อควอ (アクア, Akua)
ให้เสียงโดย: ทาเกโอะ โอตสึกะ (อควอตอนวัยรุ่น) ยูมิ อูจิยามะ (อควอตอนเด็ก) เค็นโตะ อิโต (โกโร่)[6] (ญี่ปุ่น); สรวิศ ตงเท่ง (อควอ) อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (โกโร่) (อังกฤษ); (ไทย)
รับบทแสดงโดย: ไคโตะ ซากุระอิ[5]
โฮชิโนะ รูบี้ (星野 瑠美衣, Hoshino Rubii)
ให้เสียงโดย: ยูริเอะ อิโงมะ (รูบี้) โทโมโยะ ทากายานางิ (ซารินะ)[6] (ญี่ปุ่น); สิษฐารัตน์ ปี่ทอง (รูบี้) ธัณรัชถ์ บุญรัตน์สุวรรณ (ซารินะ) (อังกฤษ); (ไทย)
รับบทแสดงโดย: นางิซะ ไซโตะ[5]
อาริมะ คานะ (有馬 かな, Arima Kana)
ให้เสียงโดย: เมงูมิ ฮัง[7] (ญี่ปุ่น); หลายบาท หลายสตางค์ (อังกฤษ); (ไทย)
รับบทแสดงโดย: นาโนะกะ ฮาระ[5]
คุโรคาวะ อากาเนะ (黒川 あかね, Kurokawa Akane)
ให้เสียงโดย: มานากะ อิวามิ [8]
รับบทแสดงโดย: มิซุกิ คายะชิมะ[5]

อิชิโกะโปรดัคชั่นส์

ไซโต อิจิโกะ (斎藤 壱護, Saitō Ichigo)
ให้เสียงโดย: ฮิซาโอะ เองาวะ (ญี่ปุ่น); ภาคภูมิ วันทอง (อังกฤษ); (ไทย)
ไซโต มิยาโกะ (斎藤 ミヤコ, Saitō Miyako)
ให้เสียงโดย: ลินน์ (ญี่ปุ่น); วิชยา หวังเชิดชูวงศ์ (อังกฤษ); (ไทย)
MEM-cho (MEMちょ)
ให้เสียงโดย: รูมิ โอกูโบะ[8] (ญี่ปุ่น); นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส (อังกฤษ); (ไทย)
รับบทแสดงโดย: อาโนะ[5]
Pieyon (ぴえヨン)
ให้เสียงโดย: ไทชิ มูราตะ

อุตสาหกรรมบันเทิง

ดารา/นักแสดง

Frill Shiranui (不知火 フリル, Shiranui Furiru)
ให้เสียงโดย: อาซามิ เซโตะ
Melt Narushima (鳴嶋 メルト, Narushima Meruto)
ให้เสียงโดย: Seiji Maeda
Minami Kotobuki (寿 みなみ, Kotobuki Minami)
ให้เสียงโดย: ฮินะ โยมิยะ
Yuki Sumi (鷲見 ゆき, Sumi Yuki)
ให้เสียงโดย: ซาโอริ โอนิชิ
Taiki Himekawa (姫川 大輝, Himekawa Taiki)

การผลิต

โกทันดะ ไทชิ (五反田 泰志, Gotanda Taishi)
ให้เสียงโดย: ยาซูยูกิ คาเซะ (ญี่ปุ่น); ภาคภูมิ วันทอง (อังกฤษ); (ไทย)
Masaya Kaburagi (鏑木 勝也, Kaburagi Masaya)
ให้เสียงโดย: มาซากิ เทราโซมะ
Yoriko Kichijouji (吉祥寺 頼子, Kichijōji Yoriko)
ให้เสียงโดย: ชิซูกะ อิโต
อาบิโกะ ซาเมะจิมะ (鮫島 アビ子, Samejima Abiko)
คามิกิ ฮิคารุ (カミキ ヒカル, Kamiki Hikaru)

ตัวละครอื่น ๆ

อีกาสาว

สื่อ

มังงะ

มังงะเกิดใหม่เป็นลูกโอชิ เขียนโดยอากะ อากาซากะและวาดภาพโดยเม็งโกะ โยโกยาริ เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารยังจัมป์รายสัปดาห์ แนวเซเน็ง ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2563[9][10] มีการรวบรวมไว้เป็นเล่มทังโกบง เล่มแรกออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563[11] และวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 วางจำหน่ายถึงเล่มที่สิบสอง[12]

มังงะเกิดใหม่เป็นลูกโอชิ มีลิขสิทธิ์ในไต้หวันโดยสำนักพิมพ์ Chingwin Publishing Group[13] ในประเทศเกาหลีใต้โดยสำนักพิมพ์ Daewon C.I.[14] ในประเทศอินโดนีเซียโดยสำนักพิมพ์ M&C![15] ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์รักพิมพ์[16] ในประเทศฝรั่งเศสโดยสำนักพิมพ์ Kurokawa [fr][17] ในประเทศเยอรมนีโดยสำนักพิมพ์ Altraverse[18] ในประเทศอิตาลีโดยสำนักพิมพ์ Edizioni BD [it][19] ในประเทศอาร์เจนตินาและประเทศสเปนโดยสำนักพิมพ์ Editorial Ivrea[20][21] และในประเทศโปแลนด์โดยสำนักพิมพ์ Studio JG[22]

หนังสือมังงะ

#วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับISBN ต้นฉบับวันที่ออกจำหน่ายภาษาไทยISBN ภาษาไทย
1 17 กรกฎาคม 2563[11]978-4-08-891650-717 พฤษภาคม 2564[16]978-616-574089-0
2 16 ตุลาคม 2563[23]978-4-08-891717-728 กรกฏาคม 2564[24]978-616-574294-8
3 19 กุมภาพันธ์ 2564[25]978-4-08-891801-311 มีนาคม 2565[26]978-616-574414-0
4 19 พฤษภาคม 2564[27]978-4-08-891872-36 เมษายน 2565[28]978-616-574454-6
5 18 สิงหาคม 2564[29]978-4-08-892056-628 กันยายน 2565[30]978-616-574623-6
6 19 พฤศจิกายน 2564[31]978-4-08-892135-822 กุมภาพันธ์ 2566[32]978-616-574675-5
7 18 กุมภาพันธ์ 2565[33]978-4-08-892224-9ไม่ทราบวันที่ออกจำหน่าย978-616-574744-8
8 17 มิถุนายน 2565[34]978-4-08-892363-531 พฤษภาคม 2566[35]978-616-574-781-3
9 19 ตุลาคม 2565[36]978-4-08-892429-830 มิถุนายน 2566[37]978-616-574-782-0
10 19 มกราคม 2566[38]978-4-08-892535-6
11 17 มีนาคม 2566[39]978-4-08-892630-8
12 19 กรกฎาคม 2566[12]978-4-08-892780-0
13 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[40]978-4-08-893002-2
14 18 เมษายน พ.ศ. 2567[41]978-4-08-893172-2
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ของไทยนำมาจากระบบสารสนเทศสำนักหอสมุดแห่งชาติ ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[42]

อนิเมะ

ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์และประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2565[43] ผลิตโดยสตูดิโอโดงาโกโบ กำกับโดยไดสุเกะ ฮิรามากิ โดยมีจาโอะ เนโกโตมิ เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ เขียนบทโดยจิน ทานากะ ออกแบบตัวละครโดยคันนะ ฮิรายามะ และดนตรีโดยทาคุโร อิกะ[44] ออกฉายตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนถึง 28 มิถุนายน 2566 ทางเครือข่ายโตเกียวเอ็มเอ็กซ์และเครือข่ายอื่น ๆ[45] สำหรับตอนแรกมีความยาว 90 นาที และเข้าฉายในวันที่ 17 มีนาคม ปีเดียวกันในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นบางแห่ง[46][47] เพลงเปิดชื่อเพลงว่า "ไอดอล" (アイドル, Aidoru) ร้องโดยวงดนตรีโยอาโซบิ ส่วนเพลงปิดชื่อเพลงว่า "เมฟิสโต [ja]" (メフィスト, Mefisuto) ร้องโดยวงดนตรีควีนบี[7][48]

ในงานอนิเมะเอ็นวายซี 2022 เซ็นไตฟิล์มเวิร์คประกาศว่าเป็นผู้ถือสิทธิ์ในฝั่งอเมริกาเหนือและมีการเผยแพร่ทาง Hidive[49][50] เมเดียลิงก์เป็นผู้ถือสิทธิ์ในฝั่งเอเชียแปซิฟิกและมีการเผยแพร่ทางช่องยูทูบอนิ-วัน เอเชีย[46] เน็ตฟลิกซ์[51] ปีลีปีลี[52] และอ้ายฉีอี้[53]

รายชื่อตอน

ตอนชื่อ [54][b]กำกับโดย [54]สตอรีบอร์ดโดย [54]วันฉายเดิม [55]
1"Mother and Children"ไดสุเกะ ฮิรามากิ จาโอะ เนโกโตมิ อาซามิ นากาตานิ เรียวตะ อิโต ซอง มิน คิมไดสุเกะ ฮิรามากิ จาโอะ เนโกโตมิ อาซามิ นากาตานิ12 เมษายน 2566 (2566-04-12)
2"ตัวเลือกที่สาม"
ถอดเสียง: "Mittsume no Sentakushi" (ญี่ปุ่น: 三つ目の選択肢)
ซอง มิน คิมโคจิ มาสึนาริ19 เมษายน 2566 (2566-04-19)
3"ละครที่สร้างจากการ์ตูน"
ถอดเสียง: "Manga Gensaku Dorama" (ญี่ปุ่น: 漫画原作ドラマ)
โคกิ อุจิโนะมิยะทาคุได คาคุจิ
เคนตะ โอนิชิ
26 เมษายน 2566 (2566-04-26)
4"ดารา"
ถอดเสียง: "Yakusha" (ญี่ปุ่น: 役者)
คุนิยาสึ นิชินะเรียวตะ อิโต3 พฤษภาคม 2566 (2566-05-03)
5"เรียลลิตี้โชว์หาคู่"
ถอดเสียง: "Ren'ai Riaritī Shō" (ญี่ปุ่น: 恋愛リアリティショー)
ซอง มิน คิมซอง มิน คิม10 พฤษภาคม 2566 (2566-05-10)
6"เสิร์ชชื่อตัวเอง"
ถอดเสียง: "Ego Sāchi" (ญี่ปุ่น: エゴサーチ)
คุนิยาสึ นิชินะคุนิยาสึ นิชินะ17 พฤษภาคม 2566 (2566-05-17)
7"ไวรัล"
ถอดเสียง: "Bazu" (ญี่ปุ่น: バズ)
ยาสุฮิโระ อิริเอะยาสุฮิโระ อิริเอะ24 พฤษภาคม 2566 (2566-05-24)
8"ครั้งแรก"
ถอดเสียง: "Hajimete" (ญี่ปุ่น: 初めて)
ไดสุเกะ ฮิรามากิโมเอะ ซูซูกิ ฮิโรอากิ โยชิกาวะ7 มิถุนายน 2566 (2566-06-07)
9"B โคมาจิ"
(ญี่ปุ่น: B小町)
โคกิ อุจิโนะมิยะ ซอง มิน คิม ไดสุเกะ ฮิรามากิฮิโรอากิ โยชิกาวะ14 มิถุนายน 2566 (2566-06-14)
10"แรงกดดัน"
ถอดเสียง: "Puresshā" (ญี่ปุ่น: プレッシャー)
ยูจิ โทคุโนะยูจิ โทคุโนะ21 มิถุนายน 2566 (2566-06-21)
11"ไอดอล"
ถอดเสียง: "Aidoru" (ญี่ปุ่น: アイドル)
คุนิยาสุ นิชินะ ไดสุเกะ ฮิรามากิซูมิเอะ โนโระ28 มิถุนายน 2566 (2566-06-28)

การตอบรับ

มังงะ

ในเดือนเมษายน 2564 เกิดใหม่เป็นลูกโอชิมียอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่ม[56] ในเดือนตุลาคม 2565 มียอดขายมากกว่า 3 ล้านเล่ม[4] ในเดือนมีนาคม 2566 มียอดขายมากกว่า 5 ล้านเล่ม[57] ในเดือนพฤษภาคม 2566 มียอดขายมากกว่า 8 ล้านเล่ม[58] และในเดือนกรกฎาคม 2566 มียอดขายมากกว่า 12 ล้านเล่ม[59]

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ อยู่ในอันดับที่ 11 ใน Kono Manga ga Sugoi! ของทาคาระจิมะชะ รายชื่อมังงะที่ดีที่สุดของปี 2564 สำหรับนักอ่านชาย[60] อยู่ในอันดับที่ 7 ในรายการปี 2565[61] อยู่ในอันดับ 4 ของ "การ์ตูนแนะนำสำหรับพนักงานร้านหนังสือทั่วประเทศปี 2564" โดยเว็บไซต์ Honya Club[62][63] อยู่ในอันดับที่ 13 ในรายการ "หนังสือแห่งปี" ประจำปี 2564 โดยนิตยสาร Da Vinci[64] อยู่ในอันดับที่ 25 ในรายการปี 2565[65] เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Manga Taishō ครั้งที่ 14 ในปี 2564 และอยู่ในอันดับที่ 5 ด้วยคะแนน 59 คะแนน[66][67] ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลครั้งที่ 15 ในปี 2565 และอยู่ในอันดับที่ 8 ด้วยคะแนน 49 คะแนน[68][69] ในเดือนสิงหาคม 2564 เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ได้รับรางวัล Next Manga Award ในหมวดหมู่พิมพ์[70] เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Shogakukan Manga Award ครั้งที่ 67 ในหมวดหมู่ทั่วไปในปี 2564[71] และรางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize ครั้งที่ 26 ในปี 2565[72] นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Kodansha Manga Award ครั้งที่ 46 ในหมวดหมู่ทั่วไปในปี 2565[73] อยู่อันดับที่ 5 ในการสำรวจความคิดเห็น "อนิเมะดัดแปลงที่ต้องการมากที่สุด" ครั้งที่ 5 ของ AnimeJapan ในปี 2565[74]

อนิเมะ

การฉายของอนิเมะได้รับการรายงานโดย Hidive ว่าเป็นการฉายที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริการสตรีมมิงในแง่ของจำนวนผู้ชมทั้งหมด สมาชิกใหม่ และการลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี[75][76] เพลงเปิดของโยอาโซบิ "ไอดอล" มียอดชมสตรีมและวิดีโอทั่วโลกถึง 100 ล้านครั้งบนสปอติฟายและยูทูบภายใน 2 สัปดาห์หลังจากอนิเมะออกฉาย[77]

ไลฟ์แอ็คชั่น

มีการประกาศในเดือน มกราคม พ.ศ. 2567 ว่าเกิดใหม่เป็นลูกโอชิ จะได้รับการทำเป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น ออกฉายทั่วโลกผ่าน แอมะซอนไพรม์วิดีโอ ในปีเดียวกัน และ ภาพยนตร์ ดัดแปลงฉบับคนแสดงจัดจำหน่ายโดยToei Company [78][79]ซีรีส์นี้มีกำหนดฉายรอบปฐมทัศน์ในวัน ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ซึ่งจะมีความยาวแปดตอน ในขณะที่ภาพยนตร์ เรื่องนี้จะฉายรอบปฐมทัศน์หลังจากซีรีส์นี้ในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 20 ธันวาคม ภาพยนตร์เรื่องนี้จะกำกับโดยสมิธ ในขณะที่ฮานะ มัตสึโมโตะ กำกับซีรีส์นี้ร่วมกับ Smith โดยเขียนบทโดย Ayako Kitagawa และแต่งเพลงโดย Fox Capture Plan[80]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย