อ้วนสุด

อ้วนสุด (อังกฤษ: Yuan Shu; จีนตัวย่อ: 袁术; จีนตัวเต็ม: 袁術; พินอิน: Yuán Shù) ชื่อรองว่า กงลู่ (ถึงแก่กรรมในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 199[1])[2] เป็นขุนพลทหาร นักการเมือง และขุนศึกชาวจีนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เขามีชื่อเสียงเลื่องลือในช่วงภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่นใน ค.ศ. 189[2] เขาได้ประกาศสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งจีน พระนามว่า พระเจ้าต๋องซือ ใน ค.ศ. 197 ภายใต้ราชวงศ์จงซื่อที่มีอายุสั้น สองปีก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม

อ้วนสุด
ภาพวาดของอ้วนสุดยุค ราชวงศ์ชิง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จง
เกิดพ.ศ. 698
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 742
สถานที่ถึงแก่กรรมตำบลกังเต๋ง เมืองฉิวฉุน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม袁術
อักษรจีนตัวย่อ袁术
ชื่อรองกงลู่
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
ชื่ออื่น ๆต๋องซือ

ช่วงชีวิต

ช่วงชีวิตแรก

อ้วนสุดเกิดในอำเภอยีเอ็ง(หรู่หยาง-汝陽縣) เมืองยีหลำ(หรู่หนาน) ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอชางฉุ่ย มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน ครอบครัวตระกูลของเขาเป็นกำลังที่สำคัญในราชการแผ่นดินฮั่นมานานกว่าสี่ชั่วอายุคน ได้สร้างสมาชิกจำนวนมากในตำแหน่งระดับสูงตั้งแต่ศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสตกาล ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากอ้วนอัน(หยวนอัน) ซึ่งเข้ารับราชการในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจาง อ้วนสุดเป็นบุตรชายของอ้วนฮอง(หยวนเฝิง-袁逢) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมโยธา และภรรยาเอกของเขา อ้วนสุดถูกอธิบายเป็นบางครั้งว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องที่อายุน้อยกว่า[3][4]ของขุนศึก อ้วนเสี้ยว แต่แท้จริงแล้ว เขาเป็นน้อยชายต่างมารดาของอ้วนเสี้ยวต่างหาก[a]

เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม เขาได้มีชื่อเสียงในด้านเจ้าชู้และชอบออกไปล่าสัตว์กับสุนัขและนกเหยี่ยว ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีความกตัญญูและมีประวัติดีงามที่เรียกว่า เสี้ยวเหลียน ต่อมาเขากลายเป็นสมุหเทศาภิบาลแห่งเมืองโห้หลำ(เหอหนาน) และต่อจากนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพแห่งสำนักพระราชวังของกรมเสือไวทะยาน(虎賁中郎將)[2]

การทัพปราบตั๋งโต๊ะ (ค.ศ. 189-191)

ภายหลังจากการตายของแม่ทัพโฮจิ๋น(22 กันยายน ค.ศ. 189) อ้วนสุดในฐานะผู้บัญชาการกองทัพน้อยจักรวรรดิแห่งกรมเสือไวทะยาน นำกำลังคนบุกเข้าไปสังหารพวกสิบขันที เมื่อตั๋งโต๊ะเข้ายึดการควบคุมของรัฐบาลส่วนกลางของราชวงศ์ฮั่น เขาต้องการที่จะแต่งตั้งอ้วนสุดให้เป็นแม่ทัพหลัง แต่ด้วยความกลัวที่มีต่อตั๋งโต๊ะ อ้วนสุดจึงหนีไปยังเมืองลำหยง(หนานหยาง)[5] ซึ่งเขาได้เข้าควบคุมภายหลังจากที่ซุนเกี๋ยนสังหารเจ้าเมืองนามว่า จางจึซ์[6]

อ้วนสุดได้เข้าร่วมการทัพต่อต้านตั๋งโต๊ะที่นำโดยอ้วนเสี้ยว เขาได้ร่วมมือกับซุนเกี๋ยน ซึ่งเขาได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งอิจิ๋ว[7] ซุนเกี๋ยนประสบความสำเร็จในการเอาชนะและสังหารแม่ทัพของตั๋งโต๊ะนามว่า ฮัวหยง(ค.ศ. 191)[8] แต่อ้วนสุดเริ่มรู้สึกหวาดระแวงว่าซุนเกี๋ยนจะมีผลงานที่ประสบความสำเร็จมากเกินไปและไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งของเขาอีกต่อไป และแอบไม่ยอมส่งเสบียงอาหารเป็นการชั่วคราวไปให้ซุนเกี๋ยนเพื่อเป็นการขัดขวางการรุกคืบของเขา เมื่อช่วงเวลาที่ซุนเกี๋ยนได้เดินทางมาถึงเมืองลกเอี๊ยง(ลั่วหยาง) ได้ถูกเผาทำลายโดยตั๋งโต๊ะ ซึ่งกองกำลังของเขาได้หนีไปทางตะวันตกสู่เมืองฉางอัน พร้อมทั้งพาจักรพรรดิไปด้วย อย่างไรก็ตาม ทหารของเขาได้พบตราหยกแผ่นดิน ซึ่งซุนเกี๋ยนได้นำไปมอบให้กับอ้วนสุด ผู้บังคับบัญชาของเขา[9]

ปกครองในเมืองลำหยงและตันหลิว (ค.ศ. 190-193)

การปกครองของอ้วนสุดนั้นในเมืองลำหยงนั้นคอยแต่จะกดขี่ข่มเหง[10] ภายหลังจากการแตกแยกของแนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะใน ค.ศ. 191 เขาได้แก่งแย่งชิงอำนาจกับอ้วนเสี้ยวเพื่อควบคุมภาคเหนือของจีน โดยแต่ละฝ่ายได้จัดตั้งพันธมิตรที่เป็นคู่ปรับกัน อ้วนสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรกับกองซุนจ้าน คู่ปรับทางเหนือของอ้วนเสี้ยว และอ้วนเสี้ยวได้จับมือเป็นพันธมิตรกับเล่าเปียว คู่ปรับทางใต้ของอ้วนสุด[11] อ้วนสุดจึงส่งซุนเกี๋ยนไปโจมตีเล่าเปียว แต่ขุนพลของเขากลับถูกฆ่าตายในยุทธการที่ซงหยง(ค.ศ. 191) ซุนเปิน หลานชายของซุนเกี๋ยนได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาในฐานะขุนพลทหารของอ้วนสุดและผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งอิจิ๋ว ภายหลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้และด้วยความไม่เป็นที่นิยมของเขาเนื่องจากระบอบการปกครองที่ฟุ่มเฟือยของเขาในเมืองลำหยง อ้วนสุดได้ย้ายที่พำนักของเขาไปยังเมืองตันหลิว(เฉินหลิว) และขยายอิทธิพลไปยังแคว้นเองจิ๋วใน ค.ศ. 192[12]

ขุนศึกในอำเภอฉิวฉุน (ค.ศ. 193-197)

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 193 อ้วนสุดได้ประสบความพ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น ยุทธการที่เฟิงชิว โดยกองทัพผสมของโจโฉและอ้วนเสี้ยว[13] เขาได้หนีไปยังอำเภอฉิวฉุนในเมืองกิวกั๋ง(จิ่วเจียง) บนชายฝั่งทางใต้ของแม่น้ำหวง จากกองบัญชาการแห่งใหม่ของเขา เขาได้สร้างรัฐขุนศึกที่ทรงอำนาจ เขาได้ปลดผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งเองจิ๋วนามว่า เฉินเหวิน และเข้ารับตำแหน่งด้วยตัวเอง โดยยังกล่าวอ้างว่าเป็นผู้ครองแคว้นชีจิ๋ว[14]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 194 ถึงต้นปี ค.ศ. 197 ซุนเซ็ก บุตรชายของซุนเกี๋ยนและน้องชายภรรยาของเขานามว่า งอเก๋ง ได้พิชิตดินแดนต่าง ๆ หลายแห่งในกังตั๋ง(เจียงตุง)ในนามของอ้วนสุด เขาไม่ค่อยที่จะประสบความสำเร็จในการขยายการปกครองในแคว้นชีจิ๋ว ซึ่งเขาต้องต่อสู้รบกับเล่าปี่และลิโป้ ซึ่งฝ่ายหลังได้จับมือกับอ้วนสุดในช่วงเวลาสั้นใน ค.ศ. 196 แต่ก็ต้องทรยศหักหลังเขาอีกครั้งและขับไล่เขาให้กลับไปยังอำเภอฉิวฉุน[15]

จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จงซื่อ (ค.ศ. 197-199)

อ้วนสุดได้ประกาศสถาปนาตั้งตนเป็นจักรพรรดิภายใต้ราชวงศ์จงซื่อ(仲氏) ที่มีอายุสั้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 197[16] โดยอ้างถึงความเชื่อคำทำนายเป็นเหตุผลของเขา รวมถึงตัวอักษรจีนสำหรับชื่อของเขาคำว่า สุด(ชู่) และชื่อรองว่า กงลู่ และการครอบครองตราหยกแผ่นดินซึ่งซุนเกี่ยนผู้ล่วงลับได้มอบให้แก่เขา การกระทำที่บ้าบิ่นนี้ทำให้เขาได้ตกเป็นเป้าของขุนศึกคนอื่น ๆ วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยและความหยิ่งจองหองของเขาทำให้เหล่าผู้ติดตามของเขาหลายคนต่างพากันตีจากเขาไป ด้วยความเสียหายอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการตีจากไปและการแปรพักตร์ ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งอ้วนสุดเป็นการส่วนตัวและต่อความแข็งแกร่งของกองทัพของเขา โดยซุนเซ็กซึ่งได้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของกังตั๋งภายใต้ธงของอ้วนสุด ภายหลังจากความพ่ายแพ้อย่างราบคาบโดยกองทัพผสมของโจโฉ เล่าปี่ และลิโป้ อ้วนสุดได้พยายามหลบหนีไปทางเหนือเพื่อเข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยว อ้วนเสี้ยวได้ส่งบุตรชายคนโตนามว่า อ้วนถำ เพื่อพยายามช่วยเหลืออ้วนสุด แต่อย่างไรก็ตาม พันธมิตรระหว่างสองพี่น้องตระกูลที่เกลียดชังกันมานานจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากอ้วนถำมาช้าเกินไป และกองกำลังของอ้วนสุดถูกขัดขวางและบีบบังคับให้ล่าถอยกลับไปยังอำเภอฉิวฉุนโดยเล่าปี่[17] ภายหลังจากนั้นได้ไม่นาน เขาได้เสียชีวิตลงด้วยความอดอยาก ไม่สามารถกลืนอาหารหยาบที่ทหารของเขากินได้ คำขอครั้งสุดท้ายของเขาคือขอน้ำผสมน้ำผึ้งมาดื่มแก้กระหาย ซึ่งทหารของเขากลับไม่มีเลย[18]

ครอบครัวตระกูล

  • ปู่: อ้วนถัง หรือ หยวนทาง (袁湯)
  • บิดา: อ้วนฮอง หรือ หยวนเฝิง (袁逢)
  • พี่น้อง:
  • ลูกพี่ลูกน้อง:
    • อ้วนอุ๋ย หรือ หยวนอี๋, ลูกพี่ลูกน้องคนโต
    • อ้วนอิ๋น หรือ หยวนอิ๋น (袁胤), ลูกพี่ลูกน้องคนเล็ก
  • คู่ครอง: เฝิงซื่อ (馮氏), บุตรสาวของเฝิงฝาง (馮方)
  • บุตร:
    • หยวนเหย้า (袁耀), บุตรชาย.ภายหลังจากอ้วนสุดถึงแก่กรรม, หยวนเหย้าและครอบครัวของเขาได้หนีไปยังเมืองโลกั๋ง(ลู่เจียง) เพื่อเข้าร่วมกับขุนศึกน้อยนามว่า เล่าชุน ภายหลังซุนเซ็กได้เอาชนะเล่าชุนและพิชิตเมืองโลกั๋ง หยวนเหย้าถูกจับกุมและในท้ายที่สุดได้ทำงานในฐานะขุนนางแห่งสำนักพระราชวัง (郎中) ในรัฐง่อก๊กของซุนกวน(น้องชายของซุนเซ็ก). บุตรสาวของหยวนเหย้าได้แต่งงานกับซุนเฟิน(孫奮), บุตรชายคนที่ห้าของซุนกวน
    • อ้วนฮูหยิน (袁夫人), บุตรสาว, ชื่อไม่อาจระบุได้, กลายเป็นหนึ่งในอนุภรรยาของซุนกวน ภายหลังจากนางและพี่ชายของนางถูกจับกุม นางเป็นที่รู้จักในด้านอุปนิสัยที่ดีแต่ไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ซุนกวนได้ปล่อยให้นางเลี้ยงดูบุตรที่เกิดจากอนุภรรยาคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม บุตรทั้งหมดที่นางเลี้ยงต่างเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อปู้ฮูหยินสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 238 ซุนกวนต้องการที่จะแต่งตั้งอ้วนฮูหยินให้เป็นฮองเฮา แต่อ้วนฮูหยินได้ปฏิเสธพร้อมให้เหตุผลว่านางไม่มีบุตร
    • อ้วนฮูหยินคนที่สอง (袁夫人), บุตรสาว, ชื่อไม่อาจระบุได้, ซึ่งแต่งงานกับ Huang Yi (黃猗)
  • ญาติ:
    • อ้วนหงุย หรือ หยวนเว่ย (袁隗), อา
    • Yang Biao (楊彪), brother-in-law
    • He Kui (何夔), distant cousin

อ้างอิง

สิ่งที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย