อำเภอเวียงสา

อำเภอในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

เวียงสา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านตอนใต้

อำเภอเวียงสา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Sa
คำขวัญ: 
ประตูสู่น่าน ตำนานชนตองเหลือง
เมืองเจ็ดสายน้ำ งามล้ำวัดบุญยืน
เริงรื่นแข่งเรือออกพรรษา
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอเวียงสา
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอเวียงสา
พิกัด: 18°35′54″N 100°44′24″E / 18.59833°N 100.74000°E / 18.59833; 100.74000
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,894.893 ตร.กม. (731.622 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด69,581 คน
 • ความหนาแน่น36.72 คน/ตร.กม. (95.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55110
รหัสภูมิศาสตร์5507
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงสา หมู่ที่ 12 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

ด้านภูมิประเทศ อำเภอเวียงสาเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ที่มีชายแดนด้านทิศตะวันออกติดกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ด้านเหนือติดกับอำเภอเมือง ด้านใต้ติดอำเภอนาน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผู้คนมักจะต้องผ่านเพื่อไปยังดอยเสมอดาว และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดแพร่ โดยมีเส้นทางหลวงสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) ซึ่งมักมีคำพูดติดตลก ๆ กันว่า เวียงสาน่าจะเจริญกว่าเมืองน่าน เพราะระยะทางใกล้กรุงเทพมหานคร มากกว่าอำเภอเวียงสาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน) ตอนเวียงสา-ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 643 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ตามตำนานที่ไม่มีประวัติที่ทางราชการจัดทำขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีคนรุ่นเก่าและอดีตข้าราชการรุ่นเก่า ๆ เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานสำคัญทางโบราณวัตถุและปูชนียวัตถุซึ่งพอจะเป็นที่ยืนยันและเชื่อถือได้ กล่าวว่าอำเภอเวียงสาเดิมชื่อ "เวียงป้อ-เวียงพ้อ" หรือ "เมืองพ้อ-เมืองป้อ" เพราะตำนานเล่าว่า ถ้าหากมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันใดเกิดขึ้น มักเรียกผู้คนที่มีไม่มากนักตามบริเวณนั้นมาป้อ (รวม) กันที่ปากสา (ปากแม่น้ำสาที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน) ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่า "เวียงป้อ" แทนชื่อเรียกอำเภอเวียงสาในอดีตที่ระบุในตำนานหรือหลักฐานที่สำคัญ ๆ ต่อไป

เวียงป้อเป็นเมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของนครน่าน ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แรกตั้งครั้งใด นานเท่าไรไม่ปรากฏ อาจจะมีมาตั้งแต่เมืองป้อยุคหิน เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งผลิตเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ขุดพบ และอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้สำรวจ ตลอดถึงหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ปรากฏหลักฐานซากวัดร้างต่าง ๆ เช่น

  • วัดบุญนะ สถานที่ตั้งตลาดสดเทศบาลตำบลเวียงสา
  • วัดต๋าโล่ง อยู่ห่างจากวัดผาเวียงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร
  • วัดมิ่งเมือง สถานที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเวียงสา
  • วัดป่าแพะน้อย อยู่ห่างจากวัดวิถีบรรพต ไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร
  • วัดสะเลียม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 800 เมตร
  • วัดหินล้อม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 2 กิโลเมตร

เวียงป้อเป็นเมืองที่อยู่ใกล้นครน่าน ผลกระทบและอิทธิพลด้านต่าง ๆ มักได้รับพร้อมกันกับนครน่าน และเนื่องจากการเดินทางติดต่อโดยทางบกใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้าหากขี่ม้าเร็วก็จะประมาณ 2-3 ชั่วโมง การเดินทางติดต่อทางน้ำใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง ที่ตั้งของเวียงป้อนอกจากจะตั้งอยู่ที่ราบระหว่างดอยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเมืองที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำสา แม่น้ำว้า แม่น้ำแหง แม่น้ำปั้ว แม่น้ำสาคร ตลอดถึงสายน้ำน่านและสายน้ำว้าเดิมที่เปลี่ยนเส้นทางเดินกลายสภาพเป็นหนองน้ำซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำครก" และสายธารอื่น ๆ อีกมากมายที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน จึงทำให้เวียงป้อเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์

เวียงป้อเป็นหัวเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อนครน่าน พงศาวดารน่านได้บันทึกไว้ พ.ศ. 2139 สมัยพระเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 31 ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2103-2134) ได้เสด็จเวียงป้อ มีใจความตอนหนึ่งของพงศาวดารกล่าวไว้ว่า "จุลศักราชได้ 985 เดือน 8 ลง 3 ค่ำ ท่านก็เสด็จลงไปอยู่เมืองพ้อ ไปสร้างวัดดอนแท่นไว้ ได้อภิเษกสามีเจ้าขวา หื้อเป็นสังฆราชแล้ว..."

กล่าวถึงพระยาหน่อเสถียรไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน ลำดับที่ 35 ได้ทราบตำนานวัดพระธาตุแช่แห้ง มีศรัทธาแรงกล้า จึงบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมศาสนสถานแห่งนี้ และกล่าวถึงเจ้าเวียงป้อไว้ตอนหนึ่งว่า "ปีเต่าสง้า สร้างบ่อน้ำและโรงอาบ เว็จกุฎิหื้อสมเด็จสังฆราชเจ้าเมืองพ้อ มาเป็นหัวหน้าอยู่ เป็นเค้าเป็นประธานแก่ช่างไม้ทั้งหลาย..."

เหตุการณ์ที่ระบุเจ้าเวียงป้อเป็นช่างใหญ่นั้น แสดงว่าเวียงป้อเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อนครน่านราว พ.ศ. 2123-2127

พ.ศ. 2243-2251 เมืองน่านและเมืองประเทศราชถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเสียหายทั้งเมืองและวัดวาอาราม ผู้คนถูกเข่นฆ่าจำนวนมาก ชาวน่านแตกหนีภัยสงครามเข้าอยู่ซ่อนในป่าในถ้ำ ทิ้งเมืองให้ร้าง ผลกระทบนี้เมืองป้อก็ได้รับเช่นกันดังในพงศาวดารนครน่าน ตอนที่ 4 ว่าด้วยเมืองน่านคราวเป็นจลาจลความว่า "ปีกาเม็ด จุลศักราชได้ 1096 ตัว เถินวัน 14 ค่ำ ทัพพม่าครั้งเถิงเมืองแล้วก็กระทำอันตรายแก่เมืองรั้วเมืองทั้งมวล คือ จุดเผาม้างพระพุทธรูป... วัดวาอาราม ศาสนาธรรม พระพุทธเจ้าที่จุดเผาเสี้ยง จะดาไว้แด่แผ่นดินนั้นแล ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายก็ตายกันเป็นอันมานัก หันแล"

พ.ศ. 2247-2251 หัวเมืองต่าง ๆ ขาดผู้ครองเมือง กองทัพญวนและกองทัพลาวบุกเข้ากวาดต้อนผู้คนนครน่านและเวียงป้อด้วย ต่อมา พ.ศ. 2322 นครน่านขาดผู้ครองนคร จึงมีผลกระทบต่อเมืองป้อ จากฝ่ายพม่าเข้ามากวาดต้อนผู้คนไปไว้เมืองเชียงแสน ทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้าง จึงเป็นยุคที่เสื่อมโทรมอย่างยิ่ง พงศาวดารของเมืองน่านได้กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ในยามนั้น เมืองลานนาไทย ก็บ่เที่ยงสักบ้านสักเมืองแล ดังเมืองน่านเรา เปนอันว่างเปล่า ห่างสูญเสียห้าท้าวพระยาบ่ได้แล" ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเวียงป้อเป็นเมืองร้างนานถึง 15 ปี อำเภอเวียงสาขณะที่ยังไม่ได้สร้างเป็นเมืองหรือเวียงนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเมืองหรือเวียงโดยเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อ เจ้าฟ้าอัตถาวรปัญโญ เมื่อ พ.ศ. 2340 คือหลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 15 ปี

จนมีการใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มีฐานะเป็นเมือง หรือเรียกตามภาษาภาคเหนือว่า "เวียง" และมีชื่อว่า "เวียงป้อ" มีผู้ครองเมืองซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อว่า "เจ้าอินต๊ะวงษา" แต่ประชาชนนิยมศึกษาว่า "เจ้าหลวงเวียงสา" โดยขนานนามเมืองว่า เมืองสา ตามชื่อแม่น้ำสำคัญของเมือง แล้วให้โอนการปกครองขึ้นต่อเมืองน่านตอนใต้ ต่อมาปี พ.ศ. 2451 เมืองสาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอสา ตามลำดับ

ปี พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอบุญยืน ตามชื่อวัดที่ตำบลกลางเวียง แต่ต่อมาได้กลับมาใช้ชื่อ อำเภอสาอีกครั้งจนถึงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2529[1] ได้มีการตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอเวียงสา ให้ถูกต้องตามที่ราษฎรเรียกต่อๆกันมา จวบจนปัจจุบันนี้

ต่อมาตำบลส้าน ได้แยกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้านตั้งเป็นตำบลส้านนาหนองใหม่ จนถึงปี พ.ศ. 2526 ได้แยกการปกครองของ 3 หมู่บ้านของตำบลยาบหัวนา และตั้งเป็นตำบลแม่ขะนิง ปี พ.ศ. 2531 บ้านสาครหมู่ที่ 5 และอีก 4 หมู่บ้านของตำบลอ่ายนาไลย ได้จัดตั้งเป็นตำบลแม่สาคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้ตั้งตำบลแม่สา โดยแยกออกจากตำบลปงสนุก และตำบลทุ่งศรีทอง โดยแยกออกจากตำบลน้ำปั้ว ทำให้ปัจจุบันอำเภอเวียงสามีการปกครองทั้งหมด 17 ตำบล

ชาติพันธุ์

ชาติพันธุ์ของผู้คนในเวียงสาเป็นคนพื้นเมือง ถิ่นเดิมคือพวกละว้า ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นคนรูปร่างใหญ่ สูง โครงกระดูกใหญ่โต มีภาษาสำเนียงพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อาศัยทำมาหากินตั้งบ้านเรือน ถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำน่านและแม่น้ำว้า และอีกส่วนหนึ่งเป็นคนเมืองโยนก หรือ ชาวไทยเชียงแสนที่เรียกตัวเองว่าไทยยวนหรือคนเมือง ซึ่งอพยพเป็นข้าขอบขันทะสีมากับสยามประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ที่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญได้กวาดต้อนผู้คนมาสร้างบ้านแปงเมืองให้สงบสุขร่มเย็นเป็นปึกแผ่นวิถีของผู้คนในเวียงสาเป็นคนรักสงบ โอบอ้อมอารี มีความสมัครสมานสามัคคี เรียบง่าย อ่อนงาม ทำมาหากินโดยสุจริต แต่ก่อนมีอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ บนพื้นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ ที่มีแม่น้ำไหลผ่านถึงเจ็ดสาย จึงเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร สัตว์บก สัตว์น้ำ หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองให้อิ่มหนำสำราญ ดำรงรักษาวิถีรากเหง้า วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้จากรุ่นสู่รุ่น อันส่งผลให้ “เวียงสา” เจริญรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุขจนตราบทุกวันนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองท้องที่

อำเภอเวียงสาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ชื่อตำบลตัวเมืองอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[2]

1.กลางเวียง Klang Wiang159,851
2.ขึ่ง Khueng74,028
3.ไหล่น่าน Lai Nan83,414
4.ตาลชุม Tan Chum73,574
5.นาเหลือง Na Lueang73,074
6.ส้าน San106,851
7.น้ำมวบ Nam Muap83,234
8.น้ำปั้ว Nam Pua73,866
9.ยาบหัวนา Yap Hua Na75,402
10.ปงสนุก Pong Sanuk41,372
11.อ่ายนาไลย Ai Na Lai116,701
12.ส้านนาหนองใหม่ San Na Nong Mai41,876
13.แม่ขะนิง Mae Khaning73,895
14.แม่สาคร Mae Sakhon62,727
15.จอมจันทร์ Chom Chan83,870
16.แม่สา Mae Sa72,883
17.ทุ่งศรีทอง Thung Si Thong52,571

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเวียงสาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงสา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกลางเวียง
  • เทศบาลตำบลกลางเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงสนุกทั้งตำบล และตำบลกลางเวียง (นอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสา)
  • เทศบาลตำบลขึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขึ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไหล่น่านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลชุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเหลืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส้านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำมวบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำมวบและตำบลส้านนาหนองใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปั้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำปั้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยาบหัวนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยาบหัวนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่ายนาไลยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ขะนิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ขะนิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาครทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมจันทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งศรีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีทองทั้งตำบล

การขนส่ง

ทางหลวง
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 (เวียงสา-นาน้อย)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1162 (เวียงสา-บ้านน้ำมวบ)

เศรษฐกิจ

ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงไทย สาขาเวียงสา
  • ธนาคารออมสิน สาขาเวียงสา
  • ธนาคารกสิกรไทย สาขาเวียงสา
  • ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้ โลตัส เวียงสา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเวียงสา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาน้ำปั้ว

การศึกษา

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง

  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงสา เป็นสถานศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีที่ตั้งอาคารสำนักงานที่บ้านภูเพียง หมู่ที่ ๖ ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และมีศูนย์บริการการศึกษานอกระบบ ประจำตำบล ๑๗ ตำบล

ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา

  • ตั้งอยู่ที่บ้านบุญยืน หมู่ 4 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

  • ศูนย์การเรียนชุมชนวัดไหล่น่าน ตั้งอยู่บ้านไหล่น่าน หมู่ 1 ตำบลไหล่น่าน
  • ศูนย์การเรียนชุมชนวัดวัวแดง ตั้งอยู่ที่บ้านวัวแดง หมู่ 1 ตำบลแม่สา

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไหล่น่าน ตั้งอยู่ที่วัดไหล่น่าน หมู่ 1 ตำบลไหล่น่าน
  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดน้ำมวบ ตั้งอยู่ที่วัดน้ำมวบ หมู่ 1 ตำบลน้ำมวบ
  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดวังคีรี ตั้งอยู่ที่วัดวังคีรี หมู่ 1 ตำบลน้ำปั้ว
  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดผาเวียง ตั้งอยู่ที่วัดผาเวียง หมู่ 5 ตำบลส้าน
  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดขึ่ง ตั้งอยู่ที่วัดขึ่ง หมู่ 3 ตำบลขึ่ง
  • ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่เจริญราษฎร์ ตั้งอยู่ที่วัดใหม่เจริญราษฎร์ หมู่ 4 ตำบลอ่ายนาไลย

สถานศึกษา

  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 58 โรงเรียน
  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 จำนวน 4 โรงเรียน
  • สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จำนวน 2 โรงเรียน
  • สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 1 โรงเรียน
  • สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง
  • สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำนวน 1 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่าน199 ม.3 ต.ทุ่งศรีทอง

ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน (สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์)

สถานที่ท่องเที่ยว

  • ตลาดเช้า
  • วัดบุญยืน
  • เฮือนรถถีบมะเก่า
  • ชุมชนผีตองเหลือง (มลาบรี)
  • บ้านสล่าเก๊า
  • กะลกไม้

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย