อำเภอบางพลี

อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย

บางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1]

อำเภอบางพลี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Phli
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คำขวัญ: 
ร่วมบุญบัวหลวง หวานมะม่วงน้ำดอกไม้
ไหว้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ยอดปลาสลิดบางพลี
ผ่องปฐพีสุวรรณภูมิ
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางพลี
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางพลี
พิกัด: 13°36′21″N 100°42′22″E / 13.60583°N 100.70611°E / 13.60583; 100.70611
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด260.0 ตร.กม. (100.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด290,776 คน
 • ความหนาแน่น1,118.37 คน/ตร.กม. (2,896.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10540, 10543 (เฉพาะภายในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลหนองปรือ)
รหัสภูมิศาสตร์1103
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางพลี
เลขที่ 15 หมู่ที่ 8 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

  • วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนพื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอพระโขนง มาขึ้นกับอำเภอบางพลี[2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางพลีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[3]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบางพลีกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการเหมือนเดิม[4]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลีในท้องที่บางส่วนของตำบลบางพลี[5]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธงในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[6]
  • วันที่ 1 เมษายน 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางพลีเป็นเทศบาลตำบลบางพลี
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงเป็นอำเภอบางเสาธง[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองลาดกระบัง และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเสาธง มีถนนเข้าวัดหัวคู้ คลองหนองงูเห่า คลองบางนา ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองเสาระหงษ์ คลองสำโรง คลองโก่งประทุน คลองลาดหวาย และคลองสี่ศอกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อและอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีคลองโก่งประทุนและคลองสามเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ เขตบางนา และเขตประเวศ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองบางเหี้ยน้อย คลองบางกระบือ คลองกู้พารา คลองทับนาง คลองสำโรง ถนนศรีนครินทร์ คลองหนองกระทุ่ม คลองบางนา (สาหร่าย) คลองหนองตาดำ คลองปลัดเปรียง คลองต้นตาล แนวคันนาแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองสลุด คลองปากน้ำ คลองสิงห์โต คลองขันแตก และคลองตาพุกเป็นเส้นแบ่งเขต[ต้องการอ้างอิง]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางพลีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 83 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับอักษรไทยอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[9]
1.บางพลีใหญ่Bang Phli Yai
23
103,190
2.บางแก้วBang Kaeo
16
62,643
3.บางปลาBang Pla
15
33,731
4.บางโฉลงBang Chalong
11
44,261
5.ราชาเทวะRacha Thewa
15
36,131
6.หนองปรือNong Prue
3
3,548

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางพลีประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6–11), ตำบลบางปลา (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 11) และตำบลบางโฉลง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (เฉพาะหมู่ที่ 1–5, 12–23 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลา (เฉพาะหมู่ที่ 1–10, 12–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโฉลง (เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชาเทวะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

การคมนาคม

อำเภอบางพลีมีถนนสายหลัก ได้แก่

  • ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน​ ตั้งแต่คลองเสาระหงส์ถึงคลองบางนา (สุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ)​
  • ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268) ตั้งแต่คลองทับนางจนถึงคลองสี่ศอก
  • ถนนกิ่งแก้ว (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตั้งแต่แยกคลองขุด​จนถึงสุดเขต​จังหวัด​สมุทรปราการ​
  • ถนนตำหรุ-บางพลี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตั้งแต่แยกคลองขุดจนสุดเขตอำเภอบางพลี
  • ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ตั้งแต่คลองสำโรงจนถึงคลองต้นตาล (สุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ)​
  • ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370)
  • ถนนเลียบคลองระบายน้ำบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ถนนสายรอง ได้แก่

  • ถนนวัดหนามแดง (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.4006)
  • ถนนจตุรโชคชัย (ซอยวัดหลวงพ่อโต)
  • ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
  • ถนนจรรยวรรธ (รามคำแหง 2)
  • ถนนวัดบางปลา
  • ซอยวัดบางโฉลงนอก
  • ซอยบางปลา 2 (ธนสิทธิ์)
  • ถนนบัวนครินทร์
  • ซอยขจรวิทย์
  • ซอยที่ดินไท
  • ซอยบุญธรรมอนุสรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย