อำเภอนครหลวง

อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

นครหลวง เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อำเภอนครหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Luang
ปราสาทนครหลวง
คำขวัญ: 
มีดอรัญญิกลือนาม สง่างามปราสาท
นครหลวง โชติช่วงเกษตรอุตสาหกรรม
เลิศล้ำภูมิปัญญาไทย
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
พิกัด: 14°27′51″N 100°36′20″E / 14.46417°N 100.60556°E / 14.46417; 100.60556
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด198.9 ตร.กม. (76.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด36,507 คน
 • ความหนาแน่น183.55 คน/ตร.กม. (475.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13260
รหัสภูมิศาสตร์1403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครหลวง เลขที่ 9
หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

ในสมัยอยุธยานั้น บริเวณนอกกำแพงเมืองถูกแบ่งออกเป็นเขตการปกครอง 3 เขต เรียกว่าแขวง (ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกอำเภอ) ประกอบด้วยแขวงขุนนคร แขวงขุนเสนา และแขวงขุนอุทัย

แขวงขุนนครนั้น ต่อมาแยกออกเป็นแขวง คือ

  1. แขวงนครใหญ่ ซึ่งต่อมาแยกเป็น แขวงนครใหญ่ (อำเภอมหาราชในปัจจุบัน) และ แขวงนครใน (อำเภอบางปะหันในปัจจุบัน)
  2. แขวงนครน้อย ต่อมาก็แยกออกเป็น 2 แขวงเช่นกัน คือ
  • แขวงนครน้อย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าเรือ
  • แขวงนครกลาง ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า อำเภอนครกลาง มีที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตำบลบ่อโพง แต่ด้วยสถานที่ตั้ง ณ ตำบลบ่อโพงนั้นไม่เป็นศูนย์กลาง ในเวลาต่อมาจึงมีการย้ายที่ว่าการอำเภอนครกลางมาอยู่ที่ตำบลนครหลวง (เหตุที่ชื่อตำบลนครหลวงเพราะเป็นที่ตั้งของปราสาทนครหลวง) แล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอนครหลวง จนถึงปัจจุบัน [1]

ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองสะแก แยกออกจากตำบลบ่อโพง ตั้งตำบลหนองปลิง แยกออกจากตำบลบ่อโพง และตำบลบ้านชุ้ง ตั้งตำบลปากจัน แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลบางพระครู แยกออกจากตำบลนครหลวง ตั้งตำบลท่าช้าง แยกออกจากตำบลพระนอน[2]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2490 โอนพื้นที่หมู่ 10-14 ตำบลพระนอน (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลท่าช้าง (หมู่ 3-7 ในขณะนั้น) [3]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2494 โอนพื้นที่หมู่ 7 ตำบลบางระกำ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลนครหลวง (หมู่ 8 ในขณะนั้น) [4]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลนครหลวง บางส่วนของตำบลบางระกำ และ บางส่วนของตำบลบางพระครู [5]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลอรัญญิก ในท้องที่บางส่วนของตำบลพระนอน บางส่วนของตำบลท่าช้าง และ บางส่วนของตำบลสามไถ [6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครหลวง และ สุขาภิบาลอรัญญิก เป็น เทศบาลตำบลนครหลวง และ เทศบาลตำบลอรัญญิก

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนครหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอนครหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 74 หมู่บ้าน ได้แก่

1.นครหลวง(Nakhon Luang)9 หมู่บ้าน7.บางพระครู(Bang Phra Khru)4 หมู่บ้าน
2.ท่าช้าง(Tha Chang)8 หมู่บ้าน8.แม่ลา(Mae La)6 หมู่บ้าน
3.บ่อโพง(Bo Phong)7 หมู่บ้าน9.หนองปลิง(Nong Pling)5 หมู่บ้าน
4.บ้านชุ้ง(Ban Chung)7 หมู่บ้าน10.คลองสะแก(Khlong Sakae)5 หมู่บ้าน
5.ปากจั่น(Pak Chan)6 หมู่บ้าน11.สามไถ(Sam Thai)4 หมู่บ้าน
6.บางระกำ(Bang Rakam)6 หมู่บ้าน12.พระนอน(Phra Non)7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอนครหลวงประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครหลวงทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู
  • เทศบาลตำบลอรัญญิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง ตำบลสามไถ และตำบลพระนอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อโพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านชุ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากจั่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาทั้งตำบล รวมถึงตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู (นอกเขตเทศบาลตำบลนครหลวง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสะแกทั้งตำบล

บุคคลสำคัญ

เศรษฐกิจ

อำเภอนครหลวง เป็นเขตอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ

  • นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ตั้งอยู่ในตำบลบางพระครู

สถานศึกษา

ศิลาพระจันทร์ลอย ปราสาทนครหลวง
  • โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยาศึกษาตอนปลายเป็นสถานศึกษาขนาดกลาง เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนครหลวง
  • โรงเรียนท่าช้างวิทยาคมเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก

สถานที่ท่องเที่ยว

  • ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
  • พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิกมีดอรัญญิก ตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิกหมู่บ้านอรัญญิก ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แท้จริงแล้วหมู่บ้านอรัญญิกมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่สองหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านต้นโพธิ์ และบ้านหนองไผ่ ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นแหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย