สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน

6°13′6.88″S 106°48′9.04″E / 6.2185778°S 106.8025111°E / -6.2185778; 106.8025111

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน
GBK, SUGBK, Stadion Utama, Stadion Senayan
สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โนในเวลากลางคืน ค.ศ. 2020
แผนที่
ชื่อเดิมสนามกีฬาหลักเซอนายัน
(จนถึง 24 กันยายน ค.ศ. 1962)
สนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน (ค.ศ. 1969 – 17 มกราคม ค.ศ. 2001)
ที่ตั้งเกอโลรา ตานะฮ์อาบัง จาการ์ตาตอนกลาง ประเทศอินโดนีเซีย
ขนส่งมวลชน
  • อิซโตรามันดีรี
  • Koridor 1 Transjakarta Koridor 9 Transjakarta เกอโลราบุงการ์โน
  • Koridor 9 Transjakarta เซอนายัน เจซีซี
เจ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
(ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
ผู้ดำเนินการศูนย์จัดการศูนย์เกอโลราบุงการ์โน
ที่นั่งพิเศษ4[7]
ความจุ77,193 ที่นั่ง[5]
ประวัติที่นั่ง
  • 110,000 (1962–2007)
    88,306 (2007–2016)
    77,193 (2018–ปัจจุบัน)
สถิติผู้ชม150,000
เปอร์ซิบบันดุง ปะทะ พีเอสเอ็มเอส เมดัน
(23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985)[6][ไม่แน่ใจ ]
ขนาดสนาม105 โดย 68 เมตร (344 โดย 223 ฟุต)
พื้นผิวZeon Zoysia[1]
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม8 กุมภาพันธ์ 1960; 64 ปีก่อน (1960-02-08) (ทั้งอาคาร)
เปิดใช้สนาม21 กรกฎาคม 1962; 61 ปีก่อน (1962-07-21)
ปรับปรุง2016–2018
ปิด2016–2018
เปิดใหม่14 มกราคม 2018; 6 ปีก่อน (2018-01-14)
งบประมาณในการก่อสร้าง12,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 1958, ทั้งอาคาร)
769.69 พันล้านรูปียะฮ์ (ค.ศ. 2016–2018)[2]
สถาปนิกเฟรเดริค ซีลาบัน
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย
(บางนัด)
เปอร์ซีจาจาการ์ตา
(2008–2016, 2018–2020, 2021–ปัจจุบัน)[3][4]
เว็บไซต์
GBK.id/stadion-utama/

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน (อินโดนีเซีย: Stadion Utama Gelora Bung Karno) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนในเขตหมู่บ้านเกอโลรา ตำบลตานะฮ์อาบัง ใจกลางกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งชื่อตามซูการ์โนหรือ "บุงการ์โน" ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย[8] ส่วนมากใช้ในการแข่งขันฟุตบอล โดยมีความจุอยู่ที่ประมาณ 77,193 ที่นั่ง

ชื่อ

แม้ว่าสนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาเกอโลราบุงการ์โน (Stadion Gelora Bung Karno) หรือ สนามกีฬาเกเบกา (Stadion GBK) แต่ก็มีชื่อทางการว่า สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน เนื่องจากในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนยังมีสนามกีฬาอื่น ๆ อีก เช่น สนามกีฬาเทนนิส เป็นต้น ในยุคระเบียบใหม่ของอินโดนีเซีย ศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์กีฬาเกอโลราเซอนายัน" (Gelanggang Olahraga Gelora Senayan) ส่วนสนามกีฬาหลักของศูนย์ฯ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน (Stadion Utama Gelora Senayan) เมื่อ ค.ศ. 1969 ตามนโยบายเลิกทำให้เป็นซูการ์โน (de-Soekarnoisasi) ของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในขณะนั้น หลังจากซูฮาร์โตหมดอำนาจ ศูนย์กีฬาและสนามกีฬาหลักก็ถูกเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมโดยประธานาธิบดีอับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับหนึ่งซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2001

ประวัติ

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 และเสร็จในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1962[9] โดยการก่อสร้างได้รับเงินสนันบสนุนจากการกู้เงินมาจากสหภาพโซเวียตในบางส่วน โดยเมื่อสนามสร้างเสร็จ สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 108,000 คน แต่ในปัจจุบันก็เหลือเพียง 88,083 คน จากการปรับปรุงเพื่อการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007[10] โดยสนามจะแบ่งเป็น 24 ส่วน กับ 12 ทางเข้า เพื่อเข้าไปในพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่าง โดยคุณสมบัติพิเศษของสนามนี้คือการก่อสร้างหลังคาเหล็กขนาดใหญ่เป็นวงแหวนรอบสนาม โดยเรียกว่า "เตอมูเกอลัง" (แปลว่า แหวนที่บรรจบติดกัน) นอกจากการที่ไม่ให้ผู้ชมต้องนั่งชมตากแดดที่ร้อนแล้ว วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทำให้สนามนี้ดูยิ่งใหญ่อีกด้วย[11]

แกลลอรี

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Pour, Julius (2004), Dari Gelora Bung Karno ke Gelora Bung Karno (ภาษาอินโดนีเซีย), Jakarta: Grasindo, ISBN 978-979-732-444-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย