ออลอะเบาต์แดตเบส

เพลงของเมแกน เทรนเนอร์

"ออลอะเบาต์แดตเบส" (อังกฤษ: All About That Bass) เป็นเพลงของเมแกน เทรนเนอร์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน บรรจุอยู่ในอัลบั้ม ไทเทิล ออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2014[2] ผ่านค่ายเพลงอีพิกเรเคิดส์ในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลด เนื้อเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีทัศนคติที่ดีและยอมรับในรูปร่างที่ตนมี ซึ่งเนื้อเพลงทั้งหมดแต่งโดยเทรเนอร์และเควิน คาดิช มิวสิกวิดีโอของเพลงนี้ได้ปล่อยให้ชมครั้งแรกผ่านทางเว็บไซต์อะโดลาทอร์ ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2014[3][4] กำกับโดย ฟาตีมา โรบินสัน โดยมิวสิกวิดีโอได้รับความนิยมอย่างมากในด้านไวรอลวิดีโอ[5]

"ออลอะเบาต์แดตเบส"
ซิงเกิลโดยเมแกน เทรนเนอร์
จากอัลบั้มไทเทิล และ ไทเทิล อีพี
ด้านบี
  • "ไทเทิล"
  • "เดียร์ฟิวเจอร์ฮัสแบนด์"
  • "โคลสยัวร์อายส์"
วางจำหน่าย30 มิถุนายน ค.ศ. 2014 (2014-06-30)
บันทึกเสียง30 มิถุนายน ค.ศ. 2014[a]
สตูดิโอThe Carriage House (Nolensville, Tennessee)
แนวเพลง
ความยาว3:12
ค่ายเพลงอีพิก
ผู้ประพันธ์เพลง
  • เมแกน เทรนเนอร์
  • เควิน คาดิช
โปรดิวเซอร์เควิน คาดิช
ลำดับซิงเกิลของเมแกน เทรนเนอร์
"ออลอะเบาต์แดตเบส"
(2014)
"ลิปซ์อาร์มูวิง"
(2014)
มิวสิกวิดีโอ
"ออลอะเบาต์แดตเบส" ที่ยูทูบ

เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" ได้รับเสียงวิจาร์ณในด้านบวกในเรื่องของจังหวะเพลง เนื้อเพลง และความหมายของมัน เพลงประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์โดยติดอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และที่ 8 ในชารต์ประจำปีค.ศ. 2014 ในสหรัฐอเมริกา[6] พร้อมกับติดที่ 1 ในชาร์ตออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร[7][8] พร้อมทั้งติดท็อป 10 บนชาร์ตอีกหลายประเทศ ทั้งนี้เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" ถือเป็นเพลงแรกของเทรนเนอร์ที่ประสบความสำเร็จบนชาร์ตเพลง เพลงยังทำยอดขายในสหรัฐอเมริกากว่า 4.6 ล้านหน่วย โดยได้รับการรับรองโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ในระดับแพลทินัม (6 แผ่นเสียงทองคำขาว)[9][10] นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีในสาขาบันทึกเสียงแห่งปีและสาขาเพลงแห่งปี และเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลพีเพิลส์ช้อยส์อะวอดส์ในสาขาเพลงยอดนิยม[11][12]

เบื้องหลังการทำงาน

การเขียนเพลง

ฉันเขียนเพลงนี้เพื่อตัวฉันเองเพราะฉันต้องต่อสู้กับมันตลอดไป และยิ่งเดี๋ยวนี้โซเชียลมีเดีย อินสตาแกรม และเซลฟี่ และแอปทั้งหมดนี้ที่พยายามจะทำให้คุณดูเพอร์เฟค... มันยากมากที่ผู้หญิงทุกวันนี้จะโตขึ้นไปกับสิ่งเหล่านั้น[13]

—เทรนเนอร์กล่าวเกี่ยวกับเพลงในรายการทูเดย์

เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" เริ่มต้นเขียนในช่วงระหว่างที่เทรนเนอร์เป็นนักแต่งเพลงและอยู่ในทริปแต่งเพลงที่ลอสแอนเจลิสหนึ่งสัปดาห์เพื่อเขียนเพลงให้ศิลปินคนอื่น เธอพบกับเควิน คาดิช โปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน และชักชวนเขาเขียนเพลง[14] คาดิชบอกว่าตอนนั้นเหมือนกับวันนัดบอด พวกเขารู้สึกเหมือนมีพลังในการเขียน[15] ทั้งสองเริ่มต้นโดยที่คาดิชทำจังหวะ และเทรนเนอร์แร็ปเนื้อเพลงท่อนแรกว่า "ชัดเจนแล้วนะว่าฉันไม่ได้ผอมแห้ง" (It's pretty clear I ain't no size 2.) ทำให้ทั้งสองได้ไอเดียในการแต่งเพลงให้คนหันมารักตัวเอง และเทรนเนอร์เสนอให้เพลงเกี่ยวกับเรื่องบั้นท้ายและหุ่นหนาบางด้วย ซึ่งเธอได้แรงบันดาลใจจากขนาดที่แตกต่างกันระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของกีตาร์เบส[16] พร้อมกับการที่เธอเคยประสบกับการต่อสู้ต่อภาพลักษณ์ทางร่างกายในช่วงวัยรุ่น[17] ซึ่งคาดิชเห็นด้วยกับเธอเพราะเขาเคยประสบปัญหาคล้ายกับเธอ[18] นอกจากนี้เทรนเนอร์ต้องการที่จะวิพากษ์วิจารณ์ในการใช้โปรแกรมอะโดบี โฟโตชอป หลังจากที่เธอเห็นภาพนางแบบได้รับการแก้ไขในรายการดิเอลเลนดีเจนเนอเรสโชว์[19] และวิจารณ์ต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นที่ได้สร้างมาตรฐานของความงามที่ไม่สามารถเข้าถึงได้[13] ทั้งสองใช้เวลาในการแต่งเพลงทั้งหมด 40 นาที คาดิชเสนอชื่อเพลงในตอนแรกว่า "All Bass, No Treble"[18] ซึ่งขณะนั้นเทรนเนอร์กำลังพูดว่า "I’m all about that Mexican food!" ทำให้ทั้งคู่ได้ท่อนฮุคว่า "ฉันน่ะคือเบส ไม่ใช่เทรเบิล" (I'm all about that bass, no treble)[20] ทั้งสองได้นำสไตล์เพลง 1950 และดูวอป[17] มาใช้กับเพลงนี้เพราะเทรนเนอร์เห็นว่าเป็นแนวเพลงที่ติดหูง่าย[21] คาดิชปรับปรุงให้เป็นจังหวะทันสมัยและเทรนเนอร์ร้องแบบฟรีสไตล์ในท่อนแรก โดยเธอต้องการมี่จะเขียนเพลงซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนกับเพลง "โลลี่ป๊อป" ของเดอะ คอร์เดทส์[21] และเธอยังได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มเติมจากเพลง "จัสต์เดอะเวย์ยูอาร์" ของบรูโน มาร์ส[22]

การบันทึกเสียง

แอล.เอ. เรด ทำให้เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" เป็นซิงเกิลแรกของเทรนเนอร์ โดยได้คงเดโมไว้และเพิ่มกับทำการมารเตอร์ริ่งเข้าไปด้วย

หลังจากเทรนเนอร์และคาดิชเขียนเพลงเสร็จ พวกเขากังวลเกี่ยวกับโอกาสเชิงพาณิชย์[17] จึงได้เสนอให้ต่อหลายค่ายเพลงและศิลปิน เช่น บียอนเซ่ และอะเดล[23] โดยทางค่ายเพลงนั้นชอบ แต่บอกว่าเพลงไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก และให้ทำใหม่อีกครั้งเพราะเพลงไม่ใช่แนวป็อปตามสมัยและไม่ได้ใช้ซินธิไซเซอร์และออโต้ทูนในเพลง[24][25] และเพลงมีคอรัสที่ใหญ่ไป ซึ่งเทรนเนอร์และคาดิชไม่ยอมรับคำแนะนำเหล่านี้ ทำให้เทรนเนอร์ตกลงที่จะร้องเพลงนี้เองตามข้อเสนะแนะของคาดิช[26] เทรนเนอร์ได้บันทึกเสียงเดโมของเพลงนี้ และต่อมาเธอได้พบกับพอล ปอนติอุส นักคัดสรรและพัฒนาศิลปินทางค่ายเพลงอีพิกเรเคิดส์ เธอได้ร้องเพลงนี้ให้เขาฟัง หนึ่งสัปดาห์ถัดมาเขาได้ชักชวนเธอมาร้องให้แอล.เอ. เรด ประธานกรรมการและซีอีโอจากค่ายเพลงเดียวกัน ซึ่งเธอได้ร้องให้เรดฟังพร้อมกับเล่นอูกูเลเล ด้วยความตื่นเต้นในใจเธอ[18] หลังจากนั้นเธอได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงอีพิกเรเคิดส์ และเรดได้ตัดสินใจตัดเพลงนี้โดยเหมือนกับเดโมแต่ทำการมารเตอร์ริ่ง (audio mastering) เข้าไปด้วย[18][25][27]

เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" บันทึกเสียงที่แคร์เรจเฮาส์สตูดิโอ ในโนเลนส์วิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา บันทึกโดยคาดิช ซึ่งเขายังได้ผสมเสียง ออกแบบเสียง และวิศวกรรมเสียงเพลง ทำนองเพลงประกอบด้วยกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด เล่นโดยคาดิช และเปียโน, แบริโทน, แซกโซโฟน และแฮมมอนด์ออร์แกน เล่นโดยดาวิด บารอน เทรเนอร์ยังได้เพิ่มเสียงปรบมือและจังหวะเคาะเพิ่มเติ่มลงไปในเพลงด้วย ตัวเพลงได้รับการขึ้นมาสเตอร์โดยเดฟ คูช ที่เดอะมาสเตอริ่งพาเลส ในนครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก[28]

องค์ประกอบ

เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" เป็นเพลงบับเบิ้ลกัมป็อปและดูวอป[29][30] เขียนในสัดส่วน 4/4 ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะ (time signature) ด้วยกุญแจของเอเมเจอร์ในจังหวะซีเต็ม (common time) กับค่าเทมโป 132 เฮิร์ตซ์ต่อ 1 จังหวะ เพลงตามทางเดินคอร์ด (chord progression) โดยคอร์ด A–Bm–E–A ส่วนเสียงร้องของเทรนเนอร์นั้นอยู่ตั้งแต่โน้ต E3 ถึง C♯5[31] ในสไตล์เรโทรช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960[32][4] นักวิจารณ์ได้จำแนกแนวเพลงของเพลงนี้ได้หลาย ๆ แนวประกอบไปด้วย อาร์แอนด์บี, ฮิปฮอป, ทรอปิคอล คันทรี และร็อกแอนด์โรล[16][4][32] ซึ่งเทรนเนอร์ยังได้นำแนวแคริบเบียนเร้กเก้มาใช้รวมกับเสียงแบ็กกราวน์และใช้เทคนิคในการแร็ป[33][34][35] ตลอดทั้งช่วงพรีคอรัสและท่อนฮุคนั้นเป็นสไตล์โซล-ป็อปและกรู๊ฟ ในช่วงก่อนคริสต์ทศวรรษ 1960[36] รวมกับสแคทแทมโป (scatting tempo) จังหวะชวนส่ายสะโพก (shimmying melody)[37] โดยในท่อนคอรัสนั้นเทรนเนอร์ร้องเนื้อเพลงคอรัสวนไปเรื่อย ๆ และมีเสียงแอดลิบในท่อนเอาท์โทรพร้อมกับเสียงเทรนเนอร์ที่ต่ำลงก่อนที่มีเสียงสะท้อนคำว่า "bass, bass, bass" จนจบท่อนคอรัส[33] เสียงร้องในเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" ได้รับการเปรียบเทียบกับวงประสานเสียงหญิงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และนักร้องวินเทจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้แก่ เบ็ตตี เอเวอเรตต์, ดอริส เดย์, เอดีย์ กอร์เม และโรสแมรี คลูนีย์[37] และมีการกล่าวว่าทำนองเพลงนั้นเหมือนกับเพลง "แฮปปี้โมด" ของวงเกาหลีใต้ โคโยเต้[38][39][40]

เนื้อหาของเพลงนั้นเปรียบเทียบได้กับเพลง "บิวติฟูล์" ของคริสตินา อากีเลรา ในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น[22][41] ส่วนนักวิจาร์ณนั้นเปรียบเทียบให้เหมือนกับเพลงของอากีเลรา "เอนต์โนอัธเธอร์แมน"[42] เนื้อหายังเกี่ยวกับทัศนคติต่อร่างกายในเชิงบวกซึ่งคล้ายกับเพลง "ทราย" ของโคลบี คาเลต์ และเพลง "ยูแอนด์ไอ (โนบอดี้อินเดอะเวิลด์)" ของจอห์น เลเจนด์[19][43] ตัวเพลงสื่อให้เห็นถึงทัศนคติที่มองว่ารูปร่างผอมได้รับการตีค่าสูงเกินไปในสังคม และส่งเสริมให้ยอมรับต่อรูปร่างและหุ่นต่าง ๆ ที่มีทั้งชายและหญิง จากเนื้อเพลงว่า "ทุก ๆ ตารางนิ้วของคุณนั้นดูดีตั้งแต่หัวจรดเท้า / ชัดเจนแล้วนะว่าฉันไม่ได้ผอมแห้ง แต่ฉันก็สามารถส่ายก้นอย่างที่ฉันควรจะทำ" (Every inch of you is perfect from the bottom to the top / It's pretty clear I ain't no size 2, but I can shake it, shake it like I'm supposed to do)[13][44] ในท่อน "ฉันจะนำบั้นท้ายเธอกลับมา" (I'm bringing booty back) เปรียบเทียบได้กับเพลง "เซ็กซีแบ็ก" ของจัสติน ทิมเบอร์เลก[33] โดยความหมายแฝงของเพลงทั้งหมดนั้นมีความใกล้เคียงกับหลายเพลง เช่น เพลง "วีอาร์ฮูวีอาร์" ของเคชา, เพลง "ฟักกิงเพอร์เฟกต์" ของพิงก์, เพลง "เบรฟ" ของซารา บาเรลเลส และเพลง "เบลอเร็ดไลน์" ของโรบิน ธิก เป็นต้น[45] นอกจากนี้เพลงยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับบั้นท้ายของผู้หญิงซึ่งเปรียบเทียบได้กับเพลง "เบบี้กอตแบ็ก" ของเซอร์มิกซ์อะลอต, เพลง "อนาคอนดา" ของนิกกี มินาจ และเพลง "บูทตี้" ของเจนนิเฟอร์ โลเปซ[46]

ผลตอบรับ

การวิพากษ์วิจารณ์

หลังจากเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" ปล่อยออกมา ตัวเพลงได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากในด้านบวก โดยได้รับการยกย่องว่า "(กำลังเป็น)เพลงแห่งหน้าร้อน" (making a run for song of the summer) และเป็น "เพลงดูจริงจังแต่ฟังสบาย" (enthusiastically affable song)[47][44] นักวิจารณ์จากเว็บไซต์อะโดลาทอร์ บรรยายไว้ว่า "ตัวมิวสิกวิดีโอนั้นน่ารัก ส่วนเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" ผสมผสานไปด้วยแนวเพลงสไตล์คันทรี, ป็อป และร็อกแอนด์โรลสมัยก่อน พร้อมกับเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ ที่จะมาทำให้วิทยุ EDM ติดเพลงนี้"[4] พอล เกรน จากเว็บไซต์ยาฮู! มองว่าเพลงนี้เป็น "หนึ่งในเพลงที่มีความหมายแฝงดีที่สุดในช่วงเวลาไม่นานมานี้"[48] นักเขียนจากเดอะ การ์เดียน คาร์โรไลน์ ซัลลิแวน กล่าวว่า "เพลงอื่น ๆ ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่อความคิดในการโฆษณาสื่อว่าบั้นท้ายที่เซ็กซี่ต้องมีขนาดเล็ก... ในทางตรงกันข้าม เพลงของเทรนเนอร์ที่มีกลิ่นของการประสบความสำเร็จอย่างยากลำบากกับการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง"[22] และบีโจไล ชาห์ จากสำนักเดียวกันระบุว่าเพลงนี้มีเนื้อเพลง "จดจำได้ในทันที" (instantly-memorable) และ "ทำให้เสพติด" (addictive) ต่อเบสไลน์ เขามีความเห็นว่าเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" เป็นเพลงที่แปลกใหม่[49] อีแวน ซอว์เดย์ แห่งนิตยสารออนไลน์ ป็อปแมทเทอส์ แสดงความเห็นว่า "เนื้อเพลงนั้นแสดงถึงบุคลิกภาพของเทรเนอร์" และได้เขียนว่ามันเป็น "หนึ่งในเพลงที่สนุกที่สุด" ในปี 2014[35] และอีริค แอนสท์ แห่งหนังสือพิมพ์ มิลวอกีเจอร์แนลเซนติเนล กล่าวว่าเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" สามารถ "จับใจได้ทั้งจักรวาล" (universally catchy) และ "พร้อมเต้นได้อย่างไม่อายใคร" (shamelessly dance-ready)[50] ขณะที่แกรี ทรัส แห่งนิตยสาร บิลบอร์ด รู้สึกว่าเพลงนี้แตกต่างจาก "ทุก ๆ เพลงในวิทยุเพลงป็อป" ในเวลานั้น[19] และฮิวจ์ แมคอินไตย์ นักเขียนจากนิตยสาร ฟอบส์ อธิบายว่ามันเป็นเพลงที่ "ติดหูแบบเมามัน" (insanely catchy) "รักมันได้ง่าย" (easy-to-love) และ "อบอุ่นใจ" (heartwarming) เขาได้เขียนในบทความว่า "เพลงนี้ฟังดูเหมือนบางอย่างที่คุณควรเปิดให้เด็ก ๆ ของคุณฟัง... มันมีเนื้อเพลงทางเลือกเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าเทรนเนอร์ไม่ใช่เด็ก ๆ "[51]

เพลงถูกวิจารณ์และตีความว่าต่อต้านรูปร่างผอมและสื่อให้เป็นเรื่องน่าอับอาย จากการที่เทรนเนอร์ใช้คำว่า "skinny bitches"[14] และสื่อถึงการต่อต้านกลุ่มสตรีนิยม เพราะในเนื้อหานั้นบอกให้ผู้หญิงจำนนต่อสายตาของผู้ชายจากท่อน "แม่บอกฉันว่าอย่าไปกังวลกับเรื่องหุ่นของตัวเอง / เธอบอกอีกว่าผู้ชายชอบบั้นท้ายใหญ่ ๆ ให้นอนกอด" (Yeah, my mama she told me don’t worry about your size / She says, ‘Boys like a little more booty to hold at night.)[34] จอน คาร์แมนิก แห่ง เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกเพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" เป็น "ความทะเล้นแปลก ๆ ยอดนิยม" (cheeky novelty hit) และกล่าวว่า ""ฉันจะนำบั้นท้ายเธอกลับมา" (I'm bringing booty back) เธอร้องมันถึงแม้ว่าส่วนนั้นอาจจะเป็นไม้กระดานแล้ว รับประกันต่อเธอเลยว่าตรงนั้นจะไม่เคยไปไหนเลย"[52] นักเขียนจากนิตยสารออนไลน์ สเลต ให้ความคิดเห็นว่าเทมโปและทำนองในท่อน "ทุก ๆ ตารางนิ้วของคุณนั้นดูดีตั้งแต่หัวจรดเท้า" (Every inch of you is perfect from the bottom to the top) ทำให้เขารู้สึก "จดจำได้ง่ายดาย" (effortlessly memorable) เขาเคยไปชมการทำงานของคาดิชในเพลงนี้และรู้สึกว่าคาดิชได้สร้างทำนองเพลงที่ละเอียดละอ่อนในสไตล์วินเทจแบบผู้หญิงผิวขาว โซลอิตาโล-ลาติน และเลียนแบบเสียงเพลงอย่างชำนาญจากเพลง "คัมออน-อะมายเฮาส์" ของ โรสแมรี คลูนีย์ และเพลง "เบลมอิตออนเดอะบอสซาโนวา" ของ เอดีย์ กอร์เม อย่างไรก็ตามเขาได้วิจารณ์การใช้คำว่า "เทรเบิล" (treble) ในเพลงเชิงอุปมา และกล่าวว่า "แค่หวังว่าการใช้คำในทางที่ผิดของเทรนเนอร์จะไม่ทำลายความหมายของคำในรุ่นต่อ ๆ ไป"[37] ส่วนนิตยสาร ไทม์ ได้จัดให้เพลง "ออลอะเบาต์แดตเบส" อยู่ที่อันดับที่ 5 ในการจัดอันดับ "เพลงที่แย่ที่สุดในปี 2014" โดยให้เหตตุผลเพราะเพลงใช้คำว่า "skinny bitches" และจำกัดความของการคิดดีต่อรูปร่างเหมือนกับบางอย่างที่อุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อจะให้ผู้ชายชอบ[53]

รายชื่อแทร็ก

  • ซีดีซิงเกิล[54]
  1. "ออลอะเบาต์แดตเบส" – 3:07
  2. "ไทเทิล" – 2:54
  • ดิจิทัลดาวน์โหลด[55]
  1. "ออลอะเบาต์แดตเบส" – 3:07
  • ดิจิทัลอีพี[56]
  1. "ออลอะเบาต์แดตเบส" – 3:07
  2. "ไทเทิล" – 2:54
  3. "เดียร์ฟิวเจอร์ฮัสแบนด์" – 3:04
  4. "โคลสยัวร์อายส์" – 3:40

ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง

รายชื่อผู้มีส่วนร่วมทำเพลงจาก ไทเทิล[57]

การบันทึกเสียง
  • บันทึกเสียงและวิศวกรรมเสียงที่แคร์เรจเฮาส์สตูดิโอ โนเลนส์วิลล์, เทนเนสซี
  • มาสเตอร์ที่เดอะมาสเตอริ่งพาเลส นครนิวยอร์ก, นิวยอร์ก
  • จัดจำหน่ายโดยค่ายบิ๊กเยลโลด็อกมิวสิค (ASCAP)
คณะทำงาน
  • เมแกน เทรนเนอร์ – ร้องนำ, เขียนเพลง, เสียงปรบมือ, เพอร์คัชชัน
  • เควิน คาดิช – เขียนเพลง, โปรดิวเซอร์, ผลิตเสียงกลอง, กีตาร์ไฟฟ้า, เบส, ออกแบบเสียง, ผสมเสียง, บันทึกเสียง, วิศวกรรมเสียง
  • ดาวิด บารอน – เปียโน, แบริโทน, แซกโซโฟน, แฮมมอนด์ออร์แกน
  • เดฟ คูช – มาสเตอริ่ง

ชาร์ตและการรับรอง


ชาร์ตประจำปี

ชาร์ต (2014)ตำแหน่ง
แคนาดา (คะเนเดียนฮอต 100)[112]7
เดนมาร์ก (แทร็กลิสเซิน)[113]23
นิวซีแลนด์ (รีคอร์ดมิวสิก)[114]2
เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์ท็อป 40)[115]27
เนเธอร์แลนด์ (ซิงเกิลท็อป 100)[116]24
เบลเยียม (อัลตราท็อป 50 แฟลนเดอส์)[117]62
เบลเยียม (อัลตราท็อป 50 วาโลเนีย)[118]72
โปแลนด์ (เซดพีเอวี)[119]30
เยอรมนี (มีเดียคอนโทรลชาร์ตส์)[120]8
สวิตเซอร์แลนด์ (ชไวน์เซอร์ฮิตพาเหรด)[121]19
สหราชอาณาจักร (ออฟฟิเชียลชาร์ตสคอมปานี)[122]8
สหรัฐอเมริกา บิลบอร์ดฮอต 100[6]8
สหรัฐอเมริกา เอซี (บิลบอร์ด)[123]40
สหรัฐอเมริกา อะดัลท์ท็อป 40 (บิลบอร์ด)[124]21
สหรัฐอเมริกา เมนสตรีมท็อป 40 (บิลบอร์ด)[125]15
ออสเตรเลีย (เออาร์ไอเอ)[126]2
ออสเตรีย (Ö3 Austria Top 40)[127]18
อิตาลี (เอฟไอเอ็มไอ)32

การรับรอง

ประเทศการรับรองยอดขาย/การจัดส่ง
แคนาดา (มิวสิกแคนาดา)[128]6× แพลทินัม480,000^
เดนมาร์ก (ไอเอฟพีไอ เดนมาร์ก)[113]แพลทินัม60,000^
นอร์เวย์ (ไอเอฟพีไอ นอร์เวย์)[129]3× แพลทินัม30,000*
นิวซีแลนด์ (อาร์เอ็มเอ็นเซ็ด)[130]3× แพลทินัม45,000*
เบลเยียม (บีอีเอ)[131]โกลด์15,000*
เม็กซิโก (เอเอ็มพีอาร์โอเอฟโอเอ็น)[132]แพลทินัม60,000^
เยอรมนี (บีวีเอ็มไอ)[133]แพลทินัม400,000^
สเปน (PROMUSICAE)[134]2× แพลทินัม80,000^
สวิตเซอร์แลนด์ (ไอเอฟพีไอ สวิตเซอร์แลนด์)[135]แพลทินัม30,000x
สวีเดน (จีแอลเอฟ)[136]3× แพลทินัม120,000x
สหรัฐอเมริกา (อาร์ไอเอเอ)[10]6× แพลทินัม 4,600,000[9]
สหราชอาณาจักร (บีพีไอ)[137]แพลทินัม651,000[138]
ออสเตรเลีย (เออาร์ไอเอ)[139]6× แพลทินัม420,000^
ออสเตรีย (ไอเอฟพีไอ ออสเตรีย)[140]โกลด์15,000x
อิตาลี (เอฟไอเอ็มไอ)[141]2× แพลทินัม60,000*
สตรีมมิ่ง
เดนมาร์ก (ไอเอฟพีไอ เดนมาร์ก)[142]แพลทินัม2,600,000^
สเปน (PROMUSICAE)[143]แพลทินัม10,000,000^


*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว
^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

จากเดือนกรกฎาคม 2014 บีพีไอได้ทำการรับรองซิงเกิลโดยรวมออดิโอสตรีมมิ่งด้วย[144]

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2013 อาร์ไอเอเอได้ทำการรับรองดิจิทัลซิงเกิลโดยรวมออดิโอสตรีมมิ่งและ/หรือสตรีมวิดิโอเพลงนอกจากการดาวน์โหลด.[145]

ประวัติการออกจำหน่าย

ประเทศวันที่รูปแบบสังกัดอ้างอิง
เยอรมนี30 มิถุนายน 2014ดิจิทัลดาวน์โหลดอีพิก[146]
สวิตเซอร์แลนด์[147]
ออสเตรีย[148]
สหรัฐอเมริกา
  • ดิจิทัลดาวน์โหลด
  • สตรีมมิ่ง
[149]
1 กรกฎาคม 2014เพลงวิทยุร่วมสมัย[150]
สหราชอาณาจักร14 สิงหาคม 2014สตรีมมิ่ง[149]
28 กันยายน 2014ดิจิทัลดาวน์โหลด[151]
เยอรมนี3 ตุลาคม 2014ดิจิทัลอีพี[152]
ซีดีซิงเกิล[153]
สวิตเซอร์แลนด์ดิจิทัลอีพี[154]
ออสเตรีย[155]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้าออลอะเบาต์แดตเบสถัดไป
"เชกอิตออฟ"
โดย เทย์เลอร์ สวิฟต์

ซิงเกิลอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100
(สหรัฐอเมริกา)

(20 กันยายน ค.ศ. 2014 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 [8 สัปดาห์])
"เชกอิตออฟ"
โดย เทย์เลอร์ สวิฟต์
"แบงแบง"
โดย เจสซี เจ, อะรีอานา กรานเด และนิกกี มินาจ

ซิงเกิลอันดับ 1 บนชาร์ตยูเคซิงเกิล
(11 ตุลาคม ค.ศ. 2014 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 2014 [4 สัปดาห์])
"ติงกิงเอาท์เลาด์"
โดย เอ็ด ชีแรน
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย