อำเภอจะนะ

อำเภอในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย

จะนะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอที่มีสัดส่วนประชากรที่นับศาสนาอิสลามมากที่สุดอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา มีความอุดมสมบูรณ์จากระบบนิเวศทั้งทางทะเล และทางบก และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และมีปัญหาการประท้วงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจะนะ

อำเภอจะนะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chana
หอนาฬิกาจะนะ
หอนาฬิกาจะนะ
คำขวัญ: 
นกเขาชวาเสียง สำเนียงสะกอม
วัฒนธรรมหล่อหลอม ออมทรัพย์เด่นดัง
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอจะนะ
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอจะนะ
พิกัด: 6°54′51″N 100°44′26″E / 6.91417°N 100.74056°E / 6.91417; 100.74056
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด502.98 ตร.กม. (194.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด108,245 คน
 • ความหนาแน่น215.21 คน/ตร.กม. (557.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90130
รหัสภูมิศาสตร์9003
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอจะนะ หมู่ที่ 2 ถนนราษฎร์บำรุง ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ชายทะเลในตำบลนาทับ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอจะนะมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ชายทะเลในตำบลนาทับ

ประวัติ

จะนะเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เมือง ได้แก่ ปะเหลียน จะนะ เทพา และสงขลา ต่อมา สงขลาได้แยกออกจากเมืองพัทลุง จะนะจึงไปขึ้นกับเมืองสงขลา มีฐานะเป็นเมือง หน้าด่านทางตอนใต้และมีการสู้รบกับหัวเมืองมลายูตลอดเวลา ขณะนี้เป็นเมืองขึ้นของพัทลุง เจ้าพระยาพัทลุง (บุน) ได้แต่งตั้งนายอินทร์ หรือเณรน้องชาย เป็นเจ้าเมืองจะนะ มีพระราชทินนามว่า “พระมหานุภาพปราบสงคราม” ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าเมืองเป็นนักรบ เมืองจะนะจึงน่าจะเป็นสมรภูมิรบ ที่ตั้งเมืองจะนะในขณะนั้นคือที่นาทวีเมืองจะนะไปเป็นเมืองขึ้นของสงขลา เจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งให้นายฉิน บุตรของอดีตเจ้าเมืองสงขลา (โยม) ขึ้นเป็นขุนรองราชมนตรี คุมไพร่ส่วยดีบุก 9 หมวด ทำให้เมืองจะนะกับเมืองสงขลา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

อนึ่งที่ตั้งของเมืองจะนะนั้น มีการย้ายเมืองอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากเป็นเมืองที่ต้องทำการรบอยู่ตลอดเวลา ระยะแรกเชื่อว่าเมืองจะนะตั้งอยู่ที่วังดาโต๊ะหรือวังโต้ที่อำเภอนาทวีปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ เพราะเจ้าเมืองจะนะคนแรกคือ พระมหานุภาพปราบสงคราม (อินทร์หรือเณร) บุตรพระยาราชบังสันซึ่งเป็นมุสลิม ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ปลักจะนะ และย้ายไปที่บ้านในเมือง ตำบลป่าชิงปัจจุบัน จากนั้นย้ายไปตั้งที่ตำบลจะโหนง เมื่อเปลี่ยนการปกครองแบบเทศาภิบาล อำเภอจะนะก็ไปตั้งที่ว่าการที่อำเภอนาทวี แต่ด้วยเหตุที่การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก จึงย้ายไปตั้งที่ใหม่ ที่ตำบลบ้านนา พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนา แต่ไปพ้องกับชื่ออำเภอบ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น อำเภอจะนะ[1] ตามเดิม

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็น อำเภอบ้านนา[2] และย้ายที่ว่าการอำเภอจะนะ จากตำบลนาทวี ไปตั้งที่ตำบลบ้านนา และเรียกชื่ออำเภอว่า อำเภอบ้านนา และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอนาทวี"
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2467 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบ้านนา จังหวัดสงขลา เป็น อำเภอจะนะ[1]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 13–15 (ในขณะนั้น) ตำบลป่าชิง ไปขึ้นตำบลนาหว้า กับโอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ตำบลสะพานไม้แก่น ไปขึ้นตำบลบ้านนา กับโอนพื้นที่หมู่ 7,9 (ในขณะนั้น) ตำบลนาทับ ไปขึ้นกับตำบลจะโหนง และโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ตำบลจะโหนง ไปขึ้นกับตำบลนาทับ[3]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลป่าชิง แยกออกจากตำบลนาหว้า ตั้งตำบลจะโหนง แยกออกจากตำบลคลองเปียะ ตั้งตำบลฉาง แยกออกจากตำบลนาทวี ตั้งตำบลคลองทราย แยกออกจากตำบลนาหมอศรี ตั้งตำบลท่าประดู่ แยกออกจากตำบลปลักหนู และตั้งตำบลสะท้อน แยกออกจากตำบลทับช้าง[4]
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน 2492 ตั้งตำบลแค แยกออกจากตำบลขุนตัดหวาย และตำบลน้ำขาว[5]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ เป็น อำเภอนาทวี[6]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลจะนะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านนา[7]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลตลิ่งชัน แยกออกจากตำบลบ้านนา[8]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2526 กำหนดเขตตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา[9] ให้มีความถูกต้องแม่นยำ และยกเลิกเขตตำบลตลิ่งชัน ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2526[8]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลจะนะ เป็นเทศบาลตำบลจะนะ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา เป็น เทศบาลตำบลบ้านนา[11]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับ เป็น เทศบาลตำบลนาทับ[12]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอจะนะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 139 หมู่บ้าน

1.บ้านนา(Ban Na)10 หมู่บ้าน
2.ป่าชิง(Pa Ching)09 หมู่บ้าน
3.สะพานไม้แก่น(Saphan Mai Kaen)08 หมู่บ้าน
4.สะกอม(Sakom)09 หมู่บ้าน
5.นาหว้า(Na Wa)12 หมู่บ้าน
6.นาทับ(Na Thap)14 หมู่บ้าน
7.น้ำขาว(Nam Khao)11 หมู่บ้าน
8.ขุนตัดหวาย(Khun Tat Wai)09 หมู่บ้าน
9.ท่าหมอไทร(Tha Mo Sai)11 หมู่บ้าน
10.จะโหนง(Chanong)11 หมู่บ้าน
11.คู(Khu)09 หมู่บ้าน
12.แค(Khae)07 หมู่บ้าน
13.คลองเปียะ(Khlong Pia)11 หมู่บ้าน
14.ตลิ่งชัน(Taling Chan)08 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอจะนะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลจะนะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านนา
  • เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลจะนะ)
  • เทศบาลตำบลนาทับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนตัดหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมอไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะโหนงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเปียะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย