อโรคา ปาร์ตี้

อโรคา ปาร์ตี้ (อังกฤษ: AROKA PARTY) เป็นรายการวาไรตี้โชว์เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นรายการวาไรตี้โชว์จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า (ญี่ปุ่น: 最終警告!たけしの本当は怖い家庭の医学โรมาจิSaijyuukeikoku! Takeshi no hontou wa Kowaikatei no igaku) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Medical Horror Check Show" ซึ่งเรียกห้องส่งของรายการว่า Black Hospital ผลิตขึ้นโดยบริษัท ทีวีอาซาฮี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกผลิตขึ้นให้ผู้คนหวาดกลัว (ต่อโรคที่เป็นแล้วจะมีลักษณะใด)

อโรคา ปาร์ตี้
ภาพตราสัญลักษณ์รายการอโรคา ปาร์ตี้
ภาพตราสัญลักษณ์รายการอโรคา ปาร์ตี้
ประเภทวาไรตี้
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยธงชัย ประสงค์สันติ
พอลลีน เต็ง
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน77 ตอน (นับถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2552)
การผลิต
ความยาวตอน45 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี
ออกอากาศ6 มีนาคม พ.ศ. 2551 –
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับโรงพยาบาลพญาไท โดยใช้ชื่อว่า "อโรคา ปาร์ตี้" ดังกล่าว โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.05 น. - 22.50 น. (จากนั้นเลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 22.15 น. - 23.00 น. และจะเปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ ออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินรายการโดย ธงชัย ประสงค์สันติ และ หมอพี (ทันตแพทย์หญิง พอลลีน เต็ง) โดยใช้คำปรัชญาประจำรายการว่า "อโรคาปาร์ตี้ วาไรตี้ไม่มีโรค"รายการอโรคาปาร์ตี้นำมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 มกราคม 2553 เวลา 20.15 - 21.10 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์โดยใช้ชื่อรายการเป็น ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ แทน อโรคาปาร์ตี้

ลักษณะรายการ

เป็นรายการวาไรตี้ที่ให้ความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ว่า เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะมีอาการอย่างไรบ้าง ภายในรายการจะมีแขกรับเชิญ 5 คนเข้ามาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโรคที่จะนำเสนอในสัปดาห์นั้น ๆ ซึ่งทั้ง 5 คนที่เชิญเข้ามาจะมีลักษณะที่คาดว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่จะนำมาเสนอหรือไม่ และมีแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไทที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคมาให้ความรู้และตอบปัญหาข้อสงสัยของแขกรับเชิญทั้ง 5 คนได้

ประวัติการทำรายการ

  • ปี พ.ศ. 2551
    • ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551
    • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้เพิ่มช่วง "อโรคา การ์ตูน" เกี่ยวกับตอบปัญหาสั้น ๆ ผ่านทางการ์ตูน, สิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และกลับมาเสนออีกครั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2551 และยกเลิกการนำเสนอไปในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 แต่เปลี่ยนมาเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคลอเลสเตอรอลแทน
    • 4 กันยายน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนเพลงประกอบรายการ เป็นครั้งที่ 2 และเปลี่ยนเนื้อหาช่วงละครให้น่าสนใจมากขึ้น
  • ปี พ.ศ. 2552
    • 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เริ่มการเปิดโอกาสให้ผู้ชมรายการส่ง SMS เข้ามาร่วมสนุก โดยทายว่าผู้ร่วมรายการท่านใดจะเป็นผู้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ RED ZONE ผู้ที่ทายถูก 5 ท่านแรก จะได้รับรางวัลเพื่อสุขภาพจากโรงพยาบาลพญาไท
    • 16 เมษายน พ.ศ. 2552 เปลี่ยนเพลงประกอบรายการ เป็นครั้งที่ 3, และเพิ่มช่วง "ชีพจร ขึ้นหัว" และ "โบราณ บานบุรี"
    • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ลดจำนวนแขกรับเชิญเหลือ 4 คน
    • 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.
    • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ออกอากาศเป็นเทปสุดท้าย
  • ปี พ.ศ. 2553
    • 2 มกราคม พ.ศ. 2553 กลับมาออกอากาศอีกครั้งทาง ททบ.5 ทุกวันเสาร์ 20.15 น.- 21.05 น. โดยใช้ชื่อว่า ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นเกมโชว์ควิซโชว์
  • ปี พ.ศ. 2557
    • 12 มกราคม พ.ศ. 2557 กลับมาออกอากาศอีกครั้งทาง ททบ.5 ทุกวันอาทิตย์ 17.00 น.- 17.50 น. โดยใช้ชื่อว่า อโรคา ปาร์ตี้ 2014 โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นวาไรตี้เกมโชว์ควิซโชว์ โดยที่พิธีกรเป็น สมพล ปิยะพงศ์สิริ และ ทันตแพทย์หญิง พอลลีน (ล่ำซำ) เต็ง

รายชื่อตอนที่ออกอากาศ

ตอนที่วันที่ออกอากาศชื่อตอน
16 มีนาคม 2551โรคหยุดหายใจ
213 มีนาคม 2551โรคกระดูกข้อต่อหัวสะโพกตาย
320 มีนาคม 2551โรคกระจกตาเปื่อย
427 มีนาคม 2551โรคเนื้องอกในโสตประสาท
53 เมษายน 2551โรคมะเร็งรังไข่
610 เมษายน 2551โรคฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน
717 เมษายน 2551โรคเส้นเลือดในสมองแตกชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของไต
824 เมษายน 2551โรคลดความอ้วน
91 พฤษภาคม 2551โรคเครียด
108 พฤษภาคม 2551โรคมะเร็งปอดฉับพลัน (Epidermoid Carcinoma)
1115 พฤษภาคม 2551โรคไขสันหลังตึงรั้ง
1222 พฤษภาคม 2551โรคมะเร็งมดลูก
135 มิถุนายน 2551โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
1419 มิถุนายน 2551โรคตุ่มพุพอง
1526 มิถุนายน 2551โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
163 กรกฎาคม 2551โรคติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง
1710 กรกฎาคม 2551โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1817 กรกฎาคม 2551โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ
1924 กรกฎาคม 2551โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
2031 กรกฎาคม 2551โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากช่องปากชนิดรุนแรง (Descending Necrotizing Mediastinitis)
217 สิงหาคม 2551โรคมะเร็งทางเดินอาหาร
2214 สิงหาคม 2551โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Dermatomyositis)
2321 สิงหาคม 2551โรคจอประสาทตาหลุดลอก
2428 สิงหาคม 2551โรคกล้ามเนื้อลีบ
254 กันยายน 2551โรคต้อหิน
2611 กันยายน 2551โรคนอนไม่เป็นเวลา (Circadian Rhythm Sleep Disorder)
2718 กันยายน 2551โรคภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ (Electrolytes Imbalance)
2825 กันยายน 2551โรคมะเร็งตับอ่อน
292 ตุลาคม 2551โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
309 ตุลาคม 2551โรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle Pain Syndrome)
3123 ตุลาคม 2551โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
3230 ตุลาคม 2551โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
336 พฤศจิกายน 2551โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (Acromegaly)
3413 พฤศจิกายน 2551โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน
3520 พฤศจิกายน 2551โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
3627 พฤศจิกายน 2551โรคเบาหวานประเภทที่ 1 แบบรุนแรง
374 ธันวาคม 2551โรคมะเร็งกล่องเสียง
3811 ธันวาคม 2551โรคอ่อนเพลียเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
3918 ธันวาคม 2551โรคลิ่มเลือดอุดตัน (Lung Infraction)
4025 ธันวาคม 2551โรคเชื้อราในโพรงไซนัส
411 มกราคม 2552โรคเนื้องอกที่ไต
428 มกราคม 2552โรคเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมอง
4315 มกราคม 2552โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)
4422 มกราคม 2552โรคมะเร็งชนิดที่เกิดจากไฝ (Melanoma)
4529 มกราคม 2552โรคหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดที่เกิดจากการกดทับของกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cerebral Infarction)
465 กุมภาพันธ์ 2552โรคข้อเข่าเสื่อม
4712 กุมภาพันธ์ 2552โรคแท้งลูกเพราะภูมิแพ้ตัวเอง (Antiphospholipid Antibody Syndrome)
4819 กุมภาพันธ์ 2552โรคกล้ามเนื้อที่คอเกร็งบิด
495 มีนาคม 2552โรคถุงลมโป่งพอง
5012 มีนาคม 2552โรคเส้นเลือดลำไส้อุดตัน
5119 มีนาคม 2552โรคพาร์กินสัน
5226 มีนาคม 2552โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
532 เมษายน 2552โรคเบาหวานแฝงเร้น
5416 เมษายน 2552โรคต้อหินฉับพลัน
5523 เมษายน 2552โรคมะเร็งปอดเรื้อรัง (Lung Cancer)
5630 เมษายน 2552โรคเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีก (Rotator Cuff Injury)
577 พฤษภาคม 2552โรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder)
5814 พฤษภาคม 2552โรคแพ้อากาศ
5921 พฤษภาคม 2552โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute Promyelocytic Leukemia)
6028 พฤษภาคม 2552โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere's Disease)
614 มิถุนายน 2552โรคกระดูกพรุน
6211 มิถุนายน 2552โรคมะเร็งเต้านม
6318 มิถุนายน 2552โรคกระเปาะทวารหนัก (Rectocele)
6425 มิถุนายน 2552โรคหลอดเลือดลำคออุดตัน
656 กรกฎาคม 2552โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
6613 กรกฎาคม 2552โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ
6720 กรกฎาคม 2552โรคสมองตาย
6827 กรกฎาคม 2552โรคจอประสาทตาเสื่อม
693 สิงหาคม 2552โรคหอบหืด
7010 สิงหาคม 2552โรคเส้นเลือดโป่งพองที่บริเวณขา
7117 สิงหาคม 2552โรคการติดเชื้อวัณโรคในเยื่อหุ้มสมอง
7224 สิงหาคม 2552โรคผนังลำไส้อักเสบ
7331 สิงหาคม 2552โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
747 กันยายน 2552โรคลิ้นหัวใจรั่ว
7514 กันยายน 2552โรคงูสวัด
7628 กันยายน 2552โรคไตเสื่อมเรื้อรัง
775 ตุลาคม 2552โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การออกอากาศ

  • 29 พฤษภาคม 2551 งดออกอากาศ
  • 12 มิถุนายน 2551 งดออกอากาศ
  • 16 ตุลาคม 2551 งดออกอากาศ
  • 26 กุมภาพันธ์ 2552 งดออกอากาศ
  • 9 เมษายน 2552 งดออกอากาศ
  • 21 กันยายน 2552 งดออกอากาศ

ปัญหาของการออกอากาศ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 รายการก็หลุดออกจากผังช่อง 9 เนื่องจากความผิดพลาดในการสื่อสารและประสานงานกันของบริษัทกับสถานี

รายละเอียดรายการ

ในส่วนของการดำเนินรายการจะมีการนำเสนอโรคประจำสัปดาห์ที่ออกอากาศ โดยมีลำดับการดำเนินรายการอย่างเป็นขั้นตอนดังนี้

ช่วงเกริ่นนำ

พิธีกรทั้ง 2 ท่านจะพูดคุยกับแขกรับเชิญทั้ง 5 คนในเรื่องการดูแลสุขภาพ และอาการที่แขกรับเชิญได้บอกว่าเป็นแบบนั้นบ่อย ๆ โดยที่เนื้อหาการคุยกันจะเกี่ยวข้องกับโรคที่จะนำเสนอ

ช่วงละคร

ช่วงละครนั้น จะเป็นละครที่จำลองมาจากเหตุการณ์จริง ถึงผู้ที่ป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคนี้ โดยมีผู้บรรยายเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ซึ่งจะบรรยายอาการของโรคที่จะนำเสนอดังกล่าวว่า มีอาการอย่างไรบ้าง และลักษณะของผู้ที่ป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ลักษณะเนื้อหาของละครนั้น จะมีลักษณะน่ากลัวคล้ายกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เพื่อให้รู้ว่า อาการของโรคนั้น เป็นแล้วน่ากลัวมากแค่ไหน

หลังจากที่ละครได้ดำเนินมาถึงอาการขั้นสุดท้ายของโรค ผู้บรรยายจะเฉลยชื่อโรคที่นำเสนอพร้อมบรรยาย และเตือนผู้ชมทางบ้านว่า อาการลักษณะใดที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งข้อความคำพูดมักจะบอกว่า "คุณ (มีอาการตามลักษณะที่เสี่ยงต่อโรค) หรือไม่... หากปล่อยไว้เป็นเช่นนี้ คุณอาจเป็นผู้โชคร้ายคนต่อไปก็ได้..."

ช่วงตรวจอาการ

ก่อนที่แขกรับเชิญทั้ง 5 คนเข้าร่วมรายการนั้น จะมีการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่จะนำเสนอที่โรงพยาบาลพญาไท แล้วเข้ามาฟังผลในรายการ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว จะถูกเชิญเข้าไปนั่งในพื้นที่สีแดง (RED ZONE) หรือพื้นที่อันตราย ซึ่งแต่ละสัปดาห์ อาจมีแขกรับเชิญเข้าไปนั่งในพื้นที่สีแดงมากกว่า 1 คนหรือไม่มีก็ได้

ต่อมา ทางรายการได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการตรวจอาการ ให้ดูมีสาระและดูไม่น่ากลัวมากขึ้น โดยการแบ่งสีออกเป็น 4 สี นั่นคือ แดง ส้ม เหลือง และ เขียว ซึ่งบ่งบาอกลักษณะสุขภาพว่า ยังปลอดภัยจากโรคที่นำเสนอหรือไม่ โดยมีป้ายตามหมายเลขกำกับ เมื่อพิธีกรเปิดป้ายแล้วเป็นแขกรับเชิญคนใด แขกรับเชิญคนนั้นจะมีความเสี่ยงตามป้ายดังกล่าว ในบางครั้งในแต่ละป้ายอาจจะมีมากกว่าหนึ่งคนหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการแบ่งอัตราความเสียงจะเป็นดังนี้

  • ██ สีแดง (ป้ายหมายเลข 1) คือ มีความเสียงมากที่เป็นโรคนี้ จะต้องเข้าไปในพื้นที่สีแดง (RED ZONE)
  • ██ สีส้ม (ป้ายหมายเลข 2) คือ มีความเสี่ยงปานกลาง
  • ██ สีเหลือง (ป้ายหมายเลข 3) คือ มีความเสียงน้อย
  • ██ สีเขียว (ป้ายหมายเลข 4) คือ ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้

ช่วงท้ายรายการ

หลังจากนั้น จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรคประจำสัปดาห์จากโรงพยาบาลพญาไท มาให้ความรู้พร้อมกับอธิบายโรคดังกล่าวโดยละเอียด และตอบคำถามของแขกรับเชิญต่าง ๆ ที่สงสัย เพื่อให้มีวิธีรักษาและป้องกันโรคดังกล่าวได้

ช่วงพิเศษ

ทางรายการ ได้นำเอาช่วงพิเศษ มาเป็นสาระความรู้เพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดดังนี้

กระแสตอบรับ

มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก [ต้องการอ้างอิง] ว่ารายการนี้นำเสนอให้ประชาชนมีความหวาดกลัวในโรคต่างๆ เกินจริง และร้องขอการตรวจทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะความเครียดเพราะความกังวลดังกล่าวได้ในที่สุดจะเห็นได้จากการนำเสนออย่างเกินจริงในบางโรคซึ่งมิใช่โรคที่พบได้ทั่วไป แต่พบได้น้อยถึงน้อยมาก กลับมาทำให้หวาดกลัวกันในประชาชนหมู่มาก จึงนับว่าเป็นดาบสองคมของการบริโภคสื่อ ของผู้รักสุขภาพในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี รายการดังกล่าวก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดี ทำให้ผู้คนหมั่นใส่ใจในสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย