อะเล็กซานเดรีย

(เปลี่ยนทางจาก อเล็กซานเดรีย)

อะเล็กซานเดรีย[6] (อังกฤษ: Alexandria, ออกเสียง: /ˌælᵻɡˈzændriə/ หรือ /ˌælᵻɡˈzɑːndriə/) หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอิสกันดะรียะฮ์ (อาหรับ: الإسكندرية; กรีก: Ἀλεξάνδρεια) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญทอดตัวยาวประมาณ 32 กม. (20 ไมล์) ตามแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในส่วนกลางของภาคเหนือของประเทศ ระดับความสูงของพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อะเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ เนื่องจากมีการต่อเชื่อมท่อแก๊สธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันจากเมืองสุเอซ และเมืองนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต์ด้วย

อะเล็กซานเดรีย
เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
ทัศนียภาพของเขตชัฏบย์และถนนคลองสุเอช; เส้นขอบฟ้าของเขตตะวันออก (เขตชารก์); สะพานสแตนเลย์; พระราชวังมุนตซาฮ์; หอสมุดอะเล็กซานเดรียและรูปปั้นของฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส; ศูนย์วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหอดูดาว (พร้อมกับถนนตามหน้าผา [Corniche] อยู่ด้านหลัง)
ธงของอะเล็กซานเดรีย
ธง
สมญา: 
Mediterranean's Bride, ไข่มุกแห่งเมดิเตอร์เรเนียน, อะเล็กซ์
อะเล็กซานเดรียตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย
ตำแหน่งในประเทศอียิปต์
อะเล็กซานเดรียตั้งอยู่ในแอฟริกา
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย (แอฟริกา)
พิกัด: 31°11′51″N 29°53′33″E / 31.19750°N 29.89250°E / 31.19750; 29.89250
ประเทศอียิปต์
เขตผู้ว่าราชการอะเล็กซานเดรีย
ก่อตั้ง331 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อตั้งโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการMohamed Taher El-Sherif[1][2]
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,661 ตร.กม. (641 ตร.ไมล์)
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2022[3])
 • ทั้งหมด6,050,000 คน
 • ความหนาแน่น3,600 คน/ตร.กม. (9,400 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวอะเล็กซานเดรีย (อาหรับ: إسكندراني)
เขตเวลาUTC+2 (เวลามาตรฐานอียิปต์)
รหัสไปรษณีย์21500
รหัสพื้นที่(+20) 3
เว็บไซต์alexandria.gov.eg
r
Z1
a
A35t

niwt
r-ꜥ-qd(y)t (อะเล็กซานเดรีย)[4][5]
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ประวัติศาสตร์

ยุคโบราณ

เชื่อกันว่าเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandreia; กรีกโบราณ: Ἆλεξάνδρεια) ก่อตั้งโดย อเล็กซานเดอร์มหาราช ในเดือนเมษายน 331 ปีก่อนคริสตกาล หัวหน้าสถาปนิกของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์สำหรับโครงการนี้คือ ดิโนเครเตส แห่งโรดส์ (Dinocrates; กรีกโบราณ: Δεινοκράτης ο Ρόδιος) อะเล็กซานเดรียถูกสถาปนาขึ้น เพื่อที่จะมาแทนที่เมืองนัฟคราติส (Naucratis; กรีกโบราณ: Ναύκρᾰτις; ภาษาอียิปต์โบราณเรียกว่า Piemro; คอปติก: Ⲡⲓⲏⲙⲣⲱ) ในฐานะศูนย์กลางอารยธรรมเฮลเลนิสต์ในอียิปต์และเป็นจุดเชื่อมระหว่างกรีกกับหุบเขาไนล์ที่มั่งคั่ง แม้ว่าจะเชื่อกันมานานแล้วว่าก่อนหน้านั้นมีเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบเศษเปลือกหอยและการปนเปื้อนของตะกั่วซึ่งจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี แสดงถึงการมีกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญมากว่าสองพันปี ก่อนหน้าการก่อตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย[7]

อเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางทางปัญญาและวัฒนธรรมของโลกโบราณในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมืองและพิพิธภัณฑ์ดึงดูดนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลายคนทั้งชาวกรีก ชาวยิว และชาวซีเรีย ต่อมาภายหลังเมืองถูกชิงปล้นและสูญเสียความสำคัญลง[8]

ในช่วงยุคต้นของคริสตจักร เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของเขตอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่สำคัญของศาสนาคริสต์ยุคแรกในจักรวรรดิโรมันตะวันออก ในยุคสมัยใหม่คริสตจักรคอปติกออร์โธดอกซ์ และคริสตจักรกรีกออร์โธดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียต่างก็อ้างสิทธิ์เป็นผู้สืบทอดเขตอำนาจการปกครองนี้

ทางตะวันออกของเมืองอะเล็กซานเดรีย ซึ่งตอนนี้คืออ่าวอะบุ กีร (Abu Qir; อาหรับ: خليج أبو قير) ในสมัยโบราณเป็นที่ลุ่มและหมู่เกาะหลายแห่ง ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีเมืองท่าสำคัญคือ คาโนปอส (Canopus; กรีกโบราณ: Κάνωπος; คอปติก: Ⲡⲓⲕⲩⲁⲧ) และ เอราคลิออน (Heracleion; กรีกโบราณ: Ἡράκλειον; คอปติก: ⲧϩⲱⲛⲓ) ซึ่งพึ่งจะถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีใต้น้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้

ชุมชนของอียิปต์ที่ชื่อ ราคอติ Rhakotis มีอยู่ก่อนแล้วบนแนวชายฝั่งก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอะเล็กซานเดรีย ในภาษาอียิปต์โบราณ rˁ-ḳṭy.t (คอปติก: ⲣⲁⲕⲟϯ (Bohairic), ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ (Sahidic)) นั้นแปลว่า "บริเวณที่ถูกสร้างขึ้น" ซึ่งชื่อนี้ถูกใช้ต่อเนื่องในส่วนของชาวอียิปต์ในเมืองอะเล็กซานเดรีย ไม่กี่เดือนหลังจากการก่อตั้งจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ได้ออกจากอียิปต์ และไม่เคยกลับมาที่เมืองอีก หลังจากนั้นอุปราช คลีโอเมเนส (Cleomenes of Naucratis; กรีกโบราณ: Kλεoμένης) ยังคงทำการขยายเมืองต่อไป หลังจากการต่อสู้กับผู้สืบทอดคนอื่นของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ นายพล ทอเลมี (Ptolemy Lagides) หรือต่อมาคือทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Σωτήρ) ประสบความสำเร็จในการเชิญพระศพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์มาสู่เมืองอะเล็กซานเดรีย แม้ว่าในท้ายที่สุดพระศพจะหายไป หลังจากถูกนำออกจากสุสานฝังพระศพ[9]

แม้ว่าคลีโอเมเนส จะรับผิดชอบดูแลการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเมืองอะเล็กซานเดรีย แต่โครงการสร้าง เอปตาสตาดิออน (Heptastadion, กรีกโบราณ: Ὲπταστάδιον) เขื่อนกันคลื่นและถนนในทะเลไปยังเกาะฟาโรส และส่วนเชื่อมโยงในเขตแผ่นดินดูเหมือนจะเป็นงานหลักของราชอาณาจักรทอเลมี การแทนที่การค้าที่เสื่อมโทรมลงของ ไทร์ Tyre (ฟินิเชีย: , Ṣur) เมืองท่าสำคัญของฟินิเชีย ทำให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของการค้าระหว่างยุโรป, อาหรับ และอินเดียในทิศตะวันออก ทำให้เมืองนี้ใช้เวลาเติบโตน้อยกว่าหนึ่งชั่วคนก็มีขนาดที่ใหญ่กว่านครคาร์เธจ (พิวนิก: 0 , qrt-ḥdšt) ในเวลาหนึ่งศตวรรษเมืองอะเล็กซานเดรียได้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอีกหลายศตวรรษต่อจากนั้นก็มีขนาดเป็นที่สองรองเพียงแต่กรุงโรม เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลักของกรีกในอียิปต์ ที่มีพลเมืองชาวกรีกมาจากหลากหลายภูมิหลัง[10]

ภาพประภาคารแห่งอะเล็กซานเดรียบนเหรียญจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ซ้าย: ด้านหลังของเหรียญจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส, ฃวา: ด้านหลังของเหรียญ
จักรพรรดิก็อมมอดุส)

อะเล็กซานเดรียไม่เพียง แต่เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเฮลเลนิสต์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในโลก คัมภีร์ฮิบรู (อังกฤษ: Tanakh; ฮีบรู: תנ"ך) ฉบับแปลภาษากรีกหรือคัมภีร์สารบบเซปตัวจินต์ (ละติน: septuaginta; กรีกโบราณ: Ἑβδομήκοντα; ตัวย่อ: LXX, ) ได้สร้างขึ้นที่เมืองนี้ ในช่วงต้นฟาโรห์ในราชวงศ์ทอเลมีให้มีการจัดระบบและส่งเสริมการพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ นำไปสู่การเป็นผู้นำของศูนย์การเรียนรู้อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (ห้องสมุดแห่งอะเล็กซานเดรีย) ขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวังในการรักษาเอกลักษณ์ความแตกต่าง ของประชากรสามเชื้อชาติที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กรีก, ยิว และอียิปต์ด้วย[11] เมื่อถึงยุคสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุสกำแพงเมืองได้ล้อมรอบพื้นที่ 5.34 ตารางกิโลเมตร (2.64 salta) และมีประชากรทั้งหมดในสมัยโรมันประมาณ 300,000 คน[12]

จากงานเขียนของไฟโลแห่งอะเล็กซานเดรีย (ฮีบรู: יְדִידְיָה הַכֹּהֵן‎) ในปีที่ 38 ของสากลศักราช ความโกลาหลปะทุขึ้นระหว่างพลเมืองชาวยิวและชาวกรีก ในระหว่างการมาเยือนเมืองอะเล็กซานเดรียของ"กษัตริย์แห่งชาวยิว" อกริปปาที่ 1 (ละติน: Agrippa I หรือ Herod Agrippa; ฮีบรู: אגריפס) แห่งราชอาณาจักรเฮโรดแห่งยูเดีย โดยเป้าหมายหลักคือต้องการยกเลิกการส่งบรรณาการของรัฐยิวให้กับจักรพรรดิโรมัน การดูหมิ่นระหว่างชนสองเชื้อชาติและความรุนแรงถูกยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการทำลายธรรมศาลาแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนายูดาห์ ความรุนแรงถูกปราบปรามหลังจากจักรพรรดิกาลิกุลา (ละติน: Caligula) เข้าแทรกแซงและเนรเทศผู้ปกครองชาวโรมันฟลัคคุส (ละติน: Aulus Avilius Flaccus) ออกจากเมือง[13]

ในปี ค.ศ. 115 ส่วนใหญ่ของเมืองอะเล็กซานเดรียถูกทำลายระหว่างสงครามคิตอส (ละติน: Seditio Kitos หรือ Tumultus Iudaicus; ฮีบรู: מרד הגלויות) ซึ่งทำให้จักรพรรดิฮาดริอานุสและเดคริอันนุส (Decriannus) ซึ่งเป็นสถาปนิกของเขาได้มีโอกาสสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ในปี ค.ศ. 215 จักรพรรดิการากัลลา (Caracalla; กอล: Καρακάλλας) เดินทางมาเยือนเมืองและเพียงเพราะมีวรรณกรรมเชิงเหน็บแนมดูถูก พรรณาว่าประชาชนสามารถสั่งการเขาได้ จู่ ๆ จักรพรรดิก็สั่งให้กองทัพของเขาสังหารเยาวชนที่มีอายุพอจะจับอาวุธได้ทุกคน ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 (เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ครีต ค.ศ. 365)[14] อะเล็กซานเดรียได้รับความเสียหายจากสึนามิ (ละติน: Megacyma) มีการรำลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเวลาต่อมาในชื่อ "วันแห่งความหวาดกลัว"[15]

ยุคของนบีมูฮัมมัด

ปฏิสัมพันธ์ครั้งแรกของศาสดามูฮัมมัดแห่งศาสนาอิสลามกับชาวอียิปต์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 628 ในระหว่างการยาตรา (siryah, อาหรับ: سِرْيَة‎) ของ สัยด อิบนุ ฮาริษะฮฺ (Zayd ibn Harithah, อาหรับ: زَيْد ٱبْن حَارِثَة) ในการยุทธในดินแดนฮัสมา (Hisma, อาหรับ: صحراء حِسْمَى) เขามอบหมาย ฮาติบ อิบนุ อบู บัลตะอะฮฺ อัล-ลุคอมี (Hatib ibn Abi Balta'ah al-Lakhmi, อาหรับ: حاطب بن أبي بلتعة اللخمي) ให้เป็นตัวแทนผู้นำสาส์นส่งถึงผู้ปกครองอียิปต์ในอะเล็กซานเดรีย Muqawqis (อาหรับ: المقوقس, คอปติก: ⲭⲁⲩⲕⲓⲁⲛⲟⲥ, ⲕⲁⲩⲭⲓⲟⲥ)[16][17][18] ในสาส์นของมูฮัมมัดกล่าวว่า: "ข้าพเจ้าขอเชิญท่านให้ยอมรับอิสลาม อัลลอฮฺผู้ทรงประเสริฐยิ่งจะให้รางวัลท่านเป็นสองเท่า แต่ถ้าท่านปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นท่านจะต้องแบกรับภาระการละเมิดของชาวอียิปต์" ในระหว่างการยาตราครั้งนี้ หนึ่งในผู้นำสาส์นของมูฮัมมัด ดิฮยะฮฺ อิบนุ เคาะลีฟะฮฺ อัล-กัลบี (Dihyah bin Khalifah al-Kalbi, อาหรับ: دِحْيَة ٱبْن خَلِيفَة ٱلْكَلْبِيّ‎) ถูกโจมตี ซึ่งดิฮยะฮฺ ได้เข้าหาตระกูลดูบาอิบ (Banu Dubayb) (ตระกูลในชนเผ่า เจดฮัมมัน (Banu Judham, อาหรับ: بنو جذام) ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมุสลิม) เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อข่าวมาถึงเมดินา ผู้นำของเผ่าเจดฮัมมัน ริฟาฮฺ อิบนุ สัยด (Rifa'ah ibn Zayd) ได้ร้องขอเผ่าของมูฮัมมัดให้ร่วมส่งคนไปช่วยเหลือซึ่งเผ่าได้ตอบรับ แม้จะไม่เห็นด้วยแต่มูฮัมมัดได้ส่ง สัยด อิบนุ ฮะริษะฮฺ พร้อมกับทหารเพื่อต่อสู้ 500 คนไปช่วยเหลือ กองทัพมุสลิมต่อสู้กับเผ่าเจดฮัมมัน สังหารพวกเขาหลายคน (ก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก) รวมถึงหัวหน้าของพวกเขา อัลฮูนาอิด อิบนุ อาริด (Al-Hunayd ibn Arid) และลูกชาย, ยึดอูฐได้ 1,000 ตัว, ปศุสัตว์ 5,000 ตัว และจับผู้หญิงและเด็กชาย 100 คน หัวหน้าคนใหม่ของเผ่า เจดฮัมมัน ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขอร้องให้มูฮัมมัดปล่อยตัวเพื่อนชนเผ่าของเขา ซึ่งมูฮัมมัดก็ได้ปล่อยพวกเขาเหล่านั้น[19][20]

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของอะเล็กซานเดรีย
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)33.3
(91.9)
32.9
(91.2)
40.0
(104)
41.0
(105.8)
45.0
(113)
43.8
(110.8)
43.0
(109.4)
38.6
(101.5)
41.4
(106.5)
38.2
(100.8)
35.7
(96.3)
31.0
(87.8)
45
(113)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)18.4
(65.1)
19.3
(66.7)
20.9
(69.6)
24.0
(75.2)
26.5
(79.7)
28.6
(83.5)
29.7
(85.5)
30.4
(86.7)
29.6
(85.3)
27.6
(81.7)
24.1
(75.4)
20.1
(68.2)
24.9
(76.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)13.4
(56.1)
13.9
(57)
15.7
(60.3)
18.5
(65.3)
21.2
(70.2)
24.3
(75.7)
25.9
(78.6)
26.3
(79.3)
25.1
(77.2)
22.0
(71.6)
18.7
(65.7)
14.9
(58.8)
20.0
(68)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)9.1
(48.4)
9.3
(48.7)
10.8
(51.4)
13.4
(56.1)
16.6
(61.9)
20.3
(68.5)
22.8
(73)
23.1
(73.6)
21.3
(70.3)
17.8
(64)
14.3
(57.7)
10.6
(51.1)
15.8
(60.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)0.0
(32)
0.0
(32)
2.3
(36.1)
3.6
(38.5)
7.0
(44.6)
11.6
(52.9)
17.0
(62.6)
17.7
(63.9)
14
(57)
10.7
(51.3)
1.0
(33.8)
1.2
(34.2)
0
(32)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)52.8
(2.079)
29.2
(1.15)
14.3
(0.563)
3.6
(0.142)
1.3
(0.051)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.1
(0.004)
0.8
(0.031)
9.4
(0.37)
31.7
(1.248)
52.7
(2.075)
195.9
(7.713)
ความชื้นร้อยละ69676765666871716768686867.92
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.01 mm)11.08.96.01.91.00.00.00.00.22.95.49.546.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด192.2217.5248.0273.0316.2354.0362.7344.1297.0282.1225.0195.33,307.1
แหล่งที่มา 1:
แหล่งที่มา 2: Voodoo Skies[24] และ Bing Weather[25] สำหรับสถิติอุณหภูมิ

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Haag, Michael (September 27, 2004). Alexandria: City of Memory. London and New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0300191127. A social, political and literary portrait of cosmopolitan Alexandria during the 19th and 20th centuries
  • Von Hagen, Victor Wolfgang (1967). The Roads that led to Rome. Photographed by Adolfo Tomeucci. Cleveland and New York: The World Publishing. ASIN B005HZJQYY.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย