หนังสือเลวีนิติ

หนังสือเลวีนิติ (อังกฤษ: Book of Leviticus, /lɪˈvɪtɪkəs/, จากภาษากรีกโบราณ: Λευιτικόν, Leuïtikón; ฮีบรู: וַיִּקְרָא, Wayyiqrāʾ, 'และพระองค์ทรงเรียก'; ละติน: Liber Leviticus) เป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของคัมภีร์โทราห์ (เบญจบรรณ) และของพันธสัญญาเดิม มีอีกคำเรียกว่า หนังสือเล่มที่สามของโมเสส (Third Book of Moses)[1] สมมติฐานหลายข้อที่นำเสนอโดยนักวิชาการเกี่ยวกับต้นกำเนิดของหนังสือเลวีนิติเห็นพ้องต้องกันว่าหนังสือเลวีนิติได้รับการพัฒนามาเป็นเวลายาวนาน โดยมาถึงรูปแบบปัจจุบันในช่วงยุคเปอร์เซียระหว่าง 538 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล แม้ว่าจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็ตาม

บทส่วนใหญ่ของหนังสือเลวีนิติ (บทที่ 1–7, 11–27) ประกอบด้วยพระดำรัสของพระยาห์เวห์ต่อโมเสสซึ่งทรงตรัสให้โมเสสนำไปกล่าวซ้ำต่อชาวอิสราเอล เรื่องราวนี้เกิดขึ้นภายในเรื่องราวการอพยพของชาวอิสราเอลหลังการหนีจากอียิปต์และมาถึงภูเขาซีนาย (อพยพ 19:1) หนังสืออพยพเล่าเรื่องที่โมเสสนำชาวอิสราเอลในการสร้างพลับพลา (อพยพ 35-40) ตามรับสั่งของพระเจ้า (อพยพ 25-31) ในหนังสือเลวีนิติ พระเจ้าตรัสบอกกับชาวอิสราเอลและปุโรหิตอาโรนกับบุตรชายถึงวิธีการถวายเครื่องบูชาในพลับพลา และวิธีการปฏิบัติตนขณะตั้งค่ายโดยรอบพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของเต็นท์ เรื่องราวในหนังสือเลวีนิติเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเดือนหรือหนึ่งเดือนครึ่งระหว่างที่สร้างพลับพลาจนเสร็จ (อพยพ 40:17) และชาวอิสราเอลเดินทางออกจากบริเวณภูเขาซีนาย (กันดารวิถี 1:1, 10:11)

ชื่อ

4Q120 ต้นฉบับภาษากรีกของหนังสือเลวีนิติเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

ชื่อเลวีนิติ (Leviticus) มาจากภาษาละติน Leviticus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ: Λευιτικόν[2] (Leuitikon) ซึ่งหมายถึง 'เผ่าเลวี' เผ่าปุโรหิตของชาวอิสราเอล วลีในภาษากรีกเป็นรูปที่แตกต่างจากในภาษาฮีบรูว่า torat kohanim[3] 'กฎหมายของปุโรหิต' จากการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายหลายข้อที่เกี่ยวข้องกับปุโรหิต[4]

ในภาษาฮีบรูเรียกหนังสือเลวีนิติว่า Vayikra (ฮีบรู: וַיִּקְרָא) มาจากวลีเปิดของหนังสือว่า va-yikra "และพระองค์ [พระเจ้า] ทรงเรียก"[3]

โครงสร้าง

โครงสร้างของเนื้อหาหนังสือเลวีนิติจากคำอธิบายต่าง ๆ มีความคล้ายกัน แม้ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เปรียบเทียบจาก Wenham, Hartley, Milgrom และ Watts[5][6][7][8]

  • กฏการบูชา (บทที่ 1:1–7:38)
    • ข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาสในการถวายเครื่องบูชา (1:1–6:7)
      • ประเภทของเครื่องบูชา: เครื่องบูชาเผาทั้งตัว, ธัญบูชา, ศานติบูชา, เครื่องบูชาลบล้างบาป, เครื่องบูชาชดใช้บาป (บทที่ 1–5)
    • ข้อปฏิบัติสำหรับปุโรหิต (6:1–7:38)
      • เครื่องบูชาแบบต่าง ๆ เสริมด้วยธัญบูชาของปุโรหิต (6:1–7:36)
      • สรุป (7:37–38)
  • พิธีสถาปนาปุโรหิต (8:1–10:20)
  • มลทินและการชำระ (11:1–15:33)
    • เนื้อสัตว์ที่เป็นมลทิน (บทที่ 11)
    • เด็กแรกคลอดในฐานะที่มาของมลทิน (บทที่ 12)
    • โรคมลทิน (บทที่ 13)
    • การชำระโรค (บทที่ 14)
    • สิ่งที่ไหลออกจากร่างกายที่เป็นมลทิน (บทที่ 15)
  • วันลบมลทิน: การชำระพลับพลาจากผลของมลทินและบาป (บทที่ 16)
  • บัญญัติความศักดิ์สิทธิ์ในทางปฏิบัติ (ประมวลกฎหมายศักดิ์สิทธิ์, บทที่ 17–26)
    • การบูชาและอาหาร (บทที่ 17)
    • เพศสัมพันธ์ (บทที่ 18)
    • ความเป็นเพื่อนบ้าน (บทที่ 19)
    • อาชญากรรมร้ายแรง (บทที่ 20)
    • กฎสำหรับปุโรหิต (บทที่ 21)
    • กฏสำหรับการรับประทานของถวาย (บทที่ 22)
    • เทศกาล (บทที่ 23)
    • กฎสำหรับพลับพลา (บทที่ 24:1–9)
    • โทษของการเหยียดหยามพระนาม (บทที่ 24:10–23)
    • ปีสะบาโตและปีอิสรภาพ (บทที่ 25)
    • คำเตือนให้เคารพกฎ: คำอวยพรและคำแช่ง (บทที่ 26)
  • การไถ่ของถวาย (บทที่ 27)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

คำแปลของหนังสือเลวีนิติ

คำอธิบายของหนังสือเลวีนิติ

ทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือเลวีนิติแบบออนไลน์:

บทความที่เกี่ยวข้อง:

การแนะนำขนาดสั้น

ก่อนหน้า
หนังสืออพยพ
หนังสือเลวีนิติ
คัมภีร์ฮีบรู /
พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์
ถัดไป
หนังสือกันดารวิถี
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย