สุริยุปราคา 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570

สุริยุปราคาวงแหวนจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงส่วนมากจากดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์มีลักษณะเหมือนแผ่นวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวนจะปรากฏสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

สุริยุปราคา 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
แผนที่
ประเภท
ประเภทวงแหวน
แกมมา–0.2952
ความส่องสว่าง0.9281
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา471 วินาที (7 นาที 51 วินาที)
พิกัด31°18′S 48°30′W / 31.3°S 48.5°W / -31.3; -48.5
ความกว้างของเงามืด471 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน12:57:23
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด14:03:41
บดบังมากที่สุด15:59:24
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด17:55:13
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน19:01:26
แหล่งอ้างอิง
แซรอส131 (51 จาก 70)
บัญชี # (SE5000)9567

การมองเห็น

อุปราคาครั้งนี้มองเห็นได้ในทวีปอเมริกาใต้และทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา แนวคราสแตะพื้นโลกในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ จากนั้นเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้บริเวณแคว้นโลสลาโกส ประเทศชิลี ผ่านรัฐชูบุต รัฐริโอเนโกร ตามแนวชายฝั่งรัฐบัวโนสไอเรส ทางใต้ของบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา แนวชายฝั่งประเทศอุรุกวัย จากนั้นลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ เรียบไปตามนอกชายฝั่งประเทศบราซิล ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เข้าสู่ทวีปแอฟริกาบริเวณทางใต้ของประเทศโกตดิวัวร์ เรียบไปตามแนวชายฝั่งประเทศกานา ประเทศโตโก ประเทศเบนิน และแนวคราสพ้นจากพื้นผิวโลกบริเวณเมืองเลกอส ประเทศไนจีเรีย

ภาพเคลื่อนไหวแสดงแนวคราส

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

อุปราคาในปี พ.ศ. 2570

สุริยุปราคา พ.ศ. 2569–2572

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[1]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2569–2572
โหนดขึ้น โหนดลง
12117 กุมภาพันธ์ 2569

วงแหวน
12612 สิงหาคม 2569

เต็มดวง
1316 กุมภาพันธ์ 2570

วงแหวน
1362 สิงหาคม 2570

เต็มดวง
14126 มกราคม 2571

วงแหวน
14622 กรกฎาคม 2571

เต็มดวง
15114 มกราคม 2572

บางส่วน
15611 กรกฎาคม 2572

บางส่วน
สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 12 มิถุนายน 2572 และ 5 ธันวาคม 2572 เกิดขึ้นในชุดของปีจันทรคติถัดไป

แซรอส 131

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 131 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 70 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 1668 (ค.ศ. 1125) สุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2065 (ค.ศ. 1522) จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) สุริยุปราคาผสมเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2173 (ค.ศ. 1630) จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) สุริยุปราคาวงแหวนเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2263 (ค.ศ. 1720) จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2786 (ค.ศ. 2243) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2912 (ค.ศ. 2369) ซึ่งเป็นเหตุการณ์อุปราคาครั้งที่ 70 ของชุดแซรอสนี้ คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) ที่ระยะเวลา 58 วินาที ส่วนคราสวงแหวนนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ที่ระยะเวลา 7 นาที 54 วินาที ทุกอุปราคาในชุดแซรอสนี้เกิดชึ้นที่โหนดขึ้นของดวงจันทร์[2]

ชุดเมตอน

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
12 สิงหาคม 2569
( สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคา 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
2 สิงหาคม 2570
( สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า:
17 กุมภาพันธ์ 2568

สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป:
26 มกราคม 2571
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย