อำเภอเมืองลพบุรี

อำเภอในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

อำเภอเมืองลพบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหารเศรษฐกิจ การคมนาคม ของจังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการสำคัญ สถานศึกษา สาธารณสุข และค่ายทหารอยู่หลายแห่ง จนได้ชื่อว่าเป็น "เมืองข้าราชการ เมืองการศึกษา และเมืองทหาร"

อำเภอเมืองลพบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Lop Buri
วงเวียนเทพสตรี ศูนย์ราชการจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2565
วงเวียนเทพสตรี ศูนย์ราชการจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2565
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอเมืองลพบุรี
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอเมืองลพบุรี
พิกัด: 14°47′53″N 100°39′13″E / 14.79806°N 100.65361°E / 14.79806; 100.65361
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด565.6 ตร.กม. (218.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด238,930 คน
 • ความหนาแน่น422.44 คน/ตร.กม. (1,094.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15000,
15160 (เฉพาะตำบลเขาพระงาม; ตำบลโคกกะเทียม; ตำบลท่าแค เฉพาะหมู่ที่ 10, หมู่ที่ 9 (ยกเว้นเลขที่ 90, ป.พัน 11 รอ. และศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ กองทัพบก); ตำบลบางขันหมาก เฉพาะหมู่ที่ 11) ,
15210 (เฉพาะตำบลโคกตูม) ,
13240 (เฉพาะตำบลโก่งธนู)
รหัสภูมิศาสตร์1601
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ครั้งแรกยังไม่มีอาคารเป็นเอกเทศ ต้องอาศัยอาคารในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ร่วมกันกับศาลากลางจังหวัดลพบุรี หลวงจารุมัย (อิ้ว สิงหพันธ์) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2461 ร้องอำมาตย์ตรี หลีใจไทย ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เห็นว่าบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สถานที่ราชการคับแคบ ให้สมกับเป็นโบราณสถานที่เชิดหน้าชูตาของประกอบกับทางราชการมีโครงการที่จะบูรณะพระราชวัง ชาวจังหวัดลพบุรี จึงได้ย้ายสถานที่ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีออกมาตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินทางทิศเหนือฝั่งถนนตรงข้ามกับกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือทางทิศตะวันออกของวัดเสาธงทอง ซึ่งบริเวณนี้มีหอทะเบียนที่ดินจังหวัดลพบุรี (สำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี) ปัจจุบันเป็นตลาดสดเทศบาลเมืองลพบุรี โดยเทศบาลเมืองลพบุรีได้ให้ประชาชนปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ จึงไม่มีสิ่งใดเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่าสถานที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีเหลืออยู่เลย

หลังจากประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีบัญชาให้ขยายตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกของตลาดลพบุรีเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นสมัยที่ เรือเอกขุนชาญ ใช้จักร์ ร.น. ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ รัฐบาลได้สั่งการให้กรมโยธาธิการมาวางผังปลูกสร้างศาลากลางจังหวัดลพบุรีที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวงเวียนเทพสตรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ที่ทางทิศใต้ของวงเวียนเทพสตรี ถนนพหลโยธิน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลพบุรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดลพบุรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ได้เริ่มทำการก่อสร้างพร้อมกันในปี พ.ศ. 2480 พร้อมกันนั้นได้สร้างบ้านพักนายอำเภอ บ้านพักปลัดขวา บ้านพักปลัดซ้าย บ้านพักเสมียนตราสมุห์บัญชี บ้านพักศึกษาธิการอำเภอ บ้านพักพนักงานของอำเภอ ซึ่งปัจจุบันยังคงสภาพอยู่ครบ เมื่อทำการก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอ และบ้านพักข้าราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขนย้ายสิ่งของมาเปิดทำการ ณ ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2482 ชาวบ้านจึงพากันเรียกอำเภอที่ตั้งใหม่ว่า "เมืองใหม่" ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิมชาวบ้านเรียกกันว่า "เมืองเก่า" นายศักดิ์ ไทยวัฒน์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ได้ทำการปรับปรุงพัฒนาบริเวณอาคารสถานที่อำเภอเมืองลพบุรี ตัวอาคารและบริเวณต่าง ๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ และในปี พ.ศ. 2537 ได้สร้างอาคารที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในบริเวณเดียวกัน ตั้งแต่ตั้งอำเภอเมืองลพบุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้[1]

  • วันที่ 17 มกราคม 2451 โอนพื้นที่ตำบลธรณี อำเภอสระโบสถ์ (อำเภอโคกสำโรง) มาขึ้นกับอำเภอเมือง[2]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มณฑลกรุงเก่า เป็น อำเภอเมืองลพบุรี[3] และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลศาลาสูง อำเภอเมืองลพบุรี เป็น ตำบลพรหมมาสตร์[4]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2465 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโพกะต้น อำเภอเมืองลพบุรี เป็นตำบลโพธิ์เก้าต้น[5]
  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2467 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหางสลาด อำเภอเมืองลพบุรี เป็นตำบลท้ายตลาด[6][7]
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน 2460 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองลพบุรี มณฑลกรุงเก่า ในท้องที่ตำบลท่าหิน และตำบลพรหมมาสตร์[8]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองลพบุรี จัดตั้งขึ้นเป็น เทศบาลเมืองลพบุรี[9]
  • วันที่ 7 มีนาคม 2480 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองลพบุรี จัดตั้งขึ้นเป็น เทศบาลเมืองลพบุรี (อีกครั้ง)[10] ยกเลิกประกาศของปี พ.ศ. 2478
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรี กับจังหวัดลพบุรี โดยโอนตำบลท่าศาลา ตำบลกกโก ของกิ่งอำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และโอนพื้นที่ตำบลป่าตาล ตำบลโคกลำพาน ตำบลดอนโพธิ์ จากอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[11]
  • วันที่ 22 มกราคม 2482 ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี จากตำบลท่าหิน ไปตั้งที่หมู่ 4 ตำบลทะเลชุบศร[12]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2483 ย้ายศาลากลางจังหวัดลพบุรี จากตำบลท่าหิน ไปตั้งที่หมู่ 4 ตำบลทะเลชุบศร[13]
  • วันที่ 22 ตุลาคม 2483 ยุบตำบลบางขันหมากเหนือ กับตำบลบางขันหมากใต้ รวมเข้ากับท้องที่ตำบลพรหมมาสตร์[14] ยุบตำบลถนนใหญ่ รวมกับท้องที่ตำบลทะเลชุบศร ยุบตำบลโพผีให้ รวมเข้ากับท้องที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น[15] ยุบตำบลโพธิ์ตรุ รวมกับท้องที่ตำบลท้ายตลาด[16] ยุบตำบลงิ้วราย รวมเข้ากับท้องที่ตำบลตะลุง[16] ยุบตำบลท่าแค และนำพื้นที่ที่ยุบไปรวมกับท้องที่ตำบลโคกกะเทียม และตำบลทะเลชุบศร[14] ยุบตำบลกกโก รวมเข้ากับท้องที่ตำบลป่าตาล
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 12,13 (ในขณะนั้น) ของตำบลขุนโขลน ของกิ่งอำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี มาขึ้นกับตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[17]
  • วันที่ 18 สิงหาคม 2485 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองโดน อำเภอไชยบาดาล จังหวัดสระบุรี และท้องที่อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอโคกสำโรง และอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี[18]
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2487 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี[19] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายครอบคลุมเขตตำบลทะเลชุบศร ตำบลโคกกะเทียม ตำบลท่าศาลา ตำบลท่าหิน และตำบลป่าตาล
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางขันหมาก แยกออกจากตำบลพรหมมาสตร์ ตั้งตำบลเขาพระงาม แยกออกจากตำบลโคกกะเทียม ตั้งตำบลงิ้วราย แยกออกจากตำบลตะลุง และตำบลโก่งธนู ตั้งตำบลโพธิ์ตรุ แยกออกจากตำบลท้ายตลาด ตั้งตำบลกกโก แยกออกจากตำบลป่าตาล ตั้งตำบลท่าแค แยกออกจากตำบลทะเลชุบศร และตำบลโคกกะเทียม[20]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตะลุง ไปตั้งเป็นหมู่ 11 ของตำบลโพธิ์เก้าต้น[21]
  • วันที่ 31 พฤษภาคม 2492 ตั้งตำบลนิคมสร้างตนเอง แยกออกจากตำบลท่าศาลา ตั้งตำบลเขาสามยอด แยกออกจากตำบลทะเลชุบศร และตำบลท่าแค ตั้งตำบลสี่คลอง แยกออกจากตำบลโก่งธนู และตำบลบ้านข่อย[22]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2492 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลท้ายตลาด ไปตั้งเป็นหมู่ 6 ของตำบลสี่คลอง[23]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2497 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี[24] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยลดขนาดของเทศบาลให้ครอบคลุมเพียงตำบลท่าหินทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2497 ตั้งตำบลทะเลชุบศร ตำบลท่าแค ตำบลเขาสามยอด ตำบลป่าตาล และตำบลท่าศาลา แยกออกจากตำบลท่าหิน (ตั้งขึ้นใหม่)[25] เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี ปี พ.ศ. 2497[24] กับโอนพื้นที่หมู่บ้านเสาธง, บ้านสุขขี, บ้านสามแยก (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าหิน ไปขึ้นตำบลเขาพระงาม กับโอนพื้นที่หมู่บ้านป่าสัก, บ้านใหม่, บ้านกกโก (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าหิน ไปขึ้นตำบลกกโก และโอนพื้นที่หมู่บ้านท่าตะโก, บ้านหนองถ้ำ (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าหิน ไปขึ้นตำบลนิคมสร้างตนเอง
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโคกสำโรง อำเภอไชยบาดาล และอำเภอเมืองลพบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลดีลัง ของอำเภอโคกสำโรง มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี กับโอนพื้นที่ตำบลมะนาวหวาน ตำบลโคกสลุง ของอำเภอไชยบาดาล มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี[26] และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลช่องสาริกา อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี กับโอนพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[27]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลดีลัง ตำบลมะนาวหวาน ตำบลโคกสลุง ตำบลช่องสาริกา และตำบลหนองบัว จากอำเภอเมืองลพบุรี ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพัฒนานิคม[28] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองลพบุรี
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพัฒนานิคม อำเภอเมืองลพบุรี เป็น อำเภอพัฒนานิคม[29]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลโคกตูม ในท้องที่บางส่วนของตำบลนิคมสร้างตนเอง[30]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลทะเลชุบศร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี) สภาตำบลกกโก สภาตำบลโก่งธนู สภาตำบลเขาพระงาม สภาตำบลเขาสามยอด สภาตำบลโคกกะเทียม สภาตำบลโคกลำพาน สภาตำบลงิ้วราย สภาตำบลดอนโพธิ์ สภาตำบลตะลุง สภาตำบลท่าแค สภาตำบลท่าศาลา สภาตำบลบางขันหมาก สภาตำบลบ้านข่อย สภาตำบลท้ายตลาด สภาตำบลป่าตาล สภาตำบลสี่คลอง สภาตำบลพรหมมาสตร์ สภาตำบลโพธิ์เก้าต้น และสภาตำบลโพธิ์ตรุ ตามลำดับ[31] ในท้องที่อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
  • วันที่ 2 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลโคกตูม แยกออกจากตำบลนิคมสร้างตนเอง[32]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลถนนใหญ่ แยกออกจากตำบลทะเลชุบศร[33]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลเขาสามยอด และสภาตำบลท่าศาลา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา[34] ตามลำดับ
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลทะเลชุบศร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี) สภาตำบลเขาพระงาม สภาตำบลโคกกะเทียม สภาตำบลท่าแค สภาตำบลบางขันหมาก สภาตำบลท้ายตลาด สภาตำบลป่าตาล สภาตำบลพรหมมาสตร์ สภาตำบลโพธิ์เก้าต้น และสภาตำบลถนนใหญ่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระงาม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกะเทียม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตาล องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมมาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น และองค์การบริหารส่วนตำบลถนนใหญ่[35] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลกกโก สภาตำบลโก่งธนู สภาตำบลโคกลำพาน สภาตำบลงิ้วราย สภาตำบลดอนโพธิ์ สภาตำบลตะลุง สภาตำบลบ้านข่อย และสภาตำบลโพธิ์ตรุ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู องค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย องค์การบริหารส่วนตำบลดอนโพธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านข่อย และองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ[36] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโคกตูม เป็นเทศบาลตำบลโคกตูม[37] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2547 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระงาม เป็นเทศบาลตำบลเขาพระงาม
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลสี่คลอง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านข่อย[38]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด เป็นเทศบาลเมืองเขาสามยอด[39]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา เป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา[40]
  • วันที่ 30 กันยายน 2550 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลโคกตูม[41] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น เพื่อเป็นไปตามสภาพพื้นที่จริง โดยปรับเขตตำบลท่าศาลา และตำบลนิคมสร้างตนเองให้สอดคล้องกับประกาศสุขาภิบาลโคกตูมปี พ.ศ. 2507[30] และปรับเขตตำบลนิคมสร้างตนเอง และตำบลโคกตูม ตามประกาศกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี วันที่ 29 ธันวาคม 2540, ประกาศกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี วันที่ 29 ธันวาคม 2540, ประกาศกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี วันที่ 29 ธันวาคม 2540 กับประกาศกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วันที่ 27 เมษายน 2541[42] ทำให้เทศบาลตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมสร้างตนเอง และตำบลโคกตูมทั้งตำบล
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลถนนใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลถนนใหญ่[43]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก เป็นเทศบาลตำบลกกโก[44]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตาล เป็นเทศบาลตำบลป่าตาล[45]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

1.ท่าหิน(Tha hin)13.ท่าแค(Tha Khae)
2.ทะเลชุบศร(Thale Chup Son)14.ท่าศาลา(Tha Sala)
3.กกโก(Kok Ko)15.นิคมสร้างตนเอง(Nikhom Sang Ton-eng)
4.โก่งธนู(Kong Thanu)16.บางขันหมาก(Bang Khan Mak)
5.เขาพระงาม(Khao Phra Ngam)17.บ้านข่อย(Ban Khoi)
6.เขาสามยอด(Khao Sam Yot)18.ท้ายตลาด(Thai Talat)
7.โคกกะเทียม(Khok Kathiam)19.ป่าตาล(Pa Tan)
8.โคกลำพาน(Khok Lam Phan)20.พรหมมาสตร์(Phrommat)
9.โคกตูม(Khok Tum)21.โพธิ์เก้าต้น(Pho Kao Ton)
10.งิ้วราย(Ngio Rai)22.โพธิ์ตรุ(Pho Tru)
11.ดอนโพธิ์(Don Pho)23.สี่คลอง(Si Khlong)
12.ตะลุง(Talung)24.ถนนใหญ่(Thanon Yai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองลพบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองลพบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร
  • เทศบาลเมืองเขาสามยอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาสามยอดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตูมและตำบลนิคมสร้างตนเองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเขาพระงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระงามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศาลาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลถนนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนใหญ่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกกโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกโกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าตาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทะเลชุบศร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโก่งธนูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกะเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกะเทียมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกลำพานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะลุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขันหมากทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านข่อยและตำบลสี่คลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายตลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมมาสตร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมมาสตร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์เก้าต้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ตรุทั้งตำบล

ภาพ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย