เกมบอยอัดวานซ์

(เปลี่ยนทางจาก เกมบอยแอ็ดวานซ์)

เกมบอยอัดวานซ์ (อังกฤษ: Gameboy Advance; ญี่ปุ่น: ゲームボーイアドバンスโรมาจิGēmu Bōi Adobansu) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพา 32 บิตที่พัฒนา ผลิต และวางจำหน่ายโดยนินเท็นโดในฐานะรุ่นสืบทอดของเกมบอยคัลเลอร์ วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ในภูมิภาค PAL เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และในจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้ชื่อ iQue Game Boy Advance ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2004 เกมบอยอัดวานซ์เป็นส่วนหนึ่งของยุคที่หกของเครื่องเล่นวิดีโอเกม

เกมบอยอัดวานซ์
Nintendo-Game-Boy-Advance-Purple-FL
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์สีคราม
ชื่อเรียกอื่นiQue Game Boy Advance (จีน)
ผู้พัฒนาNintendo R&D
ผู้ผลิตนินเท็นโด
ตระกูลเกมบอย[1]
ชนิดเครื่องเล่นเกมพกพา
รุ่นที่6
วางจำหน่าย
  • JP: 21 มีนาคม ค.ศ. 2001[3]
  • NA: 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001[2]
  • EU: 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001[4]
  • AU: 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001[5]
ราคาเบื้องต้นUS$99.99[6]
หน่วยขาย81.51 ล้าน (ข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010 (2010 -06-30))[7]
สื่อ
  • Game Boy Game Pak
  • Game Boy Color Game Pak
  • Game Boy Advance Game Pak
พลังงานแบตเตอรี่ 2 ก้อน × AA
หน่วยประมวลผลARM7TDMI @ 16.78 MHz, Sharp LR35902 (8080-derived) @ 8.388 หรือ 4.194 MHz
หน่วยความจำ32 KB ข้างใน, 256 KB ข้างนอก, 96 KB VRAM
การแสดงผลTFT LCD, 240 × 160 พิกเซล, 40.8 × 61.2 มม.[8]
มิติ82 x 144.5 x 24.5 มม.
เกมขายที่ที่สุดPokémon Ruby and Sapphire, 16.22 ล้านตลับ[9]
Backward
compatibility
รุ่นก่อนหน้าเกมบอยคัลเลอร์[10]
รุ่นต่อไปนินเท็นโด DS

ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มีการจำหน่ายเกมบอยอัดวานซ์ไป 81.51 ล้าหนน่วยทั่วโลก[7] นินเท็นโด DS เครื่องเล่นเกมรุ่นถัดมา ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004[11]

ฮาร์ดแวร์

  • ซีพียู: ใช้ซีพียูตระกูล ARM (ARM7TDMI) แบบ 32 บิต ที่ความเร็ว 16.8 MHz (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอยอัดวานซ์)

ใช้ซีพียูตระกูล Zilog Z-80 (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์)

  • หน้าจอแอลซีดี 2.9 นิ้ว ความละเอียด 240×160 พิกเซล สนับสนุนสีแบบ 15 บิต (32,768 สี)
  • ตลับเกมแบบคาทริดจ์
  • ใช้ถ่านไฟฉายขนาด AA 2 ก้อน

รุ่นต่าง ๆ ของเกมบอยอัดวานซ์

นอกจากเกมบอยอัดวานซ์รุ่นปกติแล้ว นินเทนโดยังวางจำหน่ายรุ่นปรับปรุงของเกมบอยอัดวานซ์อีก 2 รุ่น

เกมบอยอัดวานซ์ SP

เกมบอยอัดวานซ์ SP

วางจำหน่ายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 ชื่อ SP มาจากคำว่า "Special"

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ และเปลี่ยนดีไซน์มาเป็นแบบฝาพับ

เกมบอยไมโคร

เกมบอยไมโคร

วางจำหน่ายเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 เป็นเกมบอยขนาดย่อส่วน โดยยังคงคุณสมบัติของเกมบอยอัดวานซ์ไว้อย่างครบถ้วน แต่จะไม่สามารถเล่นตลับเก่าของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้

คำตอบรับ

ยอดขาย

ทางนินเท็นโดหวังขายเกมบอยอัดวานซ์ให้ได้ 1.1 ล้านหน่วยตอนเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นภายในเดือนมีนาคม และยอดขายที่คาดหวังที่ 24 ล้านหน่วยก่อนสิ้น ค.ศ. 2001; นักวิเคราะห์การตลาดหลายคนเชื่อว่านี่เป็นเป้าหมายที่เป็นจริงได้เนื่องจากบริษัทขาดคู่แข่งที่สำคัญในตลาดวิดีโอเกมพกพา[12] ภายในสัปดาห์แรกหลังออกจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อเดือนมิถุนายน เกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 500,000 หน่วย ทำให้เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วในสุดในสหรัฐในเวลานั้น ทำให้ทางนินเท็นโดสั่งเครื่องเล่นเกม 100,000 หน่วยเพื่อจัดส่งไปยังร้านค้าปลีก โดยหวังว่าจะจัดส่งอีกครึ่งล้านภายในสิ้นเดือนมิถุนายน[13] เกมบอยอัดวานซ์ยังเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยขายไปได้ 81,000 หน่วยในสัปดาห์แรก และทำลายสถิติของเพลย์สเตชัน 2 ที่ 20,000 หน่วย[14] ใน ค.ศ. 2004 มีการขายเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นนี้ในสหราชอาณาจักรมากกว่า 1 ล้านหน่วย[15]

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009 เกมชุดเกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 81.51 ล้านหน่วยทั่วโลก แบ่งออกเป็น Game Boy Advance SP 43.57 ล้านหน่วย และ Game Boy Micro 2.42 ล้านหน่วย[16]

หลังหยุดการพัฒนาเกมบอยอัดวานซ์ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดกลายเป็นเกมที่เน้นผู้เล่นเกมอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่[17]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย