หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) หรือนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นกวี, อดีตข้าราชการกระทรวงการคลัง และอดีตอาจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
ประสูติ21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453
จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
สิ้นชีพิตักษัย29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (81 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ภัทรชัย รัชนี
หม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี
หม่อมราชวงศ์ยอดเถา รัชนี
หม่อมราชวงศ์เย็นตา ปาร์เมนติเอร์
ราชสกุลรัชนี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระมารดาหม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา

พระประวัติ

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี มีพระนามลำลองว่า ท่านชายพลุ เป็นพระโอรสลำดับที่สามในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา (ธิดาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ กับท่านผู้หญิงเปลี่ยน)[1] มีโอรสคือหม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี[2]

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงรับราชการในกระทรวงการคลัง [2] และมีความรอบรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ มีความสามารถในด้านกวี ใช้นามปากกาว่า "พ.ณ ประมวญมารค" ได้รับการยกย่องเปรียบเทียบกับกวีร่วมสมัยคืออังคาร กัลยาณพงศ์ โดยเรียกหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ว่า "ท่านจันทร์" และเรียกอังคาร กัลยาณพงศ์ ล้อว่า "ท่านอังคาร" เพื่อให้คล้องจองกัน[3]

ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มศิลปินและนักเขียน เช่น เฟื้อ หริพิทักษ์, รงค์ วงษ์สวรรค์, สุวรรณี สุคนธา, หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, ประหยัด พงษ์ดำ, สาโรจน์ จารักษ์[4] โดยมักพบปะสังสรรค์กันที่ร้านอาหารมิ่งหลี ใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งหนึ่งเคยมีผู้บันทึกว่า ทรงเล่นโคลงสดกับอังคาร กัลยาณพงศ์ ความว่า[4]

ท่านจันทร์ - จันทร์จิรายุเจ้า เหนือดาว อื่นเฮย
ท่านอังคาร - ดาวก็ดาวไม่ยอ กว่าข้า

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดเชียงใหม่[2] สิริชันษา 81 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพจากหีบทองทึบเป็นพระราชทานโกศราชวงศ์ประกอบศพ ฉัตรเครื่องตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535[2] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย