หมอกสงคราม

(เปลี่ยนทางจาก หมอกแห่งสงคราม)

หมอกสงคราม (เยอรมัน: Nebel des Krieges, อังกฤษ: fog of war) หมายถึงความสับสน ความไม่แน่นอน และความคลุมเครือของสถานการณ์ในปฏิบัติการทางทหาร

จุดกำเนิด

คำว่าหมอกสงครามถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนักการทหารชาวเยอรมันปรัสเซียนามว่า พลตรีคาร์ล ฟอน เคลาส์วิทซ์ ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือ "ว่าด้วยสงคราม" ความว่า:

"สงครามคือภพแห่งความไม่แน่นอน ซึ่งมีอยู่สามขุมที่ว่า การปฏิบัติในสงครามถูกสร้างอยู่บนอะไร ตั้งอยู่ในหมอกแห่งความไม่แน่นอน มากหรือน้อย ซึ่งในจุดนี้ สิ่งที่ควรมีเป็นอันดับแรก คือความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนทะลุปรุโปร่ง เพื่อเฟ้นหาความจริงพร้อมชั้นเชิงในการตัดสินใจ (ว่าด้วยสงคราม เล่มที่ 1 บทที่ 3)[1]
"ความไม่แน่ใจอย่างยิ่งในข่าวสารในทุกวันของสงครามถือเป็นอุปสรรคใหญ่หลวง เพราะทุกการตัดสินใจจะถูกดำเนินการภายใต้แสงเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับม่านหมอกหรือแสงจันทร์ ที่มักทำให้เกิดรูปร่างขนาดเกินปกติและพิลึก" (ว่าด้วยสงคราม เล่มที่ 2 บทที่ 2)[2]

การจัดระดับ

ยุทธศาสตร์หลัก

เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ทางการเมือง ความสามารถและการส่งกำลังบำรุงทางทหารของคู่สงคราม โดยแหล่งข้อมูลรวมไปถึงการสืบราชการทางการทูต การสืบราชการลับ ตัวอย่างทางยุทธศาสตร์ และข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งเปิด คู่สงครามจำเป็นต้องเข้าใจต่อเจตนาและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลที่ได้จากข้อมูลในระดับนี้อาจจะรวมไปถึงปฏิบัติการทางทหารด้วย แต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับผลกระทบที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมากกว่า

ยุทธศาสตร์ทางทหาร

ความไม่แน่นอนในทางทหารแล้วมีความหมายถึง โครงสร้าง ความแข็งแกร่ง ความสามารถและเจตนาของฝ่ายตนและฝ่ายตรงข้าม ความไม่แน่นอนดังกล่าวอาจนำไปหสู่ความล้มเหลว ข้อบกพร่องหรืออาจเป็นการเพิ่มปัญหาโดยบังเอิญ ทำให้มีการมองสมรรถภาพของฝ่ายตนในแง่ดี ความไม่แน่นอนของฝ่ายตรงข้ามอาจเป็นข่าวกรองที่ผิดพลาด แหล่งข้อมูลถูกปกปิดหรือถูกทำลวงไว้ นอกเหนือจากนี้ กฎของเมอร์ฟียังมีส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการวางแผนในระยะยาว ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ

การปฏิบัติการ

ในขอบเขตของการปฏิบัติการ ผู้บัญชาการจะรับเอาคำสั่งที่ได้รับมาจากในระดับยุทธศาสตร์ทางทหาร ความไม่แน่นอนนั้นรวมไปถึงความสามารถของฝ่ายตรงข้าม และเจตนาของฝ่ายตรงข้าม แต่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนในการสั่งการของฝ่ายตนด้วย ผู้บัญชาการไม่ได้มองเห็นภาพรวมทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด ผู้บัญชาการควรจะหยั่งความสับสนนี้ด้วยการสำรวจ การลาดตระเวนและสรุปเป็นภาพรวมทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด

ยุทธวิธี

ความไม่แน่นอนอาจส่งผลหลายประการในระดับยุทธวิธี อย่างเช่น เจตนาของฝ่ายตรงข้าม รวมไปถึงตัวแปรหลายอย่างที่ขึ้นอยู่กับการรบ ซึ่งเป็นผลให้ผู้บัญชาการขาดภาพรวมของสิ่งแวดล้อมทางยุทธวิธี สถานภาพการส่งกำลังบำรุงของกองกำลังฝ่ายตนเอง

การขาดภาพรวมของสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธวิธีนี้ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหนึ่งหรือหลายประการประกอบกันก็ได้ อย่างเช่น

  • การสำรวจ/ลาดตระเวนที่บกพร่อง
  • ข่าวกรองที่ผิดพลาด ไม่แน่นอน
  • การสื่อสารที่ผิดพลาด

การตัดสินใจในระดับยุทธวิธีนี้จะสำคัญกว่าในระดับอื่น ๆ รวมไปถึงการที่ความไม่แน่นอนต่าง ๆ อาจจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีการตั้งสมมุติฐาน และได้มีการตัดสินใจซึ่งตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานเหล่านั้น

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย