อับดุล คาริม

มหาดเล็กชาวอินเดียในราชสำนักสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1863–1909)

โมฮัมเหม็ด อับดุล คาริม (อังกฤษ: (Mohammed Abdul Karim) เป็นที่รู้จักในชื่อ “มุนชี” เป็นข้ารับใช้ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เขารับใช้พระองค์ในช่วง 14 ปีสุดท้ายของการครองราชย์[2][3][4]

มุนชี ฮาฟิซ
โมฮัมเหม็ด อับดุล คาริม
CVO CIE
منشى عبدالكريم
คาริมสวมผ้าโพกหัวและถือหนังสือ
ภาพเหมือนโดย รูดอล์ฟ สโบโบดา
เลขานุการชาวอินเดียของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ดำรงตำแหน่ง
1892–1901
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1863
ลลิตปูร์, เมืองนอร์ทเวสเทิร์, บริติชอินเดีย
เสียชีวิต20 สิงหาคม 1909 (อายุ 46)[1]
อักกรา, บริติชอินเดีย
คู่สมรสราชิดัน คาริม

คาริมเป็นบุตรชายของบุรุษพยาบาลที่ Lalitpur ใกล้กับฌางสีในบริติชอินเดีย ในปี 1887 ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย คาริมเป็น 1 ใน 2 ของชาวอินเดียที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับใช้ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียชอบเขาเป็นอย่างมาก และพระราชทานตำแหน่งมุนชิ ("เสมียน" หรือ "ครู") แก่เขา สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแต่งตั้งให้เขาเป็นเลขานุการชาวอินเดียของพระองค์ พระองค์ให้เกียรติเขา และมอบที่ดินให้เขาในอินเดีย

ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ใกล้ชิด[5][6] ระหว่างคาริมและพระราชินีทำให้เกิดความขัดแย้งภายในราชวงศ์ ซึ่งสมาชิกคนอื่น ๆ รู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าเขา สมเด็จพระราชินียืนกรานที่จะพาคาริมเดินทางไปด้วยซึ่งทำให้เกิดการโต้เถียงระหว่างพระองค์กับข้ารับใช้คนอื่น ๆ หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีาถวิกตอเรียในปี 1901 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงส่งคาริมกลับไปยังอินเดียและสั่งให้ทำลายการติดต่อระหว่างมุนซีกับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ต่อมาคาริมอาศัยอยู่อย่างเงียบๆ ใกล้อาครา บนที่ดินที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียจัดเตรียมไว้ให้เขา จนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 46 ปี

ประวัติ

คาริม เป็นบุตรชายของผู้ช่วยโรงพยาบาลใกล้เมืองฌางสีในบริติชอินเดีย ในปี ค.ศ.1887[7][8]Haji Mohammed Waziruddin พ่อของเขาเป็นผู้ช่วยโรงพยาบาลซึ่งประจำการร่วมกับCentral India Horseซึ่งเป็นกรมทหารม้าของอังกฤษคาริมมีพี่ชายหนึ่งคนคืออับดุล อาซิซและน้องสาวอีกสี่คน เขาได้รับการสอนภาษาเปอร์เซีย และภาษาอูรดูเป็นการส่วนตัว และตอนเป็นวัยรุ่นเขาได้เดินทางข้ามอินเดียเหนือ และไปยังอัฟกานิสถานกับพ่อเขาเพื่อเข้าร่วมในการเดินขบวนไปยังกันดาฮาร์ซึ่งยุติสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สองในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1880 หลังสงครามพ่อของคาริมย้ายจากอินเดียตอนกลางไปอยู่ในคุกกลางในเมืองอัคราขณะที่ คาริม ทำงานเป็นเวคิล ให้กับมหาเศรษฐีแห่งจาราหลังจากนั้นสามปีเขาก็ลาออก และย้ายไปที่เมืองอาครา เพื่อเป็นเสมียนพื้นถิ่นที่ห้องขัง พ่อของเขาจัดให้มีการแต่งงานระหว่างคาริมและน้องสาวของเพื่อนคนงาน นักโทษในคุกอักกราได้รับการฝึกฝนและถูกใช้เป็นช่างทอพรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพักฟื้น ในปี 1886 34 นักโทษเดินทางไปลอนดอนเพื่อแสดงให้เห็นพรมทอที่โคโลเนียลและการแสดงนิทรรศการของอินเดียในเซาท์เคนซิงตัน คาริมไม่ได้อยู่ร่วมกับนักโทษ แต่ช่วยผู้กำกับเรือนจำจอห์น ไทเลอร์ในการจัดระเบียบการเดินทางและช่วยเลือกพรมและช่างทอ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเยี่ยมชมนิทรรศการไทเลอร์มอบสร้อยข้อมือทองคำสองเส้นให้เธอเลือกอีกครั้งโดยได้รับความช่วยเหลือจากคาริมอีกครั้งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีความสนใจที่ยาวนานในดินแดนของอินเดียของเธอและมีความประสงค์จะจ้างคนรับใช้ชาวอินเดียบางอย่างสำหรับเธอเฉลิมพระเกียรติ เธอขอให้ไทเลอร์รับสมัครพนักงานสองคนซึ่งจะได้รับการว่าจ้างเป็นเวลาหนึ่งปี ต่อมาคาริมและเบิกช์ทั้งคู่ก็ได้เดินทางมาถึงอังกฤษในเดือนมิถุนายน ปี 1887 และหลังจากพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นวันที่ 20-21 มิถุนายน ผ่านพ้นไปอย่างเรียบร้อย คาริมและเบิกช์ก็ได้มาเป็นข้ารับใช้ใหักับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียจากข้ารับใช้ ในระยะเวลาไม่นานนักคาริมก็เลื่อนขั้นเป็น “มุนชี” (อังกฤษ: Munchi) หรืออาจารย์ จากนั้นก็เป็นเสมียน ให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับอินเดียถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ได้รับเงินเดือนเดือนละ 12 ปอนด์ ก่อนจะเลื่อนขั้นขึ้นไปอีกเป็นราชเลขาธิการในปี 1888 วิกตอเรียแต่งตั้งให้เขาเป็นเลขานุการอินเดียอาบน้ำให้เขาด้วยเกียรตินิยมและได้รับมอบที่ดินให้เขาในอินเดีย ความที่พระองค์ทรงสนพระทัยวัฒนธรรมอินเดีย จึงทรงให้คาริมสอนภาษาอูรดู เพื่อจะได้สื่อสารกับเขาได้ รวมทั้งทรงสอบถามเรื่องวิถีชีวิตของผู้คนในอินเดียจากคาริมอีกด้วย

คาริมและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

เขาคุยกับพระองค์ในแบบเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่แบบข้าราชบริพารกับราชินี ในขณะที่ทุกคนรวมถึงพระราชโอรสและพระราชธิดารักษาระยะห่างกับพระองค์ แต่ชายหนุ่มชาวอินเดียผู้นี้กลับใสบริสุทธิ์ เขาเล่าให้พระองค์ฟังเกี่ยวกับอินเดีย ครอบครัวของเขา และรับฟังเมื่อราชินีทรงเล่าถึงครอบครัวของพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โปรดให้ “มุนชี” ตามเสด็จไปยังหลายประเทศในยุโรป พระราชทานเกียรติยศมากมาย ทรงให้คาริมพำนักที่พระตำหนักฟร็อกมอร์ คอตเทจ(อังกฤษ: Frogmore Cottage) ภายในเขตพระราชฐานพระราชวังวินด์เซอร์ พระราชทานรถม้าส่วนตัว และโปรดให้คาริมกลับเมืองอัครา เพื่อพาภรรยามาพำนักที่อังกฤษกับเขา

ไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังรับสั่งให้จิตรกรฝีมือดีวาดภาพของคาริมไว้ประดับตกแต่งอีกด้วย เช่น ปี 1887 ทรงให้ ลอริตส์ เรกเนอร์ ทูเซ็น(อังกฤษ: Laurits Regner Tuxen) จิตรกรชาวเดนมาร์ก วาดภาพคาริมเต็มตัวในรูปแบบสีน้ำมัน

ปี 1888 ทรงให้ รูดอล์ฟ สโวโบดา (อังกฤษ: Rudolph Swoboda) จิตรกรชาวออสเตรีย วาดภาพสีน้ำของคาริมครึ่งตัวในเครื่องแต่งกายแบบอินเดีย จากนั้น ปี 1890 รับสั่งให้ ไฮน์ริช ฟอน แองเจลี(อังกฤษ: Heinrich von Angeli) จิตรกรวาดภาพเหมือนชาวออสเตรีย วาดภาพคาริมครึ่งตัวในรูปแบบสีน้ำมันขึ้นมาอีกภาพ

ในจดหมายที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงมีถึงจักรพรรดินีเฟรเดอริก พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ ระบุว่า “เขา (จิตรกร) ไม่เคยวาดภาพชาวตะวันออกคนใดมาก่อนเลย และถึงกับตื่นตะลึงเมื่อได้เห็นใบหน้าอันหล่อเหลาของเขา… ฉันคาดว่าต้องออกมาดีมากๆ เป็นแน่

เมื่อแองเจลีวาดภาพเสร็จ ตอนแรกพระราชินีไม่ทรงชอบ เพราะคิดว่าภาพดูมืดเกินไป แต่ต่อมาภาพวาดคาริมฝีมือแองเจลีก็ไปประดับอยู่ที่พระตำหนักฟร็อกมอร์ คอตเทจ

วาระสุดท้ายของความสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม มิตรภาพระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียกับคาริม สร้างความไม่พอใจ และอาจเลยเถิดไปถึงขั้นอิจฉาริษยา ให้ข้าราชบริพารในราชสำนักที่แวดล้อมสมเด็จพระราชินี ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานเหรียญตราเกียรติยศ การจัดให้คาริมร่วมโต๊ะอาหารเดียวกับพวกเขา ที่ถือว่าเป็น ชนชั้นสูง และถือว่าชาวอินเดียเป็นพวกคนป่าเถื่อน ไม่มีอารยะ

ปลายทศวรรษ 1890 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงมีพระพลานามัยย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จวบจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ทรงมีพระราชประสงค์ให้คาริมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมไว้อาลัย ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์และพระสหายกลุ่มเล็กๆ ของพระองค์

แต่หลังจากนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 รับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าค้นพระตำหนักฟร็อกมอร์ คอตเทจ ที่คาริมและครอบครัวพำนัก ทรงให้นำจดหมายที่พระราชมารดาของพระองค์เขียนติดต่อกับคาริมออกมาเผาทิ้งทุกฉบับ และทรงมีพระราชบัญชาให้คาริมและครอบครัวเดินทางกลับอินเดียทันที ส่วน เจ้าหญิงเบียทริซ (อังกฤษ: Princess Beatrice) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ก็รับสั่งให้ทำลายหลักฐานที่พระราชมารดาทรงบันทึกถึงคาริมให้สิ้นซาก[9]

ความตาย

อับดุล คาริม ใช้ชีวิตอย่างสงบที่ คาริม ลอดจ์ เมืองอัครา บนที่ดินที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียพระราชทานให้ เขาได้รับเงินบำนาญจากอังกฤษ และจากไปเมื่อวันที่ 20 เมษายน ปี 1909 ขณะอายุ 46 ปี

บรรณานุกรม

  • Anand, Sushila (1996) Indian Sahib: Queen Victoria's Dear Abdul, London: Gerald Duckworth & Co., ISBN 0-7156-2718-X
  • Basu, Shrabani (2010) Victoria and Abdul: The True Story of the Queen's Closest Confidant, Stroud, Gloucestershire: The History Press, ISBN 978-0-7524-5364-4
  • Hibbert, Christopher (2000) Queen Victoria: A Personal History, London: HarperCollins, ISBN 0-00-638843-4
  • Longford, Elizabeth (1964) Victoria R.I., London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 0-297-17001-5
  • Nelson, Michael (2007) Queen Victoria and the Discovery of the Riviera, London: Tauris Parke Paperbacks, ISBN 978-1-84511-345-2
  • Plumb, J. H. (1977) Royal Heritage: The Story of Britain's Royal Builders and Collectors, London: BBC, ISBN 0-563-17082-4
  • Rennell, Tony (2000) Last Days of Glory: The Death of Queen Victoria, New York: St. Martin's Press, ISBN 0-312-30286-X
  • Waller, Maureen (2006) Sovereign Ladies: The Six Reigning Queens of England, New York: St. Martin's Press, ISBN 0-312-33801-5

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย