อภิธานศัพท์อนิเมะและมังงะ

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ต่อไปนี้เป็นอภิธานศัพท์เฉพาะสำหรับอนิเมะและมังงะ อนิเมะหมายรวมถึงซีรีส์แอนิเมชัน ภาพยนตร์แอนิเมชัน และวิดีโอแอนิเมชัน ส่วนมังงะหมายรวมถึงนวนิยายภาพ ภาพวาด และงานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ: คำภาษาญี่ปุ่นที่ใช้โดยทั่วไป (เช่น โอนีซัง, คาวาอี และเซ็มไป) ไม่รวมอยู่ในรายการนี้

กลุ่มเป้าหมาย

  • โคโดโมะ (子供, kodomo, แปลว่า "เด็ก"): อนิเมะและมังงะสำหรับเด็ก[1]
  • โจเซ (女性, josei, แปลว่า "ผู้หญิง"): อนิเมะและมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่[1]
  • โชโจะ (少女, shōjo, แปลว่า "หญิงสาว"): อนิเมะและมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยรุ่น[1][2]
  • โชเน็ง (少年, shōnen, แปลว่า "ชายหนุ่ม"): อนิเมะและมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชายวัยรุ่น[1][2]
  • เซเน็ง (青年, seinen): อนิเมะและมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชายวัยผู้ใหญ่[1][2]

แนว

  • โชโจไอ (少女愛, shōjo-ai)
  • โชตากง (ショタコン, shotakon)
  • โชเน็นไอ (少年愛, shōnen-ai)
  • ต่างโลก หรือ อิเซไก (異世界, isekai): แนวย่อยของมังงะและอนิเมะที่ตัวละครถูกย้ายหรือเกิดในแต่โลกคู่ขนาน[3][4]
  • บากูนีว (爆乳, bakunyū, แปลว่า "หน้าอกมหึมา"):[5]แนวของสื่อลามกที่แสดงภาพของผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่[6] กล่าวกันว่าขนาดบราในสื่อแนวบากูนีว มากกว่า G75 แต่ต่ำกว่า M70[7]
  • บอยส์เลิฟ (ボーイズラブ, bōizu rabu): ย่อว่า "BL"
  • บาระ (爆乳, Bara, แปลว่า "กุหลาบ")
  • เมคา (mecha)
  • ยาโออิ (やおい, yaoi)
  • ยูริ (百合, yuri)
  • โลลิคอน (ロリコン, rorikon)
  • อิยาชิเก (癒し系, iyashikei, แปลว่า "เยียวยา"): แนวย่อยของแนวเสี้ยวชีวิต แสดงภาพของตัวละครที่ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขในสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีวัตถุประสงค์ทำให้ผู้ชมได้รับการเยียวยาใจ[8][9]
  • ฮาเร็ม (harem)

แฟนดอม

  • คอมิเก็ต (コミケット, Komiketto, แปลว่า "ตลาดคอมิก"): งานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งสำหรับการ์ตูนโดจินชิ ซึ่งจัดขึ้นปีละสองครั้งในอาริอาเกะ กรุงโตเกียว[10]
  • โดจินชิ (同人誌, dōjinshi): ผลงานที่ผลิตโดยแฟนผลงาน หรือมือสมัครเล่น เช่น ผลงานล้อเลียน แฟนฟิกชัน หรือแฟนมังงะ
  • นิจิกง (二次コン, nijikon)
  • ปรากฏการณ์โอดางิริ (Odagiri effect): ปรากฏการณ์ทางโทรทัศน์ที่รายการหนึ่ง ๆ ดึงดูดผู้ชมผู้หญิงจำนวนมากเกินความคาดหมาย เนื่องจากรายการดังกล่าวมีนักแสดงชายหรือตัวละครชายที่มีเสน่ห์[11][12]
  • ฟูโจชิ (腐女子, fujoshi, แปลว่า "เด็กหญิงเน่า"): แฟนผลงานผู้หญิงของผลงานแนวยาโออิ[13]
  • แฟนดับ (fandub): ย่อมาจาก "fan-made dub" หมายถึงภาพยนตร์หรือวิดีโอที่แฟนผลงานนำบทสนทนามาพากย์เสียงทับ[14]
  • แฟนซับ (fansub): ย่อมาจาก "fan-made subtitles" หมายถึงภาพยนตร์หรือวิดีโอที่แฟนผลงานแปลบทสนทนาเป็นภาษาอื่นและใส่บทบรรยายใต้ภาพของบทสนทนา[1]
  • อนิพาโร (アニパロ, aniparo): คำสแลงของการใช้ตัวละครอนิเมะโดยแฟนผลงานในเชิงล้อเลียน มาจากการรวมคำว่า "anime" (อนิเมะ) และ "parody" (ล้อเลียน)[15]
  • วีอาบู (weeaboo) หรือ วีบ (weeb)
  • ไวฟุ (waifu) / ฮัสแบนโดะ (husbando): ตัวละครสมมติจากสื่อที่ไม่ใช่คนจริง (โดยทั่วไปคืออนิเมะ มังงะ หรือวิดีโอเกม) ที่คนคนหนึ่งคลั่งไคล้หรือคิดว่าเป็นคู่ครองในอุดมคติ[16]
  • โอตากุ (おたく, オタク, ヲタク, otaku)

ลักษณะนิสัย

  • โกเดเระ (豪デレ, goudere)
  • คูเดเระ (クーデレ, kūdere)
  • เคโมโนมิมิ (獣耳, けものミミ, ケモノミミ, kemonomimi)
  • ชูนิเบียว (中二病, chūnibyō, แปลว่า "โรคมัธยมสอง"): โดยทั่วไปใช้เพื่อกล่าววัยรุ่นช่วงต้นที่มีอาการหลงผิดมองว่าตนมีความสง่าและเชื่อว่าตนเองมีความรู้หรือพลังลับที่ซ่อนอยู่
  • ดันเดเระ (ダンデレ, dandere)
  • เดเระ (デレ, dere)
  • โดจิกโกะ (ドジっ子, dojikko)
  • บิโชโจะ (美少女, bishōjo, แปลว่า "สาวงาม"): หญิงสาวรูปงาม[17][18][19][20]
  • บิโชเน็ง (美少年, bishōnen, แปลว่า "หนุ่มงาม")
  • ยันเดเระ (ヤンデレ, yandere)
  • สึนเดเระ (ツンデレ, tsundere)
  • อาโฮเงะ (アホゲ, ahoge, แปลว่า "ผมโง่ ๆ")): หมายถึงปอยผมที่โดดเด่นซึ่งชี้ในทิศทางที่แตกต่างจากผมส่วนที่เหลือของตัวละครในอนิเมะ/มังงะ[21][22][23][24]
  • โอโตโกโนโกะ (男の娘, otokonoko, แปลว่า "ลูกสาวเพศชาย"): ผู้ชายที่มีการแสดงออกทางเพศตามวัฒนธรรมของเพศหญิง รวมถึงมีรูปลักษณ์แบบผู้หญิง หรือแต่งกายข้ามเพศ[25][26]

ศัพท์อื่น ๆ

  • กูโร (guro)
  • เกกิงะ (劇画, gekiga)
  • เกียรูเก (ギャルゲー, gyarugē)
  • คาเบดง (壁ドン, kabedon)
  • จูเนะ (ジュネ, juné)
  • ซีวี (CV): เสียงตัวละคร ย่อมาจาก "Character Voice" ดู นักพากย์ในประเทศญี่ปุ่น[27]
  • เซ็ตไตเรียวอิกิ (絶対領域, zettai ryōiki)
  • เนม (ネーム, Nēmu): ภาพร่างคร่าว ๆ ของมังงะที่นำเสนอตีพิมพ์[28] Also known as a manga storyboard.[2]
  • เซยู (声優, seiyū): นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
  • โทบิราเอะ (扉絵, tobirae)
  • แปลงร่าง หรือ เฮ็นชิน (変身, henshin)
  • พากย์ (dub): เมื่อเสียงพูดในอนิเมะถูกแปลเป็นอีกภาษา
  • แฟนเซอร์วิส (ファンサービス, fan sābisu)
  • มังงากะ (漫画家, マンガ家, mangaka): ศิลปินมังงะ ผู้สร้างสรรค์มังงะ ใช้หมายถึงทั้งผู้แต่งเรื่องและผู้วาดภาพของผลงาน[2]
  • มิฮิรางิ (見開き, mihiraki): ฉากในมังงะที่ครอบคุลมสองหน้าคู่ มักเป็นภาพเดี่ยวภาพเดียว
  • ยงโกมะ (4コマ漫画, yonkoma): มังงะที่วาดในรูปแบบสี่ช่อง
  • รอว์ (raw)
  • เรียวนะ (リョナ, ryona)
  • เลมอน (レモン, remon)
  • สแกนเลชัน (scanlation)
  • อนิเมะมิวสิกวิดีโอ (anime music video): ย่อว่า AMV เป็นคลิปวิดีโอจากซีรีส์อนิเมะอย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่ถูกจัดให้เหมาะกับเพลงที่เล่นเป็นพื้นหลัง[1]
  • ออริจินัลเน็ตแอนิเมชัน (original net animation): ย่อว่า ONA
  • ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน (original video animation): ย่อว่า OVA
  • อายแคตช์ (アイキャッチ, aikyatchi): ฉากหรือภาพวาดที่ใช้ในตอนต้นและตอนท้ายของช่วงพักโฆษณาในรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่น
  • เอโรเก (エロゲー, erogē): ย่อมาจาก เอโรติกเกม (エロチックゲーム, erochikku gēmu)
  • โอโตเมะเกม (乙女ゲーム, otome gēmu)
  • โอมาเกะ (おまけ, オマケ, omake): ตอนพิเศษเสริมของอนิเมะและมังงะ[2]
  • เฮ็นไต (変態, hentai)

อ้างอิง

รายการอ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย