อำเภอบางคล้า

อำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

บางคล้า เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 2 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 23 กิโลเมตร

อำเภอบางคล้า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Khla
แม่น้ำบางปะกงในอำเภอบางคล้า
แม่น้ำบางปะกงในอำเภอบางคล้า
คำขวัญ: 
บางปะกงคู่ชีวี พระสถูปเจดีย์คู่ถิ่น ศาลพระเจ้าตากสินคู่บ้าน อาหารคาวหวานคู่เมือง ลือเลื่องค้างคาววัดโพธิ์
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางคล้า
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางคล้า
พิกัด: 13°43′42″N 101°12′30″E / 13.72833°N 101.20833°E / 13.72833; 101.20833
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด236.16 ตร.กม. (91.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด45,541 คน
 • ความหนาแน่น192.84 คน/ตร.กม. (499.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24110
รหัสภูมิศาสตร์2402
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางคล้า เลขที่ 48
ถนนเทศบาลพัฒนา 1 ตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 24110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบางคล้ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

อำเภอบางคล้าเป็นอำเภอใหญ่อำเภอหนึ่ง เดิมแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอหัวไทรและอำเภอบางคล้า จนถึงปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการยุบอำเภอหัวไทรลง อำเภอบางคล้าเดิมตั้งอยู่ที่วัดใหม่บางคล้า ตำบลบางสวนในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการเห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในบริเวณศูนย์กลาง จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลเตาสุราซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลบางคล้า จัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบางคล้า[1]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2488 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบางคล้า ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[2] โดยเพิ่มพื้นที่ให้ครอบคลุมตำบลบางคล้าทั้งตำบล
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบางเล่า แยกออกจากตำบลบางตลาด ตั้งตำบลสาวชะโงก แยกออกจากตำบลบางสวน ตั้งตำบลเสม็ดเหนือ แยกออกจากตำบลเสม็ด (ตำบลเสม็ดใต้ในปัจจุบัน)[3]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากน้ำ ไปตั้งเป็นหมู่ 10 ของตำบลบางคล้า (เพิ่มเข้าไปในพื้นที่เทศบาลตำบลบางคล้า)[4]
  • วันที่ 6 มิถุนายน 2493 โอนพื้นที่ตำบลหัวสำโรง อำเภอพนมสารคาม ไปขึ้นกับ อำเภอบางคล้า[5]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก[6]
  • วันที่ 4 พฤษภาคม 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก และจัดตั้งสุขาภิบาลสาวชะโงก ในท้องที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบางสวน และบางส่วนของตำบลเสม็ดเหนือ[7]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลแปลงยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลแปลงยาว และตำบลวังเย็น[8]
  • วันที่ 29 พฤษภาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำ[9]
  • วันที่ 21 กันยายน 2519 ยุบสุขาภิบาลสาวชะโงก[10] เนื่องจากไม่สามารถบริหารกิจการของสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าได้ และประชาชนในเขตสุขาภิบาลไม่ต้องการให้ท้องถิ่นนี้เป็นการปกครองรูปสุขาภิบาล
  • วันที่ 16 มกราคม 2521 แยกพื้นที่ตำบลแปลงยาว ตำบลวังเย็น และตำบลหัวสำโรง อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแปลงยาว ขึ้นกับอำเภอบางคล้า
  • วันที่ 21 เมษายน 2524 ตั้งตำบลหนองไม้แก่น แยกออกจากตำบลวังเย็น[11]
  • วันที่ 15 มีนาคม 2528 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอแปลงยาว[12]
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลก้อนแก้ว ตำบลคลองเขื่อน ตำบลบางเล่า ตำบลบางโรง และตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองเขื่อน ขึ้นกับอำเภอบางคล้า[13]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากน้ำ เป็นเทศบาลตำบลปากน้ำ
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ รวมกับเทศบาลตำบลปากน้ำ[14]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอคลองเขื่อน[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางคล้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับอักษรไทยอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้าน
1.บางคล้าBang Khlaยกเลิกระบบหมู่
2.บางสวนBang Suan4
3.บางกระเจ็ดBang Krachet9
4.ปากน้ำPak Nam12
5.ท่าทองหลางTha Thonglang6
6.สาวชะโงกSao Cha-ngok6
7.เสม็ดเหนือSamet Nuea6
8.เสม็ดใต้Samet Tai6
9.หัวไทรHua Sai7

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางคล้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคล้าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเจ็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองหลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทรทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

  • โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต มีเนื้อที่ประมาณ 164 ไร่ มีกำลังการผลิตประมาณ 40,000 ลิตรต่อวัน เดิมเป็นโรงงานผลิตสุราขาวหนึ่งในจำนวน 12 โรง ของกลุ่มสุราทิพย์ (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้สร้างไว้ตามเงื่อนไขของการได้รับสัมปทาน ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต
  • วัดแจ้งบางคล้า
  • วัดโพธิ์บางคล้า
  • อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ตลาดน้ำบางคล้า
  • ตลาดน้ำวัดบางกระเจ็ด
  • วัดบางกระเจ็ด

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย